ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
วิกฤติสื่อใหม่ “ฆ่า” สื่อเก่า
25 พ.ค. 2560

ปัจจุบันที่รุกคืบสื่อใหม่เข้ามาขยายพื้นที่ในชีวิตประจำวันของผู้คนกันมากขึ้น และมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนยุคดิจิตอลมากขึ้น ที่เปลี่ยนแปลงวิธีการสื่อสารรูปแบบเดิมๆ ที่คุ้นชินกันอย่าง โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร แผ่นพับ โบชัวร์  บิลบอร์ด ใบปลิว มาเป็น สื่อใหม่ ๆ อย่าง Facebook , Twitter , Youtube,  Digital magazine , หรือนิวมีเดียต่างๆ ที่กำลังขับเคลื่อนพลังผู้บริโภคให้เข้ามามีส่วนกำหนดทิศทางของธุรกิจต่างๆ อย่างทุกวันนี้  ว่าจะกลายเป็นสื่อที่เปิดอีกมิติหนึ่งของโลกยุคใหม่หรือเปล่า เมื่อกติกาเปลี่ยน บริบทโลกใหม่ทุกวันนี้ กำลังเข้าสู่ยุค Digital Media ที่ทรงอิทธิพลและเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยแรงกระเพื่อมของพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีส่วนกำหนดทิศทางของเสียงมหาชนผ่านเครื่องมืออย่าง สมาร์ทโฟน แทบเลต ที่รวดเร็วในการแชร์ หรือรับชม

ในอดีตสื่อโทรทัศน์เป็นสื่อเก่าที่มีการผูกขาดทางอำนาจสื่อไว้มากที่สุด เพราะสื่อสารผ่านทั้งภาพและเสียง และแพร่หลายกระจายเข้าไปยังเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ  สามารถใช้เป็นตัวแทนของสื่อเก่าที่สื่อสารทางเดียวไปสู่ผู้บริโภคอย่างเห็นได้ชัด  แม้ว่าสถานีโทรทัศน์จะปรับตัวให้ผู้บริโภคสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับรายการได้มากขึ้น เช่น การส่งข้อความเข้าไปร่วมพูดคุยในรายการ  การร่วมตอบคำถามเพื่อชิงของรางวัล  แต่ปฏิสัมพันธ์เหล่านั้นก็ถือว่าเปิดโอกาสน้อยมากสำหรับผู้บริโภคที่มีจำนวนมหาศาล  สามารถเข้าถึงได้ยาก และกลไกการทำงานก็ไม่มีการเปิดเผยที่ชัดเจน  นอกจากนั้นยังมีความผูกพันกับผลประโยชน์ด้านการค้าอย่างแนบแน่น วัดจากปริมาณโฆษณาที่ออกอากาศ  ดังนั้นการบริโภค ข่าวสารทางสื่อโทรทัศน์  ผู้บริโภคจึงไม่มีโอกาสแสดงความเห็นต่าง เป็นเพียงผู้รับสารเท่านั้น 

