ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
กอนช. เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก- ดินถล่มใน 17 จังหวัด
25 ก.ค. 2565

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก- ดินถล่มใน 17 จังหวัด จากฝนตกหนักในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ พร้อมติดตามสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาอย่างใกล้ โดยเฉพาะแผนการระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้รายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศวันนี้ (25 ก.ค.65) ว่า ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคใต้ ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมามีฝนตกหนักบริเวณ จ.สุโขทัย 122 มิลลิเมตร , ชัยภูมิ 79 มิลลิเมตร และตราด 74 มิลลิเมตร พร้อมเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก- ดินถล่มในช่วง 1-2 วันนี้ บริเวณ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง น่าน ตาก อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ หนองคาย เลย ชัยภูมิ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง และพังงา ขณะที่ภาพรวมปริมาณน้ำแหล่งน้ำทุกขนาด 45,574 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 56 พร้อมเฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ 3 แห่ง คือ กิ่วคอหมา กิ่วลม และน้ำพุง ทั้งนี้ กอนช. ยังคงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเดินหน้ามาตรการรับมือฤดูฝนปีนี้ต่อเนื่อง อย่างกรมชลประทาน เร่งระบายน้ำในพื้นที่ประสบอุทกภัย ด้วยการติดตั้งเครื่องสูบน้ำระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเลยในบริเวณพื้นที่ อ.เมือง จ.เลย พร้อมเปิดการระบายประตูระบายน้ำปลายคลอง 18-21 เพื่อเร่งระบายน้ำลงสู่แม่น้ำนครนายก เปิดประตูระบายน้ำ 14-17 เร่งระบายลงสู่คลองบางขนากในพื้นที่ อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ยังได้ติดตามสถานการณน้ำพร้อมเฝ้าระวังพื้นที่น้ำหลากและน้ำท่วมฉับพลันจากอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ประกอบกับ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้มีฝนตกหนักและหนักมากบริเวณลุ่มน้ำน่านและลำน้ำสาขา รวมถึง แม่น้ำแควน้อยและแม่น้ำป่าสัก ซึ่งจากการคาดการณ์โดยกรมชลประทานวันที่ 27 กรกฎาคม สถานี C.2 อ.เมืองจ.นครสวรรค์ จะมีปริมาณน้ำไหลผ่านประมาณ 900 - 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และคาดการณ์ปริมาณน้ำจากแม่น้ำสะแกกรังสถานี C.19 มีปริมาณ 150 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้ปริมาณน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยามีปริมาณระหว่าง 1,050 - 1,150 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยกรมชลประทานมีความจำเป็นต้องระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาในอัตราระหว่าง 850 - 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะส่งผลให้พื้นที่ริมน้ำมีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีกประมาณ 60 - 80 เซนติเมตร บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำบริเวณคลองโผงเผงจ.อ่างทอง คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา และบริเวณแม่น้ำน้อย ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา โดยจะไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชน

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือในพื้นที่ 4 จังหวัด คือ พิษณุโลก พิจิตร ลำปาง และอุตรดิตถ์ รวม 6 ลุ่มน้ำ หลังฝนตกหนักต่อเนื่อง พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการป้องกันและบรรเทาปัญหาน้ำท่วมอย่างทันท่วงที

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...