ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
สธ.ขอคืนหนังสือถึงตำรวจ/ทบทวนจับกุมกัญชา
28 ก.ค. 2565

จากกรณีที่ เมื่อวันที่ 26 ก.ค.2565  นพ.ณรงค์ สายวงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ลงนามในหนังสือด่วนที่สุด ที่ สธ ๐๕๑๓.๐๓/๒๕๖๖  เรื่อง การดำเนินคดีกับผู้ไม่ขออนุญาตศึกษาวิจัย หรือส่งออกสมุนไพรควบคุม หรือจำหน่าย หรือแปรรูปสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า ถึงผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ผบ.สตช.)ขอให้ดำเนินการจับกุมผู้ฝ่าฝืนการใช้กัญชาที่เป็นสมุนไพรควบคุมตามพ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2542  ใน 4 กรณีคือ 1. ไม่ขออนุญาตศึกษาวิจัยกัญชา 2. ไม่ขออนุญาตส่งออกกัญชา 3. ไม่ขออนุญาตจำหน่ายกัญชา และ4. ไม่ขออนุญาตแปรรูปกัญชาเพื่อการค้านั้น
     

เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 27 ก.ค.2565 ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.)  นพ.ณรงค์ สายวงค์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) พร้อมด้วยนพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ร่วมกันแถลงข่าวด่วนกรณีดังกล่าว 

นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ตามที่หนังสือดังกล่าวระบุถึงการให้ดำเนินคดีกับผู้ไม่ขออนุญาต 4 กรณีดังกล่าวนั้น เพื่อต้องการคุ้มครองผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี สตรีตั้งครรภ์และสตรีให้นมบุตร จากที่ได้มีการตรวจสอบหนังสือและปรึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้สรุปให้มีการข้อสั่งการให้อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกให้ทบทวนในรายละเอียดประเด็นที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอต่อไป  ทั้งนี้ นำหนังสือฉบับดังกล่าวกลับมาพิจารณาทบทวนอีกครั้ง เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนสูงสุด
     

ด้านนพ.ยงยศ กล่าวว่า  จากการประชุมของอนุกรรมการกฎหมายตามพ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาฯ ซึ่งทางอนุกรรมการกฎหมายได้มีการปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อความสมบูรณ์ในการประกาศให้กัญชาเป็นสมุนไพรควบคุม อาจจะต้องปรับปรุงประกาศกระทรวงสาธารณสุขเพิ่มเติมให้มีความชัดเจนมากขึ้น ใน 4 เรื่อง ได้แก่  1.ประชาชนที่ใช้กัญชาดูแลสุขภาพต้องไม่ได้รับผลกระทบ 2.ไม่มีผลทางกฎหมายกับความผิดที่เกิดขึ้นก่อนที่จะมีประกาศฉบับดังกล่าว

3.ความชัดเจนของการดำเนินการของเจ้าหน้าที่และไม่มีความผิด และ 4.กัญชาเป็นพืชที่มีความสำคัญในการสร้างเศรษฐกิจและคุณค่าทางการแพทย์ การเปิดโอกาสให้กัญชากลับไปเป็นยาเสพติดเหมือนเดิม ถูกด้อยค่า ไม่ควรเกิดขึ้น ฉะนั้น ทางอนุกรรมการฯ เห็นเบื้องต้นว่า ควรปรับปรุงประกาศ สธ.เรื่องสมุนไพรควบคุม (กัญชา) ให้ชัดเจน โดยประเด็นหลัก เช่น ประกาศให้เฉพาะช่อดอกกัญชา เป็นสมุนไพรควบคุม โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่ใช้ประโยชน์จากกัญชาด้วยส่วนประกอบอื่นที่ไม่ใช่ช่อดอก จะสามารถดำเนินการได้ตามปกติ ทั้งนี้ ประกาศจะเป็นตามขั้นตอนคือ ส่งให้ปลัดสธ. และรมว.สาธารณสุข ลงนามเพื่อประกาศใช้ คาดว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จในสัปดาห์หน้า
    

