นายภัทรพงศ์ เทพา ผู้ช่วยผู้ว่าการนโยบายการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยในการงานสัมมนา “วิจัยพลังงานสู่การใช้งานอย่างยั่นยืน ปี 3” ภายใต้เทคโนโลยีเปลี่ยนพลิกโหมระบบสาธารณูปโภคไฟฟ้า ว่าการจัดหาพลังงานไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการเพื่อนำไปใช้พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตลอดจนการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนซึ่งจะต้องเลือกใช้แหล่งพลังงานและเทคโนโลยีในการผลิตไฟฟ้าที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพแล้วยังจำเป็นต้องคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะมีผลต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพและความเป็นอยู่ของชุมชนอย่างรอบคอบ ดังนั้น กฟผ.จึงเห็นคามสำคัญของการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ในการนำไปพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานรวมไปถึงเทคโนโลยีที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการประหยัดพลังงานหรือการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้การวิจัยด้านเทคโนโลยีแล้วการวิจัยเชิงนโยบายเพื่อให้ได้แนวทางและกลยุทธ์ที่เหมาะสมสำหรับนำไปใช้การวางแผนและบริหารจัดการมาตรการต่างๆ ที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการทำให้เทคโนโลยีพลังงานที่นำมาใช้นั้น มีความเหมาะสมมีความยั่งยืนต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอีกทั้งมีความเป็นธรรมต่อทุกภาคส่วนในสังคม
นายภัทรพงศ์ กล่าวว่า กฟผ.ตระหนักถึงความสำคัญของการบูรณางานวิจัยเพื่อให้ได้ผลงานวิจัยที่สามารถนำไปสู่การใช้งานจริงจึงได้ร่วมหารือกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ร่วมกันจัดตั้ง “โครงการร่วมสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนา กฟผ.-สกว.นี้ขึ้น ตั้งแต่ปลายปี 2554 และได้เริ่มต้นให้การสนับสนุนโครงการวิจัยประมาณกลางปี 2555 จนถึงปัจจุบัน รวมเป็นเงินประมาณ 100 ล้านบาท ซึ่งแต่ละปีจะต้องมีประมาณ 40 ล้านบาทในการบริหารจัดการโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนด้วย
โดยมีโครงการวิจัยทั้งสิ้นจำนวน 31โครงการและได้ดำเนินงานเสร็จสมบูรณ์แล้วกว่า 20 โครงการและยังมีอีก10โครงการอยู่ระหว่างการดำเนินการ ได้แก่ พลังงานน้ำ พลังงานลมพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวล ถ่านหินเทคโนโลยีสะอาด
พลังงานนิวเคลียร์ ประสิทธิภาพพลังงานในอาคารการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์ ประสิทธิภาพพลังงานมอเตอร์ ประสิทธิภาพพลังงานในภาคขนส่งและการสร้างความเข้าใจและสาธารณประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน เป็นต้น
สำหรับในปีนี้ได้ร่วมมือการจัดเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งจะเน้นการสัมมนาหารือกันและร่วมกันหาหัวข้อโจทย์วิจัยในเรื่องการวิจัยพลังงานสู่การใช้งานจริงภายใต้ภาวการณ์เปลี่ยนแปลงพลิกโฉมระบบสาธารณูปโภคไฟฟ้าเพื่อสร้างแนวคิดหรือเตรียมพร้อมให้งานวิจัยที่จะดำเนินการต่อไปมีความทันสมัย
ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างเท่าทันทั้งทางด้านพลังงาน เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม รวมทั้งแผนและนโยบายในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว