ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
คปภ. - ต่อยอดความสำเร็จประกันภัยข้าวนาปี “ชงลดเบี้ย–เพิ่มความคุ้มครอง”
08 พ.ค. 2560
          คปภ.ต่อยอดความสำเร็จประกันภัยข้าวนาปี “ชงลดเบี้ย–เพิ่มความคุ้มครอง” ชี้ชาวนาไทยได้ประโยชน์เต็มๆ พร้อมเดินสายให้ความรู้ด้านประกันภัยผ่าน Training for the Trainers โดยเลขาธิการคปภ.และคณะลงพื้นที่รับฟังปัญหาจากชาวนาด้วยตนเอง
 
          สำนักงาน คปภ. รุกขับเคลื่อนกลไกการประกันภัยพืชผล สร้างเครือข่ายกระจายความรู้ด้านการประกันภัย เพื่อต่อยอดช่วยเกษตรกรไทยสู้ภัยธรรมชาติ ผ่านโครงการอบรมความรู้ประกันภัย “Training for the Trainers” ปี 2560 ลงพื้นที่ประเดิมที่จังหวัดขอนแก่น โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมรับการอบรมกว่า 300 คน
 
         ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการปฏิรูปการประกันภัยพืชผล เพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิตและยกระดับรายได้ของเกษตรกรไทย ซึ่งสำนักงาน คปภ. ได้ร่วมบูรณาการกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมการปกครอง กรมการพัฒนาชุมชน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และสมาคมประกันวินาศภัยไทย โดยในปี 2559 ได้มีการจัดอบรมความรู้ประกันภัย (Training for the Trainers) เพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการประกันภัยพืชผลในทุกภาค ซึ่งการจัดอบรมตามโครงการในปีที่แล้วประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง และส่งผลให้มีเกษตรกรทำประกันภัยข้าวนาปีในปี 2559 รวมทั้งสิ้น 1.51 ล้านราย มีพื้นที่เอาประกันภัย จำนวน 27.17 ล้านไร่ ในจำนวนนี้มีพื้นที่ประสบภัยทั่วประเทศ 624,770 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ 620,229 ไร่ และพื้นที่ไม่ประกาศภัยพิบัติ 4,541 ไร่ มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว รวมทั้งสิ้น 684.98 ล้านบาท
 
          ทั้งนี้เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับชาวนาไทยและสร้างแรงจูงใจให้กับชาวนาไทยเข้าสู่ระบบการบริหารความเสี่ยงภัยได้อย่างทั่วถึง เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในปี 2560 ได้มีการหารือกับสมาคมประกันวินาศภัยไทยและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจนได้ข้อสรุปที่เห็นตรงกันว่าจะมีการปรับลดเบี้ยประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2560 ให้ต่ำกว่าเบี้ยประกันภัยข้าวนาปีของปี 2559 ขณะที่ในส่วนของความคุ้มครองจะเพิ่มให้สูงกว่าเดิมและจะครอบคลุมความเสียหายจากน้ำท่วมหรือฝนตกหนัก ภัยแล้ง ฝนแล้ว หรือฝนทิ้งช่วง ลมพายุหรือพายุใต้ฝุ่น ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง ลูกเห็บ ไฟไหม้ ตลอดจนความเสียหายจากศัตรูพืชหรือโรคระบาด โดยทางสำนักงาน คปภ. จะได้มีหนังสือถึงปลัดกระทรวงการคลังรายงานข้อสรุปดังกล่าว เพื่อนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณานำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยให้เกษตรกรต่อไป
 
“การประกันภัยข้าวนาปีในปีนี้ถือเป็นการต่อยอดความสำเร็จจากปีที่แล้ว และถึงแม้ว่าปีที่แล้วจะมีระยะเวลาขายกรมธรรม์ให้กับชาวนาอย่างกระชั้นชิดในช่วงฤดูใกล้ทำนาแล้วก็ตาม แต่ด้วยความร่วมมือแบบบูรณาการทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญต่อการช่วยเหลือชาวนาอย่างจริงจังทำให้การประกันภัยข้าวนาปีสูงเป็นประวัติศาสตร์ ถึง 27.17 ล้านไร่ สำหรับในปีนี้ได้มีการวิเคราะห์สภาพปัญหาในปีที่แล้ว เพื่อแก้ไขและต่อยอดความสำเร็จ ซึ่งเชื่อว่าหากมีการเริ่มการดำเนินการให้เร็วขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาก็จะทำให้การบริหารจัดการมีความคล่องตัวและเกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น”
 
ดร.สุทธิพล กล่าวด้วยว่า ในส่วนของสำนักงาน คปภ. ยังคงเดินหน้าจัดโครงการอบรมความรู้ประกันภัย (Training for the Trainers) ซึ่งถือเป็นโครงการต่อยอดจากปี 2559 ที่ผ่านมาเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการปฏิรูปการประกันภัยพืชผลให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน และเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารความเสี่ยงภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านประกันภัยให้แก่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปถ่ายทอดให้แก่เกษตรกร ซึ่งในปีนี้ได้เพิ่มความเข้มข้นโดย เลขาธิการ คปภ. และคณะได้ลงพื้นที่ในชุมชนเพื่อประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกลุ่มเกษตรกรชาวนาในพื้นที่เพื่อรับฟังสภาพปัญหาและข้อเสนอแนะด้วยตนเอง
 
            สำหรับโครงการอบรมในปีนี้ สำนักงาน คปภ. ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดส่งเจ้าหน้าที่ผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มาเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการประกันภัยข้าวนาปี และการบริหารความเสี่ยงด้วยการประกันภัย โดยเฉพาะเงื่อนไขความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปี  ขั้นตอนการขอรับค่าสินไหมทดแทน และหลักการพิจารณาการประกาศเป็นเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉิน 
 
            รวมถึงการจัดทำ Workshop พร้อมยกกรณีศึกษาการรับประกันภัยข้าวนาปี เพื่อหาแนวทางร่วมกันในการใช้ระบบประกันภัยแก้ไขปัญหาพืชผลทางการเกษตรอย่างเป็นระบบและยั่งยืน ซึ่งการจัดอบรมอบรมความรู้ประกันภัย (Training for the Trainers) ในปี 2560 มีกำหนดจัดอบรม 9 ครั้ง 9 จังหวัด โดยประเดิมจัดครั้งแรกที่ จ.ขอนแก่น ต่อด้วย จ.นครสวรรค์ จ.สุโขทัย จ.ฉะเชิงเทรา จ.เพชรบุรี จ.บุรีรัมย์ จ.ร้อยเอ็ด จ.สกลนคร และ    จ.สงขลา ตามลำดับ เพื่อให้ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาค ซึ่งสำนักงาน คปภ. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้เข้ารับการอบรมจากโครงการดังกล่าวจะได้นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน และขยายผลไปถึงเกษตรกร ชาวนา ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนในการปฏิรูปประกันภัยพืชผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...