อันดับ 4. E-Sports , Social Media และ Online Entertainment อันดับ 5. ธุรกิจจัดทำคอนเทนต์ ธุรกิจ youtuber influencerและการรีวิวสินค้า ธุรกิจสื่อโฆษณา อันดับ 6.ธุรกิจเวชภัณฑ์ยา ธุรกิจการขายส่งสินค้าทางเภสัชภัณฑ์และ ทางการแพทย์ ธุรกิจ fintech และการชำระเงินผ่านระบบเทคโนโลยี งานคอนเสิร์ต มหกรรมจัดแสดงสินค้าและ ธุรกิจ event
อันดับ 7. ธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์ ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน อันดับ 8.ธุรกิจ Modern Trade/ร้ำนค้าปลีกสมัยใหม่ ธุรกิจสมุนไพรไทย เช่น กัญชง กัญชา ใบกระท่อม อันดับ 9. ธุรกิจสถานบันเทิง ธุรกิจยานยนต์ และอันดับ10. ธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์
ส่วนธุรกิจดาวร่วง 10 อันดับ ได้แก่ อันดับ 1. ธุรกิจผลิตโทรศัพท์พื้นฐานและเครื่องโทรสาร (แฟ็กซ์) อันดับ 2. ธุรกิจฟอกย้อม อันดับ 3. ธุรกิจหัตถกรรมที่ไม่มีการออกแบบ อันดับ 4. ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ และวารสาร อันดับ 5. ธุรกิจรับ-ส่งสื่อสิ่งพิมพ์ตามบ้านและที่ทำงาน อันดับ 6. ธุรกิจโรงพิมพ์/การพิมพ์ อันดับ 7. ธุรกิจคนกลาง อันดับ 8. ธุรกิจ Call Center อันดับ 9. ธุรกิจผลิตเสื้อผ้าโหล และ อันดับ 10. ธุรกิจร้านเช่าหนังสือ-ขายหนังสือ ธุรกิจร้านถ่ายรูป
ทั้งนี้ การดำเนินธุรกิจในช่วงครึ่งหลังของปี มีปัจจัยหนุนที่สำคัญคือ การผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด โดยยกเลิกระบบ Test&Go และมีการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ภาครัฐออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนในเรื่องค่าครองชีพ ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่า รวมถึงการปลดล็อกกัญชง กัญชา ที่มีส่วนช่วยสร้างมูลค่าเศรษฐกิจและผู้ประกอบการไทยหน้าใหม่
ส่วนปัจจัยที่บั่นทอนการดำเนินธุรกิจคือ สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ ทำให้ราคาน้ำมันตลาดโลกสูงขึ้น กระทบกับค่าขนส่ง และต้นทุนการผลิตสินค้าต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น มีผลให้กำลังซื้อลดลง นอกจากนี้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย อาจทำให้เกิดการไหลออกของเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ, จีนยังไม่ผ่อนคลายมาตรการเดินทางออกนอกประเทศ, ความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนยังเปราะบาง, การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งแนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)
“ช่วงครึ่งปีหลังกระแสสำคัญที่มีผลต่อธุรกิจดาวเด่นจะมาจากทั้งการเปิดประเทศ กรณีของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกทม.มีผลต่อธุรกิจดิจิทัล และ Social Network ทำให้เกิดกระแสของการ Live รวมถึงการจำหน่ายสลากดิจิทัล ทำให้ประชาชนเข้าถึงดิจิทัลมากขึ้น เข้าสู่สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) ซึ่งเป็นตัวเร่งกระแส Digital Economy ได้เร็วขึ้น โดยกลุ่ม Gen Y และ Gen Z จะเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศมากขึ้น”
อย่างไรก็ตาม ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยเริ่มเห็นการฟื้นตัวได้ในช่วงกลางไตรมาส 2 และเริ่มชัดเจนขึ้นในไตรมาส 4 แม้ยังมีปัญหาเรื่องราคาน้ำมันที่สูง แต่เริ่มมีกลุ่มธุรกิจมองว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น ดูจากยอดขายโดยเฉพาะในรถบรรทุกมียอดซื้อเพิ่มขึ้นสะท้อนว่าเริ่มมีการขนส่งสินค้า รวมทั้งมีการซื้อสินค้าคงทนถาวร เช่น เช่น รถยนต์ และบ้านแนวราบ
สำหรับธุรกิจสมุนไพรไทยมีแนวโน้มกลับมาฟื้นตัวได้ดีขึ้นหลังจากเกิดการระบาดโควิด-19เกิดกระแสการดูแลสุขภาพด้วยการใช้สมุนไพรไทยต่างๆ ในการป้องกันรักษาแบบทางเลือก ขณะที่กระแสจากกัญชง กัญชา ในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มก็จะเข้ามาช่วยเสริมในเรื่องของธุรกิจสมุนไพรด้วย