ยุติธรรม ปลดฟ้าผ่า “ชาญเชาวน์'” นั่งผู้ตรวจฯ หลังเกิดกรณีข่าวปลดลูกจ้างชั่วคราว กว่า 2,000 คน ให้ไปปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่งผู้ตรวจราชการพิเศษ สำนักนายกรัฐมนตรี และ ดัน วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ขึ้นแท่นปลัดกระทรวงคนใหม่หากพลิกประวัติดูแล้ว “วิศิษฏ์” นั้น เติบโตมาจากการช่วยงาน “พรรคประชาธิปัตย์” ก่อนจะมารุ่งถึงขีดสุดในยุคของ “พรรคเพื่อไทย” และเคยมีประสบการณ์ในภาคการเงินแถมเคยมีข่าวกรณีสหภาพฯ ออมสิน ทวงเอกสารแสดงรายละเอียดเรื่องการปล่อย ธ.ก.ส.กู้อินเตอร์แบงก์ 5,000 ล้านบาท เมื่อปี 2557 มาแล้ว
ประวัติปลัดกระทรวงยุติธรรมคนใหม่
นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ชื่อเล่น “โจ”
- บิดาชื่อ พ.ต.อ.โดม วิศิษฏ์สรอรรถ รับราชการตำรวจ
- มารดาชื่อ นางวันเพ็ญ วิศิษฏ์สรอรรถ แม่บ้าน
- เกิดเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2508 จ.กรุงเทพมหานคร
- พี่น้องทั้งหมด 4 คน เป็นคนที่ 2 ของครอบครัว
วุฒิการศึกษา
- มัธยมศึกษาโรงเรียนสวนกุหลาบ osk100
- ปริญญาตรีนิติศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับสอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ประกาศนียบัตร เนติบัณฑิตไทย สํานักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิต
- LL.B. (Second Class Honors, Upper Division) University of Wales, United Kingdom
- Barrister-at-Law of Gray's Inn (เนติบัณฑิตอังกฤษ)
ประวัติการรับราชการ
- พ.ศ. 2537-2538 ผู้พิพากษาแขวงสงขลา
- พ.ศ. 2538-2541 ผู้พิพากษาประจำกระทรวง ทำงานธุรการในตำแหน่งรองเลขาธิการส่งเสริมงานตุลาการ สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
- พ.ศ. 2541-2542 ผู้พิพากษาประจำกระทรวง ทำงานธุรการในตำแหน่งรองอธิบดีกรมบังคับคดี
- พ.ศ. 2542-2543 ผู้อำนวยการสำนักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้กระทรวงยุติธรรม (นิติกร 9) กรมบังคับคดี
- พ.ศ. 2543-2546 รองอธิบดีกรมบังคับคดี (นักบริหาร 9)
- พ.ศ. 2546-2551 ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม (นักบริหาร 10)
- พ.ศ. 2551-2553 รองปลัดกระทรวงยุติธรรม (นักบริหาร 10)
- พ.ศ. 2553-2557 อธิบดีกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม
- พ.ศ. 2557-2558 หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กระทรวงยุติธรรม
-พ.ศ. 2559-2560 อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็ก
การดำรงตำแหน่งอื่นในปัจจุบัน
- กรรมการกฤษฎีกา
- กรรมการบริหารกองทุนประกันวินาศภัย
งานด้านวิชาการ
- ศาสตราจารย์พิเศษ สาขากฎหมายธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- กรรมการบัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัย หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อาจารย์พิเศษระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้แก่ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะนิติศาสตร์ และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