ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
ดีพร้อม ปั้นอาชีพดีพร้อม สร้างฐานรากยั่งยืน กระตุ้น ศก. กว่า 1.2 หมื่น ลบ.
26 ส.ค. 2565

ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) คิกออฟโปรเจคยักษ์เพื่อการเสริมรากฐานความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจฐานราก ผ่านโครงการพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม หรือ อาชีพดีพร้อม ซึ่งได้รับการจัดสรรจากงบประมาณกลาง 1,249 ล้านบาท ผ่านการฝึกอบรมทักษะอุตสาหกรรมระยะสั้น 4 หลักสูตร ขยายผลความสำเร็จจาก 7 จังหวัดนำร่อง สู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศภายในปี 2565 คาดว่าจะก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมากกว่า 12,000 ล้านบาท

ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเป็นวงกว้างอย่างต่อเนื่องกว่า 3 ปี โดยนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM)เร่งเยียวยาผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งหนึ่งในแนวทางช่วยเหลือสำคัญ คือ การพัฒนาอาชีพเสริม เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่คนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบ และล่าสุดคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบในหลักการและอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2565 งบกลางรายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นวงเงินงบประมาณ 1,249 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม หรืออาชีพดีพร้อม ในพื้นที่ทั่วประเทศ จำนวน 700,000 คน ใน 400 ชุมชน โดยดีพร้อมจะเดินหน้าจัดฝึกอบรมระยะสั้นตลอดเดือนสิงหาคม-กันยายน 2565 เป็นจำนวน 4 หลักสูตร ประกอบด้วย

• หลักสูตรการพัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการผลิต เพื่อเป็นอาชีพเสริมและเพิ่มรายได้ให้แก่คนในชุมชนที่ต้องการพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ โดยมีวิธีการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการในแต่ละพื้นที่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 หมวด คือ หมวดที่1 ลดรายจ่าย อาทิ น้ำยาซักผ้าน้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างจาน สบู่เหลว ไม้กวาดดอกหญ้า ไม้กวาดทางมะพร้าว และหมวดที่ 2เพิ่มรายได้ อาทิ การเพาะเห็ด การสกรีนกระเป๋าผ้า การทำไข่เค็ม การทำเหรียญโปรยทาน

• หลักสูตรการพัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการบริการ เพื่อเป็นอาชีพเสริมและเพิ่มรายได้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นช่างชุมชน หรือประกอบเป็นอาชีพเดิมอยู่แล้ว รวมถึงบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจพัฒนาทักษะให้เกิดความเชี่ยวชาญในวิชาชีพเฉพาะทาง อาทิ กลุ่มอาชีพช่าง (ซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซ่อมรถ ซ่อมแอร์ ฯลฯ) กลุ่มอาชีพบริการ (ช่างเย็บผ้า ช่างตัดผม เชฟชุมชน ฯลฯ)

• หลักสูตรการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ในการสร้างคุณค่าและเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์มีความโดดเด่น น่าสนใจ สอดรับกับความต้องการของตลาด มีความเหมาะสมกับการขนส่ง เพื่อจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์และสามารถกระจายสินค้าและบริการได้อย่างกว้างขวาง  

• หลักสูตรการพัฒนาต่อยอดทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจ เกี่ยวกับการบริหารจัดการเงินและการประกอบธุรกิจ อาทิ การบริหารจัดการเงินในภาคครัวเรือน/ภาคธุรกิจ การจัดทำแผนธุรกิจการบัญชี การตลาดการตลาดออฟไลน์และออนไลน์ สร้างแบรนด์ ลดต้นทุน พิชิตหนี้ และอื่น ๆที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันให้กับกลุ่มเป้าหมายและบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ เพื่อเป็นการพัฒนาต่อยอดทักษะที่จำเป็นในการประกอบธุรกิจ และเป็นการสร้างโอกาสให้เกิดผู้ประกอบการธุรกิจใหม่ในชุมชน โดยหลักสูตรทั้งหมดจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างการมีรายได้เสริมอย่างมั่นคงให้กับชาวชุมชนอีกทั้งยังเป็นการขับเคลื่อนและฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากของประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งคาดการณ์ว่าจะก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมากกว่า 12,000 ล้านบาท

ดร.ณัฐพล กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อให้โครงการเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ดีพร้อม ยังได้พัฒนา job.dipromเป็นระบบการรับสมัครสำหรับประชาชนเข้าร่วมโครงการที่สามารถรองรับการสมัครได้เป็นจำนวนมาก พร้อมระบบการจัดเก็บและการบริการจัดการข้อมูล (BIG DATA) สำหรับการรวบรวมและติดตามผลการดำเนินงานซึ่งนอกจากจะสะดวกต่อการประเมินผลแล้ว ยังสามารถใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับการพัฒนาโครงการต่าง ๆของดีพร้อมในอนาคต เพื่อให้การส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และวิสาหกิจชุมชน เป็นไปอย่างเต็มศักยภาพซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ ดีพร้อม ได้เดินหน้า “โครงการพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม” ในหลักสูตรการพัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการผลิต ในพื้นที่ชุมชนเขตคลองสาน กรุงเทพฯ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว จำนวนทั้งสิ้น 400 คน

ทั้งนี้ โครงการพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อมทั่วประเทศในครั้งนี้ เกิดขึ้นจากความสำเร็จจากการดำเนินงานระยะนำร่องในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท ชลบุรี สงขลา และยะลา ซึ่งประสบความสำเร็จสามารถบรรเทาปัญหาการขาดแคลนรายได้จากการว่างงาน เพิ่มทักษะองค์ความรู้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว รวมทั้งเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากต้นทุนวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนให้สามารถนำไปประยุกต์เป็นอาชีพเสริม เพิ่มรายรับในครัวเรือน ส่งผลให้เศรษฐกิจในพื้นที่เกิดการฟื้นตัวอย่างเป็นรูปธรรม ดร.ณัฐพล กล่าวทิ้งท้าย ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดโครงการได้ที่ กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริม

อุตสาหกรรม โทรศัพท์ 0 2430 6882 หรือสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารและความเคลื่อนไหวได้ที่ www.facebook.com/dipromindustry www.diprom.go.th

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...