แต่โลกในปัจจุบันเป็นยุคที่เทคโนโลยีการสื่อสารเปิดกว้าง มนุษย์สร้างสรรค์เครื่องมืออิเล็กทรอนิคต่างๆ ขึ้นมารองรับความสะดวกสบายมากมาย เช่น สมาร์ทโฟน แทปเลต  เครื่องมือเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ใช้อุปกรณ์เหล่านี้มีทางเลือกในการเสพข่าวสารหลากหลายช่องทางมากขึ้น  โดยเฉพาะข้อมูลที่สื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต พื้นที่ของสื่ออินเตอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้สื่อใหม่กลายเป็นสื่อที่มีอิทธิพลด้วยฐานผู้ใช้ที่มีจำนวนมาก  สามารถส่งต่อข้อมูลและแสดงความคิดเห็นอย่างรวดเร็ว เปิดกว้าง  เทคโนโลยีสามารถทำลายเส้นแบ่งของบริบททางพื้นที่และเวลาลงได้  อีกทั้งในปัจจุบันอยู่ในยุคของ “การหลอมรวมสื่อ” Media Convergence ที่มีพัฒนาการไปถึงระดับที่สามารถรวมหน้าที่การทํางานในการสื่อสารต่างๆไว้ในอุปกรณ์เดียวกัน อุปกรณ์สื่อสารหนึ่งๆสามารถทําการสื่อสารได้มากกว่าหนึ่งหน้าที่ และบรรจุสาระเนื้อหา Contents ได้มากกว่าหนึ่งประเภท เช่น ผู้บริโภค สามารถดูรายงานข่าวโทรทัศน์กระจายเสียงได้จากสมาร์ทโฟน และส่งอีเมล์ไปหาเพื่อนที่เดินทางไปต่างประเทศได้ เป็นต้น  การหลอมรวมเข้าด้วยกันของสื่อจึงส่งผลให้การแบ่งแยกประเภทของสื่อใหม่ในปัจจุบันทําได้ยากยิ่งขึ้น  ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ด้วยตัวเองอย่างง่ายดาย หรือแม้แต่ในมิติของการโฆษณาสินค้าของบริษัทต่างๆ ก็เริ่มหันมาสื่อสารการตลาดผ่านอินเตอร์เน็ตมากขึ้น เพราะใช้ต้นทุนน้อย  สามารถสื่อสารไปยังผู้บริโภคได้โดยตรงและวัดผลได้ง่าย 

และจากท่ามกลางกระแสข่าวในช่วงที่ผ่านมาสถานีโทรทัศน์ดิจิตอลหลายแห่งมีผลประกอบการขาดทุนและภาวะเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมยังไม่ดีขึ้นส่งผลต่อกิจการของสถานีโทรทัศน์ในอนาคตมากยิ่งขึ้น ยังไม่นับรายการข่าว ที่แทบไม่แตกต่างอะไรกับช่องฟรีทีวี ที่ไม่มีไม่มีการนำเสนอเนื้อหาประเด็นแหลมคม หรือประเด็นผลประโยชน์สาธารณะ ทำให้ประชาชนเบื่อและแสวงหาช่องใหม่ๆ ในการชมรับชม รวมทั้งการปิดตัวของสิ่งพิมพิมพ์บางฉบับหรือการปลดพนักงานเพื่อลดต้นทุนองค์กรเพื่อความคล่องตัวในการบริหารงาน และการเปลี่ยนบทบาทจากสื่อสิ่งพิมพ์สู่การเป็นสำนักข่าวออนไลน์

ล่าสุดสำนักข่าวอิศรา ระบุว่า บริษัท ทริปเปิลวีบรอดคาสต์ จำกัด เจ้าของสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี มีนโยบายดำเนินโครงการลาออกด้วยความสมัครใจผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการฯ นั้น ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจเป็นผู้พิจารณาอนุมัติการเข้าร่วมโครงการของพนักงาน โดยผลการพิจารณาของประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจถือเป็นที่สิ้นสุด และเป็นข้อยุติพนักงาน ไม่สามารถขออุทธรณ์ หรือขอให้ทบทวนผลการพิจารณา ซึ่งพนักงานที่ได้รับการอนุมัติจากประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจให้ออกตามโครงการแล้ว และถอนเรื่องคืนหรือยกเลิกไม่ได้โดยตั้งเป้าลดพนักงานร้อยละ 15 จากจำนวนพนักงานทั้งหมดประมาณ 700 คน

ประกอบกับข้อมูลสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) หรือ DAAT ที่เผยตัวเลขเม็ดเงินโฆษณาปี 2559 สื่อดิจิทัลอยู่ที่  9,150 ล้านบาท เติบโตจากปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ 8,084 ล้านบาท สถานการณ์ดังกล่าว ตรงกันข้ามกับ “สื่อสิ่งพิมพ์” ที่กำลังเผชิญกับภาวะถดถอยอย่างชัดเจน โดยการใช้จ่ายเงินผ่านสื่อ “หนังสือพิมพ์” ติดลบ 20% ขณะที่ “นิตยสาร” ติดลบ 31.4%

 

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...