ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
เกษตรนครพนมเตือนปลูกกะหล่ำเสี่ยงโรคระบาด
10 เม.ย. 2565

น.ส.กัญณฐา อภินนท์ธนา เกษตรจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า ขณะนี้อากาศเริ่มเย็นๆ มีความชื้นสูงในตอนเช้า พร้อมทั้งมีอากาศร้อนในเวลากลางวันช่วงนี้ สำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนม จึงแนะเกษตรกรผู้ปลูกพืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด อาทิ กวางตุ้ง กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก คะน้า ผักกาดขาว ผักกาดหอม และบรอกโคลี ให้เตรียมรับมือการระบาดของโรคราน้ำค้าง ที่สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช จะพบอาการของโรคบนใบที่อยู่บริเวณด้านล่างของต้นก่อน จากนั้นแผลจะขยายลุกลามไปยังใบที่อยู่ด้านบนของต้นพืช โดยมีอาการเริ่มแรกบริเวณด้านบนใบเป็นจุดแผลสีเหลือง หรืออาจเป็นปื้นสีเหลือง ซึ่งเมื่อเข้าทำลายแล้วจะทำให้ผลผลิตกะหล่ำลดลง และเมื่อสภาพอากาศมีความชื้นสูงในตอนเช้า มักพบเส้นใยเชื้อราเป็นขุยสีขาวถึงเทาตรงแผลด้านใต้ใบ หากพบโรคระบาดรุนแรง แผลจะลามขยายใหญ่ทำให้เนื้อใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ต่อมาใบจะเหลืองและแห้งตาย กรณีพบโรคในระยะต้นกล้า ใบเลี้ยงจะเกิดจุดแผลสีน้ำตาล ทำให้ต้นแคระแกร็นและตายในที่สุด ส่วนในกะหล่ำดอกและบรอกโคลี ถ้าพบเชื้อราเข้าทำลายรุนแรง ก้านดอกจะยืดและดอกอาจจะบิดเบี้ยวเสียรูปทรงได้

สาเหตุของโรคนี้เกิดจากเชื้อรา Peronospora parasitica ชนิดพืชที่เกิดโรคได้แก่ กวางตุ้ง กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี คะน้า บรอกโคลี ผักกาดขาวปลี ผักกาดเขียว และผักกาดหัว เป็นต้น ซึ่งจะพบกลุ่มของเชื้อราเป็นผงสีขาวหรือสีเทาบนใบ ด้านหลังใบจะเกิดแผลสีเหลืองต่อมาเป็นสีน้ำตาล แผลค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขอบไม่แน่นอน ถ้าเป็นรุนแรง แผลจะมีจำนวนมาก ใบจะเหลืองและแห้งตาย ใบที่อยู่ตอนล่างๆ จะมีแผลเกิดก่อน แล้วลามระบาดไปยังใบที่สูงกว่า ในต้นอ่อนจะเริ่มมีแผลสีเหลืองที่ใบเลี้ยงและจะหลุดร่วงไป อาจจะทำให้ต้นเติบโตช้า โทรมอ่อนแอและตายได้ ในผักที่ใบห่อเป็นหัว ใบที่ห่อจะเกิดเป็นแผลจุดสีดำเป็นแอ่งลงไป อาจมีขนาดเล็กถึงใหญ่ในกะหล่ำดอกและบรอกโคลี เชื้ออาจเข้าทำลายที่ช่อดอก ทำให้เกิดแผลสี น้ำตาลดำที่ผิวนอกสุด เป็นหย่อมๆ หรือทั่วทั้งดอก ถ้าเป็นโรครุนแรง ถ้าโรคระบาดในระยะติดฝักอ่อน ก็มีแผลเช่นเดียวกับแผลที่เกิดบนใบ ฝักไม่สมบูรณ์

สำหรับแนวทางในการการป้องกันและกำจัด ใช้เมล็ดพันธุ์ปราศจากเชื้อ หรือแช่เมล็ดในน้ำร้อน 50 องศาเซลเซียส 20-30 นาที ก่อนปลูก หรือคลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เมตาแลกซิล หรือ เมตาแลกซิล+แมนโคเซบ ก่อนปลูก ไม่ปลูกผักซ้ำที่เดิมเคยมีการระบาดของโรค โดยปลูกพืชหมุน เวียนอย่างต่ำ 3-4 ปี ควรปลูกพืชให้มีระยะห่างพอสมควรอย่าให้แน่นเกินไป หลังจากเก็บเกี่ยวควรทำลายเศษซากพืชหรือพืชที่งอกเองให้หมด เมื่อพบอาการบนใบควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น บาซิลัส ซับทิลิส, เมตาแลกซิล+แมนโคเซบ, ไซบ็อกซามิล+แมนโคเซบ, ออกซาไดซิล+แมนโคเซบ, โพรพิเนบ+ไซม็อกซามิล เป็นต้น โรคนี้ไม่ทำให้ต้นตาย ผักรับประทานใบ เช่น คะน้า ผักกาด ฯลฯ น้ำหนักลด เพราะต้องตัดใบเป็นโรคออกเสีย ทำให้ผลผลิตตกต่ำ กะหล่ำปลีมักเสียหายในระยะก่อนห่อเป็นหัว เมล็ดจากผักที่เป็นโรคไม่ควรเก็บไว้ทำพันธุ์ ผักหลายชนิดในตระกูลนี้พบเป็นโรคเดียวกัน และเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันการเข้าทำลายของโรคราน้ำค้างในพืชตระกูลกะหล่ำเข้าทำลายในจังหวัดนครพนม เกษตรกรควรรีบแจ้งข้อมูลการระบาดหรือหากมีข้อสงสัย สามารถเข้าไปติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...