อะไรก็เกิดขึ้นได้ครั้งแรกในจังหวัดน่าน ไม่เคยมีการจัดขบวนพาเหรดไพรด์ขึ้นในน่านมาก่อนโดยมีภาคีองค์กร นักกิจกรรม ด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศ ความภาคภูมิใจกลุ่มชุมชน LGBTQ+ สมรสเท่าเทียม
เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ที่บริเวณสวนสาธารณะอำเภอเวียงสา กลุ่มเครือข่ายนักกิจกรรมเพื่อความหลากหลายทางเพศ จัดกิจกรรม น่าน Pride ขบวน "ไพรด์พาเหรด" เพื่อผลักดันความเท่าเทียมทางเพศที่จะจัดขึ้นเป็นครั้งแรกใน“Pride Month” ขบวนพาเหรดไพรด์ แสดงความภาคภูมิใจ ประกาศส่งสัญญานแห่งการเปลี่ยนแปลง สร้างความเท่าเทียม เสมอภาค หนุนกฎหมายสมรสเท่าเทียม กฎหมายรับรองอัตลักษณ์ทางเพศสภาพ ที่เกี่ยวกับคำนำหน้านามและสิทธิด้านสวัสดิการกิจกรรม น่าน ไพร์ด พาเหรด ” Pride Month” เดือนแห่งความภาคภูมิใจ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในจังหวัดน่าน ไม่เคยมีการจัดขบวนพาเหรดไพรด์ขึ้นในน่านมาก่อน
โดยมีภาคีองค์กร นักกิจกรรม ด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศ นำโดย ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ สส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และกรรมาธิการกฏหมายคู่ชีวิตและสมรสเท่าเทียม รวมถึงผู้ร่วมงานกว่า 50 คน ร่วมกิจกรรมอย่างคึกคัก
ซึ่งบรรยากาศ การเดินขบวนพาเหรด น่าน Pride ออกเดินจากสวนสาธารณะอำเภอเวียงสา ไปยังลานหน้าสำนักงานเทศบาลเวียงสา เพื่อเป็นการสะท้อนผ่านการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ การแต่งกายและข้อความต่างๆ ด้วยในขบวนจะมีการแสดงจากกลุ่มนักเคลื่อนไหว กลุ่มชุมชน LGBTQ+ โดยการแต่งตัวจะเปิดกว้างรองรับทุกความหลากหลาย หลังจากนั้นในเวลา 18.30 น. ได้ย้ายไปจัดกิจกรรมไปจัดกิจกรรมเสวนาต่อที่ ร้านกาแฟสีเวียงป้อ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
ด้านคุณนันนี่ ตัวแทนคณะทำงานกล่าวถึงเหตุผลที่ต้องจัดงานในครั้งนี้ว่า เป็นการเฉลิมฉลอง ผลักดันให้เกิดความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางเพศ เป็นการยืนยัน ย้ำเตือนถึงการมีอยู่ของ LGBTQ+ ผู้ที่ออกมาเรียกร้องความเท่าเทียมทางเพศ และแสดงถึงความภาคภูมิใจในตัวเอง ผ่านขบวนที่ประดับประดาไปด้วยสีสันฉูดฉาด จัดจ้าน และธงสีรุ้ง สัญลักษณ์สำคัญของชุมชนผู้มีความหลากหลายทางเพศ งานนี้ไม่ใช่งานของเกย์ กะเทย และ LGBTQ+ เท่านั้น แต่ยังหมายถึงความภาคภูมิใจในทุกๆ อย่างที่เป็นเรา ไม่ว่าจะมีเพศใด เชื้อชาติไหน มีความเชื่อทางศาสนาแบบใด และมีอาชีพอะไร เราไม่จำกัดความ ใครที่ต้องการให้ผู้คนเห็นตัวตนของคุณ ก็แสดงออกผ่านขบวนไพรด์ได้ตามใจ
ทั้งนี้การจัดงานขบวนไพรด์ ถูกหลายกลุ่มมองว่า เป็นต้นเหตุของการเกิดการแพร่ระบาดของโรงฝีดาษลิง จนถูกตราหน้าในสังคมว่าเป็นต้นเหตุนั้น ทางด้านการแพทย์ ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า หากมั่นใจว่าไม่ได้ใกล้ชิดผู้ที่อาการป่วย ออกผื่นก็ไม่น่ากังวล แต่หากใกล้ชิดกันโดยไม่ได้สังเกต ก็เป็นความเสี่ยง ฉะนั้นหากพบผู้ที่มีอาการผื่นก็ขอให้พามาตรวจที่โรงพยาบาล เพื่อยืนยันว่าไม่ใช่โรคฝีดาษลิง ทั้งนี้ ระยะฟักตัวของโรคคือ 5-21 วัน ดังนั้นหากจะเฝ้าระวังตัวเองก็ต้องอย่างน้อย 3 สัปดาห์หลังจากความเสี่ยงนั้นๆ อาการเบื้องต้น 10 วันแรกจะเป็นไข้ หลังจากนั้นจะเป็นผื่นขึ้น ก็ขอให้รับการตรวจที่โรงพยาบาลเพราะโรคฝีดาษลิงไม่ใช่โรคติดต่อจากระบบทางเดินหายใจ แต่ติดจากการสัมผัสสารคัดหลั่งแบบใกล้ชิด เช่น การกอด การจูบ ฉะนั้นคนทั่วไปที่เดินผ่านคนมีอาการผื่น ก็ไม่มีความน่ากังวล เพียงแต่เดินห่างๆ ก็พอ เพราะระยะแพร่เชื้อส่วนใหญ่จะเป็นช่วงที่ออกผื่นแล้ว
เมื่อสอบถามคุณบันนี่ เรื่องคิดเห็นอย่างไรที่กลุ่ม LGBTQ+ ถูกตกเป็นจำเลยของการแพร่ระบาดของโรงฝีดาษในลิง คุณบันนี่ ตอบว่า ความรู้สึกส่วนตัว มองว่าเป็นการผลักความรับผิดชอบไปให้แค่คนกลุ่มเดียว ซึ่งโรคฝีดาษลิงไม่ใช่จะกำหนดไว้ว่า มันจะเป็นได้เฉพาะเพศเราอย่างเดียว ที่จะต้องเป็นตัวนำเชื้อนำพาหะ ในความรู้สึกของเราคิดว่า เปลี่ยนจากการกล่าวหาว่าเราเป็นผู้แพร่เชื้อ มาช่วยกันรณรงค์ไม่ให้เกิดจะดีกว่า ตรงนี้ทุกคนมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ปัญหาจะดีกว่า
ทีมข่าว จ.น่าน