การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร(สก.) ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 มีผู้สมัครชิงตำแหน่ง ผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร จำนวน 31 คน และ ผู้สมัครเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.) 50 เขต จำนวน 382 คน การเลือกตั้งครั้งนี้คึกคักยิ่ง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสนามเลือกตั้ง สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตปทุมวัน ซึ่งมีผู้สมัคร รวมทั้งสิ้น 8 คน ได้แก่
เบอร์ 1 : นายณัฏฐ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อายุ 33 ปี เดิมจะสมัครเขตบางนา แต่เมื่อถีงวันสมัคร สก. ได้ตัดสินใจมาลงสมัครเป็น สก.เขตปทุมวัน ในสังกัดพรรคก้าวไกล ชูนโยบายร่วมสร้างกรุงเทพเมืองที่คนเท่ากัน เพราะมองว่าปทุมวันเป็นเขตใจกลางเมืองหลวงของประเทศไทย เป็นพื้นที่รวมปัญหาไว้มากมาย ทั้งที่อยู่อาศัย การจราจร การคมนาคมขอส่ง ทางเท้าทางสัญจร สุขอนามัยของประชาชน น้ำเน่าเสีย น้ำไม่ไหล ไฟฟ้าส่องสว่างไม่พอ ฯลฯ ชูสโลแกนว่า“ปทุมวันก้าวไกล อนาคตใหม่กรุงเทพ”
เบอร์ 2 : นายสมชาย กรสิริพักตร์ พรรคประชาธิปัตย์ อายุ 62 ปี มี นางสาวอรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์ อดีต ส.ส.กทม. และอดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ช่วยหาเสียงให้เต็มที่ ภายใต้นโยบาย “เปลี่ยนกรุงเทพ เพื่อชีวิตที่ดีกว่า สนับสนุนนโยบายของ ดร.สุชัชวัร์ ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร”
เบอร์ 3 : นายใจพิชญ์ สุขุมาลจันทร์ พรรคเพื่อไทย อายุ 38 ปี อดีตเคยร่วมงานกับพรรคไทยรักษาชาติ ก่อนถูก กกต.สั่งให้ยุบพรรค ชูแนวคิด “เพียงแค่คำว่าพัฒนาปทุมวันให้ดีที่สุดจึงยังน้อยไป เราจะต้องพัฒนาปทุมวันซึ่งเป็นพื้นที่ๆ มีเสน่ห์ โด่งดัง และมีเอกลักษณ์ที่ดีในตัวเองอยู่แล้ว ให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ตราบใดที่ประเทศไทยและกรุงเทพฯ ยังขับเคลื่อนไปข้างหน้า เขตปทุมวันจะต้องดีกว่าเดิมและพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีคำว่าที่สุด”
เบอร์ 4 : นางสาวเมลิสา มหาพล พรรคไทยสร้างไทย อายุ 39 ปี ดีกรีปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เคยครองตำแหน่งมิสไทยแลนด์เวิลด์ ปี 2549 และเป็นแอร์โฮสเตส และมีธุรกิจร้านถ่ายเอกสารที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เคยเป็นรองโฆษกพรรคชาติพัฒนา และผู้สมัคร ส.ส. เขต 4 กรุงเทพมหานคร เขตคลองเตย-เขตวัฒนา พรรคชาติพัฒนา ลงสมัคร สก.ครั้งนี้ ชูแนวคิด “เขตปทุมวันเป็นพื้นที่มีคามเหลื่อมล้ำสูง ดังนั้นเราต้องมุ่งเน้นให้คนได้พัฒนาศักยภาพสูงสุดด้วยตัวเอง ปัญหาความเหลื่อมล้ำถึงจะลดลง”
เบอร์ 5 : นายอภิชาติ ซำศิริพงษ์ พรรคพลังประชารัฐ อายุ 48 ปี ปริญญาเอก Doctor of Business Administration (DBA) University of Northern Philippines , บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) มหาวิทยาลัยรังสิต บริหารธุรกิจการจัดการ (8BA) มหาวิทยาลัยศรีปทุม ชูนโยบาย "ปทุมวันต้องปลอดภัย" ย้ำติดตั้งกล้อง CCTV ทุกจุดเสี่ยง ต้องคุณภาพดีใช้งานได้จริง ประสานขอภาพได้ทันที รวมไปจนถึงการแก้ไขปัญหาจราจร เนื่องจาก ปทุมวัน เป็นพื้นที่กรุงเทพชั้นใน และมีย่านการค้าหลายแห่ง ระยะสั้น สิ่งที่สามารถทำได้ทันที คือ เรื่องของการ ขีดสีตีเส้น แม้เป็นเรื่องพื้นฐาน แต่ที่ผ่านมาก็ถูกมองข้าม ส่วนระยะยาว ก็ต้องมีการบริหารจัดการเชิงระบบ นำเทคโนโลยี AI เข้ามาตรวจจับความเร็ว และประเมินคำสั่งไฟจราจร ก็จะช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดได้
เบอร์ 6 : นางสาวเมธาวี ธารดำรงค์ อิสระ(กลุ่มรักษ์กรุงเทพ) อายุ 70 ปี จบมาทางด้านปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา อดีต ส.ก.เขตปทุมวัน (พรรคประชาธิปัตย์) เคยสมัครเป็น ส.ส.ในบัญชีรายชื่อของพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ชูสโลแกนว่า “มากด้วยประสบการณ์ พร้อมความมุ่งมั่น ตั้งใจทำงานด้วยใจ รับใช้ชาวปทุมวัน กรุงเทพฯต้องไปต่อ”