นพ.ยงยศ กล่าวอีกว่า การปรับปรุงประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เดิมกำหนดให้กัญชาเป็นสมุนไพรควบคุม ฉบับปรับปรุง เช่น จะกำหนดให้เฉพาะช่อดอกกัญชาเป็นสมุนไพรควบคุมเท่านั้น  ส่วนราก ใบ กิ่ง ก้าน ต้น ที่ประชาชนนำไปใช้ประโยชน์โดยร้านอาหารหรือผู้ประกอบการที่ไม่ได้ใช้ช่อดอก ซึ่งมีการค้าขายทั้งหมดอยู่ขณะนี้สามารถดำเนินการได้ตามปกติ  และมีการกำหนดปริมาณเหมาะสมที่ครัวเรือนสามารถใช้ประโยชน์จากช่อดอกที่ปลูกไว้ใช้ 10-20 ต้นได้ ซึ่งปริมาณเท่าไร จะมีการหารือร่วมกันอีกครั้ง  เป็นต้น  โดยจะมีการเสนอคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาฯที่มีปลัด สธ.เป็นประธานพิจารณาก่อนเสนอรมว.สธ.ลงนามต่อไป คาดว่าสัปดาห์หน้าจะดำเนินการแล้วเสร็จ
        

 “ส่วนข้อกังวลว่าจะมีการบังคับใช้ จับกุม ขอยืนยันว่าน่าจะยังไม่เกิดขึ้น ยกเว้นผู้ที่วางพันลำขายข้างถนน การผลิตเพื่อให้เสพโดยการสูบ ซึ่งเราชัดเจนว่าเราพยายามขีดวงการใช้กัญชาเพื่อสันทนาการให้มากที่สุด” นพ.ยงยศกล่าว

      ผู้สื่อข่าวถามว่าระหว่างรอประกาศฉบับปรับปรุงนี้  จะมีการดำเนินการจับกุมกับผู้ดำเนิน 4 กรณีตามหนังสือที่ส่งถึงตำรวจก่อนหน้านี้หรือไม่  นพ.ยงยศ กล่าวว่า  ไม่มีเวลาไปจับกุม  เพราะจะกวดขันในการใช้ช่อดอกมาแปรรูปเพื่อเสพ โดยการตักเตือนเฝ้าระวัง ส่วนการส่งหนังสือถึงตำรวจนั้นก็ชัดเจนว่า  ตำรวจจะต้องไปดำเนินการเมื่อได้รับการร้องขอจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญา ฯ  ซึ่งจะเป็น นพ.สสจ. และอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยฯ และผู้ทรงคุณวุฒิของกรมระดับ 8-9 อีกราว 10 คน

     “การสื่อสารมีความชัดเจนว่าให้เจ้าหน้าที่ตำรวจรอการประสานจากพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ช่วยดำเนินการ ทั้งนี้ หากเจ้าหน้าที่ตำรวจพบว่ามีการจำหน่ายกัญชาที่เป็นสิ่งของเฉพาะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ ตัวกฎหมายจึงออกแบบมาว่าจะต้องอาศัยพนักงานเจ้าหน้าที่มีความเชี่ยวชาญระบุว่าเป็นสิ่งต้องห้าม ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจอาจใช้ดุลยพินิจส่วนนี้ไม่ครบถ้วนทางกฎหมาย ฉะนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงต้องได้รับการประสานร้องขอ”นพ.ยงยศกล่าว

เมื่อถามต่อว่าประกาศปรับปรุงเป็นการควบคุมเฉพาะช่อดอก แล้วผู้ประกอบการจะนำมาจำหน่ายได้หรือไม่ นพ.ยงยศ กล่าวว่า สำหรับช่อดอกที่ปริมาณมากวัตถุประสงค์เพื่อจำหน่าย ต้องขออนุญาตตามขั้นตอน โดยผู้จำหน่ายจะต้องมีคุณสมบัติที่กำหนด โดยเป็นรายละเอียดที่ต้องหารือกัน ซึ่งจะมีการออกแบบการขออนุญาตให้สะดวกกับประชาชนมากที่สุด ทั้งนี้ เราจะเปิดฟังความคิดเห็นผ่านระบบออนไลน์เพื่อให้ได้ข้อสรุปในสัปดาห์หน้า

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...