ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
ก.ดิจิทัลฯ แจง ศูนย์ข้อมูล Big Data มีไว้เก็บข้อมูล ไม่ได้มีไว้จับผิด
24 พ.ค. 2560

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ชี้แจงเรื่องการจัดทำศูนย์ข้อมูล Big Data หลังมีการเข้าใจคลาดเคลื่อน ชี้เป็นระบบจัดเก็บและบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อพิจารณาเนื้อหา หรือเว็บไซต์ผิดกฎหมาย หลอกลวงประชาชน ไม่ใช่การจ้องจับผิดประชาชน หรือลิดรอนสิทธิผู้ใด ตามที่มีกระแสในโซเชียลมีเดีย               

 นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า จากกรณีสื่อโซเชียลมีการเผยแพร่ข้อมูลว่ากระทรวงดิจิทัลฯ ได้ออกประกาศจัดซื้อจัดจ้างโครงการจัดทำ “ศูนย์ข้อมูล Big Data” และวิเคราะห์อาชญากรรมเทคโนโลยี เพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน สังคม และความมั่นคงของชาติ โดยโครงการดังกล่าวมีระบบจัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจากโซเชียลมีเดีย ซึ่งจะให้ความสำคัญเรื่องการค้นหาความสัมพันธ์ของผู้ใช้ ความรู้สึกต่อเนื้อหา รวมไปถึงพฤติกรรมในการแชร์ข้อมูล รวมทั้งระบุว่าหน่วยงานตำรวจ กำลังหาเครื่องมือที่จะสามารถตรวจสอบว่าผู้ใดที่เข้าไปอ่านเนื้อหาผิดกฎหมาย เพื่อเข้าไปตักเตือนการกระทำไม่เหมาะสมและมีโอกาสกระทำผิดกฎหมายในอนาคต พร้อมแสดงความเชื่อมั่นว่ามีความเชื่อมโยงกัน จากกรณีนี้ทำให้ผู้ที่เป็นแฟนเพจรวมถึงประชาชนบางส่วนหลงเชื่อ จนมองว่าเป็นการลิดรอนสิทธิประชาชน และตั้งคำถามว่าการใช้เงินงบประมาณในการดำเนินโครงการนี้เหมาะสมหรือไม่นั้น                 

 กระทรวงดิจิทัลฯ ขอชี้แจงว่า โครงการดังกล่าวเป็นการจัดทำระบบจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลจากโซเชียลมีเดีย ซึ่งรับผิดชอบดำเนินการโดยกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ บก.ปอท. ซึ่งปัจจุบันต้องยอมรับว่า หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการกระทำความผิดด้านคอมพิวเตอร์ ยังขาดแคลนเครื่องมือที่ทันสมัย โดยอาศัยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่เท่านั้น ส่วนเรื่องการวิเคราะห์ เฝ้าระวัง แจ้งเตือนผู้ที่ไม่หวังดีจะเข้ามาแสวงหาประโยชน์จากสังคมออนไลน์ เช่น การลงทุนแชร์ลูกโซ่ ภาครัฐได้นำเอาเรื่องของการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data มาปรับใช้ โดยระบบจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว มีคุณลักษณะทั่วไปที่เป็นมาตรฐานตามหลักการในเรื่องการบริหารจัดการข้อมูล นำมาใช้งานได้กับเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ที่มีการเปิดให้เข้าถึงข้อมูลในแบบที่เป็นสาธารณะเท่านั้น                

  สำหรับกรณีหน่วยงานตำรวจ กำลังหาเครื่องมือที่จะสามารถตรวจสอบว่าผู้ใดที่เข้าไปอ่านเนื้อหาผิดกฎหมายเพื่อดำเนินการเอาผิดนั้น อาจมีการอ้างอิงถึง “ศูนย์ข้อมูล Big Data” ตามที่ได้อธิบายข้างต้น จะเห็นว่าระบบดังกล่าว เป็นการขยายขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับเนื้อหาตามเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ที่พบว่าเป็นความผิดตามกฎหมาย ซึ่งสามารถเข้าไปตรวจจับในส่วนของเนื้อหาที่เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าถึงได้เท่านั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องว่าผู้ใดที่เข้าไปอ่านเนื้อหาที่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด แต่หากมีการตรวจพบเนื้อหาที่เป็นความผิดตามกฎหมายแล้ว บุคคลทั่วไปที่เข้าถึงหรืออ่านเนื้อหาดังกล่าว มีการนำเข้า เผยแพร่ หรือส่งต่อเนื้อหาที่เป็นความผิดนั้น จึงถือว่าได้กระทำความผิดตามกฎหมาย                    ทั้งนี้ เรื่องของหลักการ Big Data เป็นการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ซึ่งมีการนำมาใช้ประโยชน์ในทางธุรกิจทั่วไป โดยภาครัฐได้นำมาปรับใช้เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเครื่องมือที่จะใช้ดำเนินการกับผู้ไม่หวังดีในการแสวงหาประโยชน์จากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ ที่เป็นการเผยแพร่สาธารณะ ไม่ใช่เป็นการมุ่งจับผิดเฉพาะบุคคลหรือกลุ่มใด และไม่ใช่การลิดรอนสิทธิของประชาชนแต่อย่างใด ซึ่งการใช้เงินงบประมาณเพื่อดำเนินการเรื่องนี้จึงมีความสำคัญและจำเป็น เพื่อให้สามารถรับมือได้ทันกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและปัญหาอาชญากรรมในปัจจุบัน อีกทั้งจะช่วยลดผลกระทบที่จะมีต่อประชาชนในอนาคต 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...