ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
สวทช. จับมือ SUMMIT ยกระดับการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
14 มิ.ย. 2565

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช. ในฐานะหน่วยงานขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาของประเทศ โดยการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) มาช่วยตอบโจทย์ความต้องการของประเทศในหลายมิติ โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งไทยเป็นประเทศที่มีฐานการผลิตรถยนต์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ด้วยจุดแข็งในหลายๆ ด้าน ทั้งความพร้อมและศักยภาพของผู้ประกอบการ ความได้เปรียบในเรื่องของแรงงาน ตลอดจนนโยบายสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนต่างๆ ของภาครัฐ ล้วนเป็นปัจจัยเสริมให้อุตสาหกรรมนี้เติบโตมาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยช่วงเวลานี้อุตสาหกรรมยานยนต์อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ หรือยานยนต์ไฟฟ้า ทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จำเป็นต้องพัฒนาขีดความสามารถทางด้านวิศวกรรม ตัวอย่างเช่น การพัฒนาการออกแบบและผลิตชิ้นส่วนกลุ่มน้ำหนักเบา หรือ Light Weight ด้วยวัสดุทดแทนต่างๆ  / เทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงด้านการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์สมัยใหม่ /และการพัฒนาเทคโนโลยีอัตโนมัติในส่วนของการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ 
“ความร่วมมือที่เกิดขึ้นระหว่าง สวทช. และ บริษัท ซัมมิท อาร์แอนด์ ดี เซ็นเตอร์ จำกัด เป็นระยะเวลากว่า 10 ปี ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีและถือเป็นหนึ่งความสำเร็จของโครงการที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐและเอกชนได้ร่วมกันผลักดันอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยมีเทคโนโลยีเป็นของตนเอง ลดการนำเข้าหรือพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ผ่านศักยภาพด้านการวิจัยพัฒนายานยนต์ของนักวิจัยไทย ทั้งด้านเทคโนโลยีการออกแบบและกระบวนการผลิตโดยมุ่งหวังที่จะส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมเพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย”
คุณกรกฤช จุฬางกูร ประธานบริหาร บริษัทซัมมิท อาร์แอนดี เซ็นเตอร์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทซัมมิท อาร์แอนดี เซ็นเตอร์ จำกัด เป็นบริษัทในกลุ่ม บริษัท ซัมมิท โอโต บอดี้ อินดัสตรี จำกัด ซึ่งมีบริษัทในเครือ
20 กว่าบริษัท โดยเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ปั้มขึ้นรูปโลหะส่งมอบให้กับผู้ประกอบรถยนต์ทุกยี่ห้อที่มีฐานการผลิตในประเทศไทย ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ถือว่าอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ หรือ ยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง  บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จึงจำเป็นต้องพัฒนาความสามารถทางด้านวิศวกรรมที่ใช้ในการออกแบบยานยนต์ ด้านวัสดุศาสตร์ ด้านเทคโนโลยีการผลิตและการทดสอบ ซึ่งบริษัทได้รับความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ 2555 จนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลาถึง 10 ปี โดยมีความร่วมมือด้านงานวิจัยหลายโครงการที่ช่วยสร้างมูลค่าผลกระทบให้แก่บริษัทได้จำนวนมาก เช่น
1. โครงการร่วมวิจัย จำนวน 11 โครงการ ซึ่งได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว 9 โครงการ อยู่ระหว่างดำเนินการวิจัยอีก 2 โครงการ โดยมีงบประมาณการลงทุนด้านการวิจัยกว่า 4.3 ล้านบาท 
2.  โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งบริษัทได้ผ่านการรับรองโครงการจาก สวทช. ในปี 2554 จนถึงปัจจุบัน จำนวน 26 โครงการ งบประมาณรวม 202 ล้านบาท 
3. โครงการพัฒนาชิ้นงานกลุ่มมีน้ำหนักเบา (Light Weight) ชิ้นงาน Stay Side Step หรือ ขายึดจับบันไดข้าง ซึ่งบริษัทได้ทำวิจัยร่วมกับศูนย์เอ็มเทค สวทช. ในการผลิตชิ้นงานต้นแบบที่สามารถช่วยลดน้ำหนักชิ้นงานลงได้ถึง 24% ซึ่งเกินความคาดหวังที่บริษัทตั้งไว้ลดลง 20%
คุณกรกฤช กล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือด้านการวิจัยนี้ ถือเป็นหนึ่งในแรงกำลังสำคัญที่ช่วยสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพด้านการออกแบบและผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของบริษัท เพิ่มความสามารถด้านการแข่งขันทำให้บริษัทได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าให้ออกแบบ และผลิตชิ้นส่วนใหม่ๆ เพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้
ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. กล่าวว่า ความร่วมมือในโครงการต่างๆ ระหว่าง สวทช. กับ บริษัท ซัมมิท อาร์แอนดี เซ็นเตอร์ จำกัด ภายใต้การดำเนินการวิจัยและพัฒนากับทีมวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) และศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ (RMT) สวทช. ที่ผ่านมามีโครงการวิจัยและพัฒนาร่วมกัน จำนวน 7 โครงการ ซึ่งได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วจำนวน 5 โครงการ ได้แก่
1. การศึกษาสมบัติของวัสดุและตัวแปรในกระบวนการรีดขึ้นรูปเหล็กแผ่นด้วยเทคนิคการจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์เพื่อขึ้นรูปชิ้นส่วนยานยนต์
2. การพัฒนาระเบียบวิธีเชิงปฏิบัติสำหรับการออกแบบและปรับแต่งแม่พิมพ์ ในการปั๊มขึ้นรูปเหล็กแผ่นความแข็งแรงสูงมุ่งเน้นเพื่อลดการเกิดปัญหาการดีดตัวกลับ เหล็ก 780 Mpa.
3. การปรับปรุงการออกแบบโครงสร้างแม่พิมพ์เพื่อแก้ปัญหาการโก่งตัวของโครงสร้างแม่พิมพ์
4. การประยุกต์ใช้ Design Guideline และ Simulation Technique ในการออกแบบชุดลูกรีดสำหรับกระบวนการรีดขึ้นรูปชิ้นส่วนยานยนต์
5. โครงการเตรียมความพร้อมและพัฒนาความสามารถในการออกแบบและผลิตชิ้นส่วน STAY SIDE STEP สำหรับรถกระบะด้วยวัสดุทดแทน
ทั้งนี้ ยังมีโครงการวิจัยที่อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ การศึกษากระบวนการเชื่อมแบบ Laser Welding และโครงการพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์จากพลาสติกที่เสริมแรงด้วยเส้นใยคาร์บอนและจากความร่วมมือกันครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสร้างองค์ความรู้ ช่วยยกระดับศักยภาพในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ช่วยให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยก้าวไกลได้ต่อไปภายใต้ความเป็นคนไทย เป็นบริษัทของคนไทย สร้างความเติบโตให้กับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทยได้อย่างยั่งยืนต่อไป
ดร.ฐิตาภา สมิตินนท์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.กล่าวว่า นอกจากโครงการวิจัยภายใต้ความร่วมมือกับเอ็มเทค สวทช.แล้ว ยังมีความร่วมมือผ่านกลไกการสนับสนุนจากศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี โดยโครงการไอแทปจำนวน 7 โครงการ และบริษัทฯ ได้ยื่นขอรับรองโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่อ สวทช. ตั้งแต่ปี 2554-ปัจจุบัน และผ่านการพิจารณาแล้ว 26 โครงการ โดยบริษัทฯ สามารถนำไปยื่นลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลตามระเบียบของกรมสรรพากรได้

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...