เบอร์ 7 : นายกอบกฤต สุขสถิตย์ พรรครวมไทยยูในเต็ด อายุ 37 ปี จากหัวหน้าสาขาและอาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการธุรกิจสายการบิน ด้วยความเชี่ยวชาญด้าน Digital Marketing และ Marketing and Sales in Airlines Business Industry คณะการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ลงเลือกตั้งโดยชูแนวทางการกระจายอำนาจให้ กทม.รับผิดชอบ ดูแลการไฟฟ้า และ การประปา เพื่อสนองตอบความต้องการของชุมชนต่างๆ พร้อมจะส่งเสริมถนนคนเดินหรือสตรีตอาร์ต และนอกจากจะตรวจสอบการใช้เงินงบประมาณแล้ว จะให้ กทม.จัดหารายได้เพิ่มขึ้น เพื่อนำเงินมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับส่วนรวม
เบอร์ 8 : นางสาวหฤทัย ทวีพรกิจกุล พรรคประชากรไทย อายุ 27 ปี ชูนโยบายหาเสียง ด้วยการให้โอกาสคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายต่างๆ ของ กทม.มากขึ้น ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออนกราวด์ รวมทั้งจะเข้าทำหน้าที่ตรวจสอบความโปร่งใสขงงงบประมาณ ในโครงการต่างๆ ของ กทม. พร้อมนำเสนอว่า “ทุกคนเก่งหมดแต่ที่ขาดคือความโปร่งใสในการทำงาน”
เมื่อพิจารณาจากฐานเสียง และการทำงานการเมืองในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง บวกกับแรงหนุนของ ดร.ส้ม-พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ ส.ส.กทม.เขต 2 โฆษกพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งมีผลงานด้านการพิจารณาและเสนอกฎหมายอยู่ในรัฐสภา ณ เวลานี้ ดูเหมือนว่า “ เบอร์ 5-อภิชาติ ซำศิริพงษ์” จะมาแรง
นายอภิชาติ มีบทบาทและประสบการณ์ทางการเมืองมากมาย เคยเป็นหนึ่งคณะกรรมการประสานงานและติดตามนโยบายของผู้ว่าฯกทม. ประจำกลุ่มการปฏิบัติงานของสำนักงานเขต กลุ่มกรุงเทพใต้, เป็นที่ปรึกษา ประจำคณะกรรมาริการการสาธารณสุข สภาผู้เแทนราษฎร, เป็นผู้ชำนาญการ ประจำตัว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กทม. เขต 2, เป็นอนุกรรมาธิการ คณะอนุกรรมาธิการ พัฒนา ส่งเสริม ตรวจสอบการพลังงานเพื่อความเป็นรรรมของประชาชนในคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา, เป็นผู้เชี่ยวชาญประจำตัว สมาชิกวุฒิสภา จังหวัดปทุมธานี, เป็นโฆษก คณะอนุกรรมาธิการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน และส่งเสริมการเมืองกาคพลมือง ในคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสริภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา, เป็นที่ปรึกษา คณะอนุกรรมาธิการคมนาคมการขนส่ง วุฒิสภา, เป็นอนุกรรมาธิการ คณะอนุกรรมาธิการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน และส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง ในคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และ การคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา และเป็นนักวิชาการ ประจำคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา
ทางด้านอุดมการณ์ทางการเมือง ชูนโยบาย 1. ทำงานการเมืองด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและโปร่งใส 2. ประโยชน์สุขของประชาชนต้องมาก่อนประโยชน์สุขส่วนตัว 3. ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน
เมื่อถามถึงความมุ่งมั่น เพื่อ สร้างสรรค์ และ พัฒนา ปทุมวัน นายอภิชาติ ตอบอย่างชัดเจนว่า “สิ่งแรกคือต่อต้านการโกงกิน คอรัปชัน การเรียกรับส่วย สินบน รีดไถ พร้อมทั้งจะผลักดันความปลอดภัยบนท้องถนน สถานที่อยู่อาศัย สถานที่สาธารณะ ลดโจรกรรม อัคคีภัย และลดปัญหามลภาวะ โดยจะติดตามประสานงานกับ กทม.ในด้านสุขอนามัยชุของชุมชน เพิ่มพื้นที่สีเขียงและสวนสาธารณะ เพิ่มไฟส่องสว่าง กล้องวงจรปิด และป้องกันปัญหาน้ำท่วม”