น่าน จัดทำพิธีปิดแผ่นทองปฐมฤกษ์ ถวายสักการะองค์พระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้งและพิธีทำบุญอุทิศถวายอดีตสังฆราชา อดีตเจ้าอาวาส อดีตเจ้าผู้ครองนครน่านและบรรพบุรุษชน และพิธีบวงสรวงถวายเทพยดาอารักษ์
เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2565 ณ มณฑลพิธีศาลาหลวงวัดพระธาตุแช่แห้ง ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน โดยมีนายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ประธานพิธีฝ่ายฆราวาส, พระคุณพระราชศาสนาภิบาล เจ้าคณะจังหวัดน่าน ประธานในพิธีฝ่ายสงฆ์ , พระสุนทรมุนี รองเจ้าคณะจังหวัดน่าน , นายบัณฑูร ล่ำซำ อุบาสกผู้ให้การอุปถัมภ์ การบูรณะองค์พระมหาธาตุเจ้า ประกอบพิธีเจิม แผ่นทอง ปฐมฤกษ์ เนื่องจากองค์พระมหาธาตุเจ้าภูเพียงธาตุแช่แห้ง มีความชำรุด ทรุดโทรม ตามกาลเวลา อันเป็นผลจาก แผ่นดินไหวในประเทศลาว ที่ผ่านมาทำให้แกนยอดองค์พระมหาธาตุเจ้า ฯ ด้านบนสุด มีสภาพเอียง อาจมีผลทำให้เกิดความ เสียหายเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต นั้น เพื่อเป็นการรักษา บูรณะ และซ่อมแชม องค์พระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง สิ่งศักดิ์ คู่บ้านคู่เมืองน่าน และประเทศไทย ให้อยู่ในสภาพที่มั่นคง แข็งแรง เป็นที่ศรัทธาแก่สาธุชน ทางวัดได้มีโครงการบูรณะองค์พระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง ขึ้น ในการนี้ได้กำหนดพิธีถวายสักการะองค์พระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง พิธีทำบุญอุทิศถวายอดีตสังฆราชา อดีตเจ้าอาวาส อดีตเจ้าผู้ครองนครน่านและบรรพบุรุษชน และพิธีบวงสรวงถวายเทพยดาอารักษ์สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ตามโบราณประเพณี เพื่อความเป็นสิริมงคล ในการดำเนินการในการนี้ คณะกรรมการดำเนินการ บูรณะองค์พระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง ขอเจริญพรเชิญท่าน ได้ร่วมเป็นเกียรติร่วมพิธีและขออนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์งานพิธีดังกล่าวทั้งก่อนพิธี ระหว่างพิธี และหลังพิ ในพิรีถวายสักการะองค์พระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้งพิธีปิดแผ่นทององค์พระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง เป็นปฐมฤกษ์ดังกล่าว
สำหรับโครงการบูรณะองค์พระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้งองค์พระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองน่าน พระธาตุประจำปีผู้เกิดปีเถาะ(กระต่าย) มีอายุกาลกว่า 669 (พ.ศ.1986 – 2565 ) ศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนทั้งประเทศ ได้จัดโครงการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้งขึ้น เนื่องจากองค์พระมหาธาตุเจ้าภูเพียงธาตุแช่แห้ง มีความชำรุด ทรุดโทรม ตามกาลเวลา อันเป็นผลจากแผ่นดินไหวในประเทศลาวที่ผ่านมาทำให้แกนยอดองค์พระมหาธาตุเจ้า ฯ เกิดความเสียหายขึ้นนั้น เพื่อเป็นการรักษา บูรณะ และซ่อมแซม องค์พระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองน่าน และประเทศไทย ให้อยู่ในสภาพที่มั่นคง แข็งแรง เป็นที่ศรัทธาแก่สาธุชน ทางวัดได้มีการบูรณะองค์พระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้งขึ้น
ในการนี้วัดพระธาตุแช่แห้งพระอารามหลวงจึงได้ทำโครงการบูรณะองค์พระมหาธาตุเจ้าภูเพียง แช่แห้งขึ้นโดยทางวัดเป็นผู้ดำเนินการจัดหางบประมาณในการบูรณะเองทั้งหมด ซึ่งงบประมาณที่ใช้ในการบูรณะครั้งนี้ได้แยกเป็น 2 ส่วนดังนี้
ส่วนที่1 งานยอดดอกไม้สวรรค์ทองคำประดับอัญมณี งบประมาณ 28 ล้านบาท
ส่วนที่2 งานบูรณะซ่อมแซมองค์พระธาตุเจดีย์งบประมาณ 36 ล้านบาท
ประวัติวัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง พระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง ตามตำนานพระเจ้าเลียบโลก เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล สมเด็จพระสัมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพาน พระอรหันต์เจ้าทั้งหลายได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุข้อพระหัตถ์ซ้ายและเศษสรีรังคารธาตุมาประดิษฐานไว้บนดอยภูเพียง เพื่อให้มนุษย์และเทวดาทั้งหลายได้สักการบูชาตราเท่า 5,000 พระวัสสา ตามประวัติเท่าที่สืบค้นหาหลักฐานได้องค์พระมหาธาตุได้สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 1896 ในสมัยพญาการเมืองเจ้าผู้ครองนครเมืองวรนคร (อ.ปัวในปัจจุบัน) พระองค์ท่านได้เสด็จไปร่วมพระราชกุศลกับพระมหาธรรมราชาลิไทสร้างวัดหลวงอภัยขึ้นที่เมืองสุโขทัย เมื่อทรงสร้างเสร็จพระเจ้ากรุงสุโขทัยได้ถวายพระมหาชินธาตุเจ้า 7 พระองค์ลักษณะเท่าเมล็ดพันธ์ผักกาด มีวรรณะสุกใสดั่งแก้ว 2 พระองค์ มีวรรณะดั่งมุก 3 พระองค์และมีลักษณะเท่าเมล็ดงาวรรณะดั่งทองคำ 3 องค์ พร้อมด้วยพระพิมพ์เงิน พิมพ์คำอีกอย่างละ 20 องค์ ให้แก่พญาการเมือง พระองค์ท่านจึงได้อัญเชิญพระมหาชินธาตุเจ้าทั้งหมดและพระพิมพ์เงิน พิมพ์คำ มายังดอยภูเพียง ประจุไว้ในเต้าปูนทองสำริด แล้วพอกด้วยสะตาย(ปูนขาวผสมยางไม้) กลมเหมือนก้อนศิลา แล้วทรงขุดหลุมลึก 1 วา กว้าง 1 วา อาราธนาลงประดิษฐานในหลุม ก่อเจดีย์สูง 1 วาทับไว้อีกชั้นหนึ่ง กาลต่อมาหลังจากพญาการเมืองเสวยราชสมบัติที่เมืองวรนครได้อีก 6 ปี จึงได้ย้ายเมืองจากเมืองวรนครมาสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่ ดอยภูเพียงและได้ปกครองอยู่ตราบสิ้นรัชสมัยของพระองค์
พระธาตุแช่แห้ง มีความสูง 55.5 เมตร ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 22.5 เมตร บุด้วยทองเหลืองหมดทั้งองค์ เป็นโบราณสถาน ที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งของล้านนา สถาปัตยกรรมด้านโบสถ์ของวัดพระธาตุแช่แห้ง ที่สำคัญและแสดงให้เห็นถึงแบบอย่างสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมสกุลช่างน่าน ชาวเมืองล้านนามีความเชื่อกัน ว่าการ ได้เดินทางไปสักการบูชากราบไหว้นมัสการองค์พระธาตุแซ่แห้ง หรือชาวล้านนาจะเรียกกันว่า การชูธาตุ แล้วนั้นจะทำได้รับ อานิสงค์อย่างแรงกล้า ทำให้ชีวิตอยู่ดี มีสุข ปราศจากโรคภัยต่างๆ มาเบียดเบียน หน้าที่การงานเจริญก้าวหน้า เป็นต้น ทุกปีจะมีงานนมัสการ ระหว่างวันขึ้น 11 ค่ำ ถึง 15 ค่ำเดือน 6 เหนือ ซึ่งจะอยู่ราวปลายเดือนกุมภาพันธ์หรือต้นเดือนมีนาคมของทุกๆ ปี
ทีมข่าว จ.น่าน