ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คอลัมนิสต์ประจำอปท.นิวส์ ย้อนกลับ
ปฏิวัติความยั่งยืนของแฟชั่นสิ่งทอ
18 ส.ค. 2565

#CSRcontentโดย มนวิภา จูภิบาล กรรมการบริษัท วีอาร์ทวินส์ จำกัด

ปฏิวัติความยั่งยืนของแฟชั่นสิ่งทอ

มองไปข้างหน้าเมื่อผู้บริโภคสายแฟชั่นมีคำถามว่า เราจะแต่งตัวอย่างไรให้รู้สึกปลอดภัย แทนที่จะถามว่า จะแต่งอย่างไรให้ดูดี 

McKinsey Global Institute พูดคุยกับ Edwin Keh, CEO ของสถาบันวิจัยสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของฮ่องกง (The Hong Kong Research Institute of Textiles and Apparel) ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2016 สถาบันได้รับรางวัลจากผลงาน Garment recycling และผลงานเส้นด้ายที่สามารถจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศ Edwin Keh มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคยทํางานให้กับสํานักงานข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติสําหรับผู้ลี้ภัย (UNHCR) และมีประสบการณ์ยาวนานในธุรกิจค้าปลีกกับ Walmart และ Donna Karan 

Edwin Keh กล่าวว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องแต่งกายและแฟชั่น เป็นหนึ่งอุตสาหกรรมที่มีโลกาภิวัตน์มากที่สุด มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย มีการใช้เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ มีแนวโน้มใหม่ๆ และมีการเคลื่อนไหวทางสังคม นอกจากนั้น ยังมีห่วงโซ่อุปทานยาวมาก ทำให้ต้องคิดหนักว่าจ ะย่อห่วงโซ่นี้ให้สั้นลงได้อย่างไรเพื่อให้มีความยั่งยืนมากขึ้น 

จากข้อมูลของ MacArthur Foundation อุตสาหกรรมแฟชั่นสิ่งทอใช้น้ำมากพอๆ กับปริมาณการใช้น้ำของคน 5 ล้านคน และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ในแต่ละปีเท่ากับ 10% ของโลก มากกว่าเที่ยวบินระหว่างประเทศและการขนส่งทางทะเลทั้งหมด นอกจากนั้น ยังทำให้เกิดน้ำเสียในขั้นตอนของกระบวนการผลิต มีตัวเลขที่บ่งว่า หนึ่งอุตสาหกรรมจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 5 gigatons ต่อปี บางรายก็สูงกว่า ขึ้นอยู่กับการจัดการห่วงโซ่อุปทานทำได้ดีแค่ไหน ซึ่งอยู่ที่ประเภทของวัสดุ วัสดุ วิธีและกระบวนการผลิต และจุดที่ใหญ่ที่สุดคือ การขนส่งผลิตภัณฑ์ เมื่อเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นที่ปล่อยมลพิษมากเช่นกัน จะเห็นว่าความจำเป็นไม่เท่ากัน “คุณคงไม่แข็งตายในหน้าหนาวหากไม่ได้ซื้อแจ็คเก็ตใหม่”   

อุตสาหกรรมดังกล่าว ยังเปลี่ยนแปลงได้ยากและช้า เนื่องจากมีความเป็นอนุรักษ์นิยม และตัวอุตสาหกรรมเองก็พยายามหวนคืนสู่ความรุ่งโรจน์บางอย่างในอดีต Edwin Keh กล่าวถึงแบรนด์แฟชั่นหรูที่พูดด้วยความภาคภูมิใจว่า "เราไม่ได้เปลี่ยนซัพพลายเออร์มาสามชั่วอายุคน" หรือ "เราทําสิ่งนี้มาตลอด" นอกจากนั้น ยังมีความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้ผลิตภัณฑ์แฟชั่นและแบรนด์แฟชั่นและนักออกแบบ ในช่วงปี 1990 นักออกแบบชี้นำผู้บริโภคว่าอะไรสวยอะไรงาม นิตยสารแฟชั่นบอกเราถึงการแต่งกายที่ควรจะเป็น ซึ่งเป็นลักษณะ Top down แต่วันนี้ แฟชั่นเป็นลักษณะ Bottom up ผู้บริโภคกำหนดรูปแบบเองตามกระแสสังคมที่บอกต่อหรือลอกเลียนแบบต่อๆ กันมา อย่างไรก็ตาม ยังคงมีภาพลวงตาที่อยากจะรักษาอุตสาหกรรมแบบเก่านี้ไว้ เนื่องจากวิธีการเดิมเคยใช้ได้ผลดีหรือยังทํากําไรได้มากพอ ทำให้ไม่อยากเริ่มการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่  

ตัวอย่างความสำเร็จของสถาบันที่พยายามสร้างอุตสาหกรรมแฟชั่นสิ่งทอให้มีความยั่งยืน

  • โครงการ Garment-to-Garment  เป็นธุรกิจค้าปลีกรีไซเคิล ร้านแรกเปิดในปี 2019 ลูกค้าจะนำเสื้อผ้าเก่ามาที่ร้าน

ร้านจะเปลี่ยนเป็นเส้นใย และถักทอเป็นเสื้อใหม่คืนให้

  • โครงการเซลลูโลสรีไซเคิล ต้องการมองหาทางออกในอนาคต โดยใช้วัสดุสิ่งทอที่มีโปรตีนเป็นฐานทดแทนวัสดุ

จากปิโตรเลียม เซลลูโลสรีไซเคิลเป็นโพลิเมอร์ที่ดูดซับน้ำได้ดีเยี่ยมประมาณ 30 เท่าของตัวเอง แล้วปล่อยออกมาซ้ำแล้วซ้ำอีก   ใช้ใส่ต้นฝ้ายเพื่อบำรุงราก วัสดุนี้จะดึงความชื้นเข้ามาจากสภาพแวดล้อมโดยรอบ จัดเก็บและคายออกในเวลาที่เหมาะสม ทำให้คุณภาพของเส้นใยฝ้ายดีกว่าและผลผลิตต่อพื้นที่ก็ดีกว่าเดิม การพัฒนาขั้นต่อไปคือการเพิ่มสารอาหารลงในพอลิเมอร์เพื่อแทนที่ปุ๋ย

  • โครงการเสื้อยืดกินคาร์บอน (T-shirt that “eats” carbon from the air) ซึ่งได้รับความสนใจจาก Fotografiska,

Swedish Museum นำเสื้อยืดนี้ไปใช้เป็นเครื่องแบบพนักงานในร้านอาหารที่กรุงสต๊อกโฮมล์ ผ้าฝ้ายพิเศษนี้ซึมซับคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ในอากาศได้ถึง 1 ใน 3 ของที่ต้นไม้ดูดซึมได้ ขั้นตอนต่อไปคือ การพัฒนาผงซักฟอกที่ทำให้คาร์บอนจากเสื้อปล่อยออกมาในรูปของแข็ง นอกจากนั้น คาร์บอนในเสื้อจะถูกปล่อยออกมาเมื่อถูกความร้อนด้วย ดังนั้น ในตอนกลางคืน เมื่อเอาเสื้อไปไว้ในเรือนกระจกที่ปิด ความร้อนจะทำให้คลายคาร์บอนออกมาเป็นอาหารของต้นไม้ ในตอนกลางวันก็กลับมาใช้กักคาร์บอนในอากาศได้อีกหมุนเวียนกันไป

5 ปีก่อน แนวคิดในการลงทุนเพื่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมแฟชั่นสิ่งทอยังเป็นแค่งาน CSR แต่วันนี้ เป็น Zero- sum game  ธุรกิจจะเลือกทำหรือไม่ทำ เมื่อ trend ของผู้บริโภคเป็นแบบนี้  “I want to be greener in my consumption, in the choices I make.”

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...