นายสานิตย์ จิตต์นุพงศ์ ประธานที่ปรึกษาสมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลก แจงเหตุกรณีชาวนาโครงการขาณุโมเดล "ปลูกข้าวไม่พอขาย" ว่า จากการที่รัฐบาลชุดปัจจุบันใช้แนวทางการ "แก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน" สำหรับการผลิตข้าวทั้งระบบ ตั้งแต่ปี 2563 ด้วยการส่งเสริมการผลิตข้าวสายพันธุ์ใหม่ การพัฒนาพันธุ์ ตามที่ตลาดต้องการ การส่งเสริมและให้องค์ความรู้ในเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งอาจใช้แนวทางประชานิยมบ้าง แต่ก็มีการจัดการด้วยความรอบคอบถี่ถ้วน
"ปี63 สมัยนั้นผมดำรงตำแหน่งประธานยุทธศาสตร์ สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย ผมและพวกเรากลุ่มชาวนาที่อำเภอ ขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็น 'ชาวนานักรักษ์ ' ได้ปรับพฤติกรรมการผลิตข้าว และ ร่วมสร้างเป้าหมายใหม่ๆ ตามที่ท่านนายกรัฐมนตรีดำริไว้ "เราจะปลูกข้าวสู้เวียดนาม" นายสานิตย์ จิตต์นุพงศ์ และนายฉัตรชัย มาฉาย ประธานโครงการขาณุโมเดล ได้หารือและร่วมกันเตรียมข้อมูลด้านตลาดและรายชื่อคู่ค้า โรงสี ไว้ล่วงหน้า จากนั้นจึงหาสายพันธุ์ข้าวที่ตลาดต้องการ โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมการข้าว เป็นเมล็ดพันธุ์ข้าว กข.79 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ยังไม่เคยปลูก ดังนั้นเมื่อผ่านมา 2 ฤดูกาล จึงรู้จักนิสัยข้าว กช79 เป็นอย่างดี ทำให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกเริ่มเห็นผลเชิงประจักษ์ สมาชิกสามารถสร้างระบบการผลิตข้าวได้มาตรฐาน GAP และมีการใช้ชีวภาพชีวภัณฑ์ทำให้ข้าวเปลือก ได้คุณภาพทางกายภาพดี เมื่อส่งต่อวัตถุดิบคุณภาพให้โรงสีคู่ค้า จนสามารถนำไปแข่งขันในตลาดได้ ทำให้ความต้องการข้าวเปลือกจากกลุ่มขาณุโมเดล จึงมีมากกว่ากำลังผลิต นี่คือที่มาของประโยคที่ว่า "ปลูกข้าวไม่พอขาย" นั่นเอง ทั้งนี้ นายสานิตย์ ซึ่งปัจจุบันเป็นประธานที่ปรึกษาสมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลก ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า "สิ่งที่น่าสนใจที่สุดคือ สำนักนายกรัฐมนตรี, สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช) ได้ลงพื้นที่ อำเภอขาณุวรลักษบุรี ในวาระต่างกัน เก็บข้อมูล และสอบถามข้อเท็จจริงเสมอ เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดในลำดับต่อไป จึงสอดคล้องกับหน่วยงานสำคัญอย่างกรมการข้าวยุคใหม่ ที่ใช้แนวทางตลาดนำการผลิต ปัจจุบัน “ชาวนานักรักษ์” ในหลายพื้นที่ ที่ต้องการ "ความยั่งยืน" ต่างเข้ามาดูงานที่โครงการขาณุโมเดล และจะนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตน จึงเป็นที่มาของการยกระดับสู่ โครงการข่าวรักษ์โลก BCG Model ของสมาคมพัฒนาเศรษฐกิจรักษ์โลก ซึ่งเดิมหลายคนมักได้ยินเสมอว่าชาวนาทำนา “ด้วยเหงื่อแลกเงิน" โครงการนี้ จึงปรับเปลี่ยนสร้างคุณค่าใหม่เป็น "งานแลกเงิน" และเกิด "ความยั่งยืน" จากเศรษฐกิจใหม่ นั่นคือ ก้าวต่อไปที่จะไปสู่ BCG Model โดยการใช้ทุนทางธรรมชาติ สร้างคุณค่าเพื่อเพิ่มมูลค่า เริ่มจากเป็นแหล่งผลิต คุณภาพดี และได้คุณค่าจากธรรมชาติ เกิดเป็นวัตถุดิบที่ตลาดต้องการในอุตสาหกรรมอาหารโลกต่อไป