ปลัดกระทรวงเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยภาพรวมวาระงานกระทรวงเกษตรฯ 5 ด้าน โดยทุกด้สนมุ่งให้เกษตรกรมีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พร้อมนำแผนที่บริหารจัดการด้านการเกษตรเชิงรุกหรือที่เรียกว่า Agri-map มาเป็นตัวช่วยนำทิศทางให้มีการปลูกพืชที่เหมาะสมกับคุณภาพดินในบริเวณนั้นๆ เพื่อสร้างความสมดุล
นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เปืดโอกาศให้ อปท.นิวส์สัมภาษณ์พิเศษถึงวาระงานเร่งด่วนต่างๆ ตามนโยบายที่ได้รับมอบหมายมาให้ปฏิบัติว่า อยากจะขอพูดถึงในภาพรวม ซึ่งรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการทำการเกษตรเป็นอย่างยิ่ง เพราะเหตุสินค้าหลักที่นำไปสู่เรื่องการสร้างรายได้ของประเทศก็คือ สินค้าเกษตร ไม่ว่าจะเป็น พืช ปศุสัตว์ ประมง และตัวสินค้าเหล่านี้ก็มาจากพี่น้องเกษตรกร ดังนั้น นายกรัฐมนตรีจีงได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตร วางแผนในส่วนของการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องเกษตรกร
“ท่านรัฐมนตรว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ ก็เลยมามองในภาพรวมของการแก้ไขปัญหาจากอดีตที่อาจจะมีปัญหาหลายๆ อย่างที่สะสมกันมา เนื่องจากปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ หรือรวมทั้งผลิตสินค้าเกษตรไม่มีคุณภาพ พี่น้องเกษตรมีหนี้สิน เป็นต้น รวมถึงเรื่องอากาศที่ควบคุมไม่ได้ไม่ว่าจะเป็น ฝนแล้ง หรือน้ำท่วม”
ดังนั้น จากภาพรวมตรงนี้เอง จึงทำให้ต้องมาวางวางยุทธศาสตร์ในการทำงาน 20 ปี แกเป็น 5 ด้าน ด้านแรกก็คือยุทธศาสตร์ในเรื่องของการพัฒนาเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง ยุทธศาสตร์ที่ 2 เป็นการยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรให้สูงขึ้น ในยุทธศาสตร์ที่ 3 เป็นเรื่องของการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการยกระดับสินค้าเกษตร ในยุทธศาสตร์ที่ 4 เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญอันหนึ่งที่แนวโน้มทั่วโลกเฝ้ามองอยู่ คือเรื่องการทำเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์ที่ 5 คือเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารจัดการในภาครัฐ เพราะฉะนั้น ทั้ง 5 เรื่องเหล่านี้จะนำไปสู่เรื่องการทำให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น มีสภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ปลัดกระทรวงเกษตร เปิดเผยต่อไปว่า จริงๆ แล้วในภาพรวมของตัวนโยบายที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตฯ ได้วางไว้ จะมีเรื่องของการส่งเสริมให้ความรู้กับพี่น้องเกษรกรผ่านศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หรือ เรียกย่อๆ ว่า ศพก. ซึ่งมีอยู่ 882 แห่งทั่วประเทศ แล้วศูนย์นี้คนที่ดำเนินการคือเกษตรกรต้นแบบที่เป็นผู้ประสบความสำเร็จที่เกษตรกรด้วยกันเองให้ความเชื่อถือ โดยเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรจะเข้าไปเพียงเป็นผู้สนับสนุน เพราะฉะนั้นเกษตรกรที่เข้ามาในศูนย์เรียนรู้ก็จะได้ความรู้ไปสับเปลี่ยนในการทำเกษตรต่อไป
“ในส่วนที่ 2 ก็มองไปถึงการทำเกษตรแปลงใหญ่ ซึ่งท่านรัฐมนตรีได้มองไว้ว่า การทำเกษตรแปลงใหญ่จะนำไปสู่การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ลดต้นทุนปัจจัยการผลิต และเพิ่มผลิตต่อหน่วยต่อไร่ ซึ่งตรงนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราให้ความสำคัญ นอกจากเกษตรแปลงใหญ่แล้ว ก็จะมีเรื่องของการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรที่อาจจะผลิตได้ในเกษตรแปลงใหญ่ หรือเกษตรแปลงย่อยอื่นๆ จะต้องยกระดับให้มีมูลค่าสูงขึ้น ก็โดยทำในเรื่องของเกษตรอินทรีย์หรือเกษตรปลอดภัยขึ้นมา” นายธีรภัทร กล่าว พร้อมกับกล่าวต่อไปว่า
อีกส่วนหนึ่งที่ดำเนินการก็คือ ในเรื่องการทำการเกษตรในพื้นที่แปลงใหญ่ หรือเกษตรในรูปแบบพื้นที่ต่างๆ เหล่านี้ ปรากฎว่าในภาพรวมของพื้นที่ทั้งประเทศ 320 กว่าล้านไร่ เป็นพื้นที่ๆ อยู่ในเขตชลประทานประมาณ 30 กว่าล้านไร่เท่านั้นเอง จากพื้นที่เกษตร 149 ล้านไร่ แสดงว่ายังมีพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมอยู่อีกเยอะ เพราะฉะนั้นจะมีการนำเอานวตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ ผ่านแผนที่บริหารจัดการด้านการเกษตรเชิงรุกหรือที่เรียกว่า Agri-map ก็จะเป็นตัวช่วย เป็นทิศทางนำให้มีการปลูกพืชที่เหมาะสมกับคุณภาพดินหรือพื้นที่ตรงนั้น ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นอีกส่วนหนี่งที่นำไปสู่การปลูกพืชที่เหมาะสมกับพื้นดินและความต้องการตลาด
ต่อข้อถามถึงเรื่อง สินเชื่อเกษตรแปลงใหญ่เป็นอย่างไรบ้าง นสยธีรภัทร กล่าวว่า ตอนนี้เรื่องสินเชื่อเกษตรแปลงใหญ่ ซึ่งรัฐบาลได้วางแผนไว้โดยผ่านทาง ธ.ก.ส. (ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์)ในโครงการหนึ่งประมาณ 10 ล้านบาท ดอกเบี้ยน้อยมาก ซึ่งตอนนี้น่าจะได้ไปร่วม 100 แปลง โดยเป็นการวางแผนให้กับแปลงใหญ่ทั้งหมด โดยบางแปลงอาจจะใช้เต็มวงเงิน บางแปลงอาจจะยังใช้ไม่ถึง ซึ่งมาถึงปัจจุบันนี้เกษตรกรที่สนใจยังสามารถรวมกลุ่มจัดทำโครงการกันเข้ามาขอสินเชื่อได้
ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ยังตอบข้อสักถามถึงนโนบายเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการขณะนี้ด้วยว่า มีเรื่องต้องดำเนินการอยู่เยอะมาก เพราะเป็นทั้งงานที่เกี่ยวข้องกับพี่น้องเกษตรกร รวมถึงพี่น้องประชาชนอื่นๆ ด้วย พูดแบบกว้างๆ คือ เป็นการแก้ไขปัญหาที่สะสมทำกันมานานแล้ว อาทิเช่น เรื่องแรกก็คือ เรื่องของการทำประมงที่ผิดกฎหมาย อันนี้ก็ได้มีการดำเนินการตามแผนการที่วางไว้แล้ว ต่อมาก็เป็นเรื่องของการจัดระบบของนมโรงเรียน ทำให้นมมีคุณภาพสูงขึ้น มีการจัดสรรที่เป็นธรรม ทำให้เด็กได้รับนมที่มีคุณภาพดี
นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีเรื่องของการทำอย่างไรให้สินค้าเกษตร มีคุณภาพ ปลอดภัย โดยเฉพาะในปี 2560 ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ประกาศให้เป็นปีแห่งการยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรไปสู่ความยั่งยืน ก็มีการออกไปตรวจ “เรามีสารวัตรข้าว สารวัตรเกษตร สารวัตรปศุสัตว์ สารวัตรประมง ไปดูในสิ่งที่มันไม่ถูกต้อง เช่น พืชพันธุ์เหมาะสมหรือไม่ ปุ๋ยดีหรือปุ๋ยปลอม ยาถูกต้องไหมหรือยาปลอม เนื้อสัตว์ใช้สารเร่งเนื้อแดงไหม เราจะมีกลุ่มเหล่านี้ออกไปตรวจ อันนี้ก็เป็นงานเร่งด่วนที่เราทำ เพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อผู้บริโภค”
นอกจากนั้นแล้ว ก็เป็นเรื่องการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ที่เราไปยึดพื้นที่ สปก.ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน เราก็ไปยึดคืนมาได้ร่วมแสนไร่ รวมไปถึงเรื่องการปรับเปลี่ยนการผลิต โดยเฉพาะเราใช้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจรเข้ามาทำ เพื่อที่จะสร้างสมดุลระหว่างการผลิตกับการจำหน่ายการบริโภค ตรงนี้เรามีแผน และยังมีอีกหลายๆ เรื่อง
ปลัดกระทรวงเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยภาพรวมวาระงานกระทรวงเกษตรฯ 5 ด้าน โดยทุกด้สนมุ่งให้เกษตรกรมีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พร้อมนำแผนที่บริหารจัดการด้านการเกษตรเชิงรุกหรือที่เรียกว่า Agri-map มาเป็นตัวช่วยนำทิศทางให้มีการปลูกพืชที่เหมาะสมกับคุณภาพดินในบริเวณนั้นๆ เพื่อสร้างความสมดุล
นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เปืดโอกาศให้ อปท.นิวส์สัมภาษณ์พิเศษถึงวาระงานเร่งด่วนต่างๆ ตามนโยบายที่ได้รับมอบหมายมาให้ปฏิบัติว่า อยากจะขอพูดถึงในภาพรวม ซึ่งรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการทำการเกษตรเป็นอย่างยิ่ง เพราะเหตุสินค้าหลักที่นำไปสู่เรื่องการสร้างรายได้ของประเทศก็คือ สินค้าเกษตร ไม่ว่าจะเป็น พืช ปศุสัตว์ ประมง และตัวสินค้าเหล่านี้ก็มาจากพี่น้องเกษตรกร ดังนั้น นายกรัฐมนตรีจีงได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตร วางแผนในส่วนของการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องเกษตรกร
“ท่านรัฐมนตรว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ ก็เลยมามองในภาพรวมของการแก้ไขปัญหาจากอดีตที่อาจจะมีปัญหาหลายๆ อย่างที่สะสมกันมา เนื่องจากปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ หรือรวมทั้งผลิตสินค้าเกษตรไม่มีคุณภาพ พี่น้องเกษตรมีหนี้สิน เป็นต้น รวมถึงเรื่องอากาศที่ควบคุมไม่ได้ไม่ว่าจะเป็น ฝนแล้ง หรือน้ำท่วม”
ดังนั้น จากภาพรวมตรงนี้เอง จึงทำให้ต้องมาวางวางยุทธศาสตร์ในการทำงาน 20 ปี แกเป็น 5 ด้าน ด้านแรกก็คือยุทธศาสตร์ในเรื่องของการพัฒนาเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง ยุทธศาสตร์ที่ 2 เป็นการยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรให้สูงขึ้น ในยุทธศาสตร์ที่ 3 เป็นเรื่องของการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการยกระดับสินค้าเกษตร ในยุทธศาสตร์ที่ 4 เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญอันหนึ่งที่แนวโน้มทั่วโลกเฝ้ามองอยู่ คือเรื่องการทำเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์ที่ 5 คือเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารจัดการในภาครัฐ เพราะฉะนั้น ทั้ง 5 เรื่องเหล่านี้จะนำไปสู่เรื่องการทำให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น มีสภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ปลัดกระทรวงเกษตร เปิดเผยต่อไปว่า จริงๆ แล้วในภาพรวมของตัวนโยบายที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตฯ ได้วางไว้ จะมีเรื่องของการส่งเสริมให้ความรู้กับพี่น้องเกษรกรผ่านศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หรือ เรียกย่อๆ ว่า ศพก. ซึ่งมีอยู่ 882 แห่งทั่วประเทศ แล้วศูนย์นี้คนที่ดำเนินการคือเกษตรกรต้นแบบที่เป็นผู้ประสบความสำเร็จที่เกษตรกรด้วยกันเองให้ความเชื่อถือ โดยเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรจะเข้าไปเพียงเป็นผู้สนับสนุน เพราะฉะนั้นเกษตรกรที่เข้ามาในศูนย์เรียนรู้ก็จะได้ความรู้ไปสับเปลี่ยนในการทำเกษตรต่อไป
“ในส่วนที่ 2 ก็มองไปถึงการทำเกษตรแปลงใหญ่ ซึ่งท่านรัฐมนตรีได้มองไว้ว่า การทำเกษตรแปลงใหญ่จะนำไปสู่การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ลดต้นทุนปัจจัยการผลิต และเพิ่มผลิตต่อหน่วยต่อไร่ ซึ่งตรงนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราให้ความสำคัญ นอกจากเกษตรแปลงใหญ่แล้ว ก็จะมีเรื่องของการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรที่อาจจะผลิตได้ในเกษตรแปลงใหญ่ หรือเกษตรแปลงย่อยอื่นๆ จะต้องยกระดับให้มีมูลค่าสูงขึ้น ก็โดยทำในเรื่องของเกษตรอินทรีย์หรือเกษตรปลอดภัยขึ้นมา” นายธีรภัทร กล่าว พร้อมกับกล่าวต่อไปว่า
อีกส่วนหนึ่งที่ดำเนินการก็คือ ในเรื่องการทำการเกษตรในพื้นที่แปลงใหญ่ หรือเกษตรในรูปแบบพื้นที่ต่างๆ เหล่านี้ ปรากฎว่าในภาพรวมของพื้นที่ทั้งประเทศ 320 กว่าล้านไร่ เป็นพื้นที่ๆ อยู่ในเขตชลประทานประมาณ 30 กว่าล้านไร่เท่านั้นเอง จากพื้นที่เกษตร 149 ล้านไร่ แสดงว่ายังมีพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมอยู่อีกเยอะ เพราะฉะนั้นจะมีการนำเอานวตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ ผ่านแผนที่บริหารจัดการด้านการเกษตรเชิงรุกหรือที่เรียกว่า Agri-map ก็จะเป็นตัวช่วย เป็นทิศทางนำให้มีการปลูกพืชที่เหมาะสมกับคุณภาพดินหรือพื้นที่ตรงนั้น ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นอีกส่วนหนี่งที่นำไปสู่การปลูกพืชที่เหมาะสมกับพื้นดินและความต้องการตลาด
ต่อข้อถามถึงเรื่อง สินเชื่อเกษตรแปลงใหญ่เป็นอย่างไรบ้าง นสยธีรภัทร กล่าวว่า ตอนนี้เรื่องสินเชื่อเกษตรแปลงใหญ่ ซึ่งรัฐบาลได้วางแผนไว้โดยผ่านทาง ธ.ก.ส. (ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์)ในโครงการหนึ่งประมาณ 10 ล้านบาท ดอกเบี้ยน้อยมาก ซึ่งตอนนี้น่าจะได้ไปร่วม 100 แปลง โดยเป็นการวางแผนให้กับแปลงใหญ่ทั้งหมด โดยบางแปลงอาจจะใช้เต็มวงเงิน บางแปลงอาจจะยังใช้ไม่ถึง ซึ่งมาถึงปัจจุบันนี้เกษตรกรที่สนใจยังสามารถรวมกลุ่มจัดทำโครงการกันเข้ามาขอสินเชื่อได้
ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ยังตอบข้อสักถามถึงