ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
ประเพณีสงกรานต์ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง เอกลักษณ์อันงดงามสืบต่อกันมาแต่บรรพบุรุษชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง
17 เม.ย. 2565

ประเพณีสงกรานต์ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง เอกลักษณ์อันงดงามสืบต่อกันมาแต่บรรพบุรุษชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงในพื้นที่ อ.สังขละบุรี

ประเพณีสงกรานต์ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง เอกลักษณ์อันงดงามสืบต่อกันมาแต่บรรพบุรุษชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงในพื้นที่ อ.สังขละบุรี และใกล้เคียงต่างเดินทางมาร่วมงานประเพณีสงกรานต์และพิธีสรงน้ำพระแก้วขาว (พระรัตนสังขละบุรี ศรีสุวรรณ) พระคู่บ้านคู่เมือง อำเภอสังขละบุรี ซึ่งเป็นที่นับถือและศรัทธาในหมู่ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงด้านตะวันตก 

วันนี้ 17 เม.ย. 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บ้านสะเนพ่อง ม.1 ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นชุมชนชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ชาวไทบเชื้อสายกะเหรี่ยงจากชุมตนต่างๆในพื้นที่ อ.สังขละบุรี และอำเภอใกล้เคียง ใน จ.กาญจนบุรี ได้เดินทางมาร่วมประเพณีสงกรานต์ของชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ที่จะถือเอาวันพระขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันมหาสงกรานต์ โดยพิธีการในวันนี้จะเริ่มตั้งแต่ช่วงเช้า ด้วยการรับศีล ฟังธรรมจากพระภิกษุสงฆ์ ก่อนจะร่วมกันตักบาตรข้าวสุกใต้ต้นโพธิ์ พร้อมทั้งทำพิธีขอขมาต้นโพธิ์และนำไม้ไผ่ที่เตรียมมาทำพิธีค้ำต้นโพธิ์ ซึ่งถือเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า

หลังจากนั้นไปรวมตัวกันที่บริเวณสะพานที่สร้างขึ้น เพื่อร่วมกันทำพิธีทำความสะอาดสะพานและขอขมาสะพาน ด้วยนำขมิ้นส้มป่อย และร่วมกันปล่อยปลาในแม่น้ำ ซึ่งทั้ง 3 กิจกรรมเป็นสิ่งสำคัญ ที่ต้องกระทำในเทศกาลสงกานต์ของที่นี่
ก่อนจะร่วมพิธีอัญเชิญพระแก้วขาว ออกจากที่ประดิษฐาน ในศาลาวัดสะเน่พ่อง มายังศาลาพิธีที่ถูกสร้างขึ้น ตกแต่งอย่างงดงาม ก่อนจะให้พระภิกษุและแม่ชี ทำการสรงน้ำที่ชาวบ้านนำมา ซึ่งเป็นน้ำที่ใส่น้ำหอม แป้ง ขมิ้น และลูกส้มป่อยที่ผ่านการเผาแล้ว ทำให้น้ำดังกล่าวมีกลิ่นหอม 

หลังจากนั้นจึงให้ประชาชนที่มาร่วมงานได้สรงน้ำพระแก้วขาวต่อ พระแก้วขาว ถือเป็นพระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองสังขละบุรี ซึ่งพระศรีสุวรรณคีรี เจ้าเมืองสังขละบุรี ในอดีตได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 3 ซึ่งในอดีตหมู่บ้านสะเนพ่อง แห่งนี้ เป็นที่ตั้งของเมืองสังขละบุรี

พิธีการสุดท้าย คือ การสรงน้ำพระสงฆ์ โดยการเทน้ำลงในลำไม้ไผ่ผ่าซีกที่นำมาวางต่อกันเป็นท่อยาวไปยังซุ้มอาบน้ำที่สร้างขึ้นมา โดยมีการให้จังหวะในการเทน้ำเป็นช่วงๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ของการสรงน้ำพระของที่นี่ คือ การทำสะพานมนุษย์ด้วยการนั่งคุกเข่าลงกับพื้น เพื่อให้พระภิกษุเดินจากศาลาวัดมายังซุ้มอาบน้ำที่มีผู้ร่วมเป็นสะพานมนุษย์ทั้งหญิงและชาย ซึ่งมีความเชื่อสืบต่อกันมาแต่บรรพบุรุษว่าเป็นศิริมงคลทำให้หายจากอาการเจ็บป่วย โดยเฉพาะอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย

โดยมีเจ้าหน้าที่ ร.พ.สังขละบุรี อสม.และผู้นำชุมชนคอยดูแล และขอความร่วมมือในการรักษาระยะห่าง แจกเจลล้างมือ ซึ่งทุกคนที่มร่วมงานต่างสวมใส่หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันโควิด -19 ตามมาตรการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรีกำหนด

ทีมข่าวกาญจนบุรี

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...