กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ออกประกาศเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและน้ำท่วมฉับพลัน ฉบับที่ 20 หลังกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ช่วงวันที่ 10 – 14 กรกฎาคม มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามันประเทศไทยและอ่าวไทย ประกอบกับ ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เบื้องต้นได้ประเมินสถานการณ์น้ำจากฝนคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พบจะมีปริมาณฝนตกสะสมต่อเนื่อง ประกอบกับสถานการณ์น้ำในลำน้ำและแหล่งน้ำธรรมชาติบางพื้นที่ที่ฝนตกหนักอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก อาจส่งผลให้เกิดน้ำหลากและน้ำท่วมฉับพลันจึงต้องเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงเพิ่มเติมช่วงวันที่ 11 – 15 กรกฎาคม คือ เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและน้ำท่วมขังในภาคเหนือ บริเวณอำเภอเชียงคำ ปง และภูซาง จังหวัดพะเยา , อำเภองาว แจ้ห่ม เมืองปาน และวังเหนือ จังหวัดลำปาง , อำเภอร้องกวาง วังชิ้น และสอง จังหวัดแพร่ , อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก , อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ วิเชียรบุรี และหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
ขณะที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณอำเภอด่านซ้าย และปากชม จังหวัดเลย , อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู , อำเภอกุมภวาปี ทุ่งฝน นายูง น้ำโสม บ้านดุง บ้านผือ พิบูลย์รักษ์ เพ็ญ วังสามหมอ สร้างคอม และหนองหาน จังหวัดอุดรธานี , อำเภอท่าบ่อ เฝ้าไร่ โพธิ์ตาก โพนพิสัย เมืองหนองคาย รัตนวาปี สระใคร และสังคม จังหวัดหนองคาย , อำเภอกุดบาก คำตากล้า เจริญศิลป์ นิคมน้ำอูน บ้านม่วง ภูพาน วานรนิวาส วาริชภูมิ ส่องดาว และอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร , อำเภอกุดชุม ทรายมูล ป่าติ้ว เมืองยโสธร และเลิงนกทา จังหวัดยโสธร , อำเภอเทพสถิต หนองบัวแดง และเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ , อำเภอเขาสวนกวาง ชนบท เมืองขอนแก่น และอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น , อำเภอเขาวง คำม่วง นาคู สมเด็จ และสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ , อำเภอโพนทอง และหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด , อำเภอชานุมาน พนา เมืองอำนาจเจริญ ลืออำนาจ และหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ , อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา , อำเภอเขมราฐ โขงเจียม ตระการพืชผล ตาลสุม นาจะหลวย นาตาล พิบูลมังสาหาร โพธิ์ไทร ม่วงสามสิบ ศรีเมืองใหม่ และสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี // ภาคใต้ บริเวณอำเภอกระบุรี กะเปอร์ และเมืองระนอง จังหวัดระนอง , อำเภอ พะโต๊ะ และเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร , อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี , อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา
รวมทั้ง เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน บริเวณแม่น้ำน่านและลำน้ำสาขา แม่น้ำชี แม่น้ำมูล แม่น้ำสงคราม ลำน้ำอูน ลำน้ำยาม และแม่น้ำตาปี พร้อมเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำกักเก็บสูงสุด (Upper Rule Curve) 2 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำน้ำพุง จังหวัดสกลนคร , อ่างเก็บน้ำกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง และอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำในภาคเหนือ บริเวณจังหวัดลำปาง น่าน และพะเยา , ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดเลย สกลนคร ขอนแก่น นครราชสีมา นครพนม มุกดาหาร และอุบลราชธานี , ภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดตราด และภาคใต้ บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ยังให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสภาพอากาศและสภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตรในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ พร้อมตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงและความสามารถใช้งานของอ่างเก็บน้ำ อาคารบังคับน้ำ ซ่อมแซมแนวคันบริเวณริมแม่น้ำและกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ // วางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมกับปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำและระดับน้ำในลำน้ำ เพื่อเตรียมพร้อมรับน้ำหลากป้องกันน้ำท่วมให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