กาญจนบุรี เริ่มแล้วงานสมโภชศาลหลักเมืองกาญจนบุรี อลังการ โดยจะนำมังกรยาวที่สุด ดังที่สุดจากนครสวรรค์มาโชว์ให้ชมเพื่อพี่น้องชาวเมืองกาญจน์ ในงานนี้นายกเล็กขอยืนยันการจัดแบบฟรีทุกรายการ แม้กระทั้งผู้ที่นำยานพาหนะมาก็จอดฟรีตลอดงาน
วันนี้ 4 พฤษภาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ณ ศาลเจ้าพ่อกวนอู วัดถาวรวราราม (วัดญวน) นายวสันต์ ภูษิตกาญจนา นายกเทศมนตรีเมืองกาญจนบุรี นำคณะผู้บริหาร ประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล หัวหน้าส่วนราชการ พนักงานเทศบาล และประชาชนชาวเมืองกาญจน์ เข้าร่วมขบวนแห่เทพเจ้ากวนอู โดยเริ่มเคลื่อนขบวนจากศาลเทพเจ้าพ่อกวนอู (วัดถาวรวราราม) ไปตามถนนสายสำคัญในเขตเทศบาล เพื่ออัญเชิญมาประทับ ณ หน้าศาลหลักเมืองกาญจนบุรี เนื่องในงานสมโภชศาลหลักเมืองกาญจนบุรีประจำปี 2565 ซึ่งเมื่อมีการจัดงานมโภชศาลหลักเมืองกาญจน์ ทุกครั้ง จะต้องอัญเชิญเทพเจ้าพ่อกวนอู ไปร่วมทุกครั้ง
โดยงานสมโภชศาลหลักเมืองกาญจนบุรี ประจำปี 2565 กำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 3-12 พฤษภาคม 2565 ณ บริเวณ ถนนหน้าศาลหลักเมืองกาญจนบุรี ย้ำว่าภายในงานเที่ยวฟรีตลอดงาน โดยฝากประชาชนไปเที่ยวงานเน้นเรื่องการปฏิบัติตัวเองสวมแมสทุกรายตามกระทรวงสาธารณสุข เพื่อป้องกันโควิด – 19 อย่างเข็มงวด
สำหรับประวัติ จากศิลาจารึกศาลหลักเมืองกาญจนบุรี นี้เป็น “หลักที่ 143 จารึกบนแผ่นไม้สักที่ศาลหลักเมืองกาญจนบุรี” ปัจจุบันอยู่ในบริเวณศาลหลักเมือง ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จารึกหลักนี้มีเนื้อหาตรงกันกับจารึกหลักเมืองกาญจนบุรี ซึ่งทำจากหินทราย แต่สภาพสมบูรณ์กว่า คาดว่าจะเป็นการคัดลอกมาจากจารึกดังกล่าว เนื่องจากบรรทัดแรก มีข้อความว่า อักษรจารึกหลัก “ศิลา” เมืองกาญจนบุรี (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน จารึกหน้าศาลหลักเมืองกาญจนบุรี) อนึ่ง เมืองกาญจนบุรีเดิม ตั้งอยู่ในบริเวณเขาชนไก่ ต่อมารัชกาลที่ 3 โปรดให้ย้ายมาที่ปากแพรก ริมฝั่งตะวันออกของลำน้ำ 2 สาย คือ แควใหญ่และแม่กลอง เนื่องจากที่ตั้งเดิมลำบากในด้านการเดินทาง ส่วนที่ปากแพรกสามารถค้าขายกับราชบุรีได้สะดวก กำแพงเมืองที่ปากแพรกนี้ เดิมเป็นแค่การปักเสาระเนียดบนเชิงเทิน ต่อมาจึงมีการสร้างกำแพงก่ออิฐถือปูน ดังที่ปรากฏในจารึก ในปัจจุบัน ป้อมและกำแพงดังกล่าวเหลือให้เห็นเพียงประตูด้านหน้า ซึ่งมีอักษรจารึกว่า “เมืองกาญจนบุรี พ.ศ. 2374” แนวกำแพงด้านริมน้ำ แนวกำแพงด้านหลังที่โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์และป้อมมุมเมืองด้านวัดไชยชุมพลชนะสงครามเท่านั้น เนื่องจากส่วนใหญ่ถูกน้ำท่วมพังลงมาในสมัยรัชกาลที่ 5 และมีการรื้อเพื่อสร้างเป็นโรงงานกระดาษ ใน พ.ศ. 2481
กล่าวถึงประวัติการสร้างเมือง ป้อม และกำแพงเมืองกาญจนบุรี รวมถึงการปฏิสังขรณ์วัดในเมืองและในกรุงเทพมหานครโดย พระยาประสิทธิสงคราม เจ้าเมืองกาญจนบุรี ตอนท้ายแผ่ผลบุญแด่เทพทั้งหลายและขอให้ตนสำเร็จแก่พระนิพพาน
ผู้สร้าง พระยาประสิทธิสงคราม เจ้าเมืองกาญจนบุรี การกำหนดอายุ คำนวณจากวันเดือนปีล่าสุดที่ปรากฏในบรรทัดที่ 5 - 6 ของ จารึกว่า (ขึ้น) 8 ปีระกา สพศก...ซึ่ง ประสาร บุญประคอง ได้คำนวณไว้ว่าตรงกับ วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2378 แต่แท้จริงแล้วตรงกับปีมะแม ไม่ใช่ปีระกาตามที่ระบุไว้ในจารึก ช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 3) แห่งราชวงศ์จักรี (ครองราชย์ พ.ศ. 2367 - 2393)
ทีมข่าวกาญจนบุรี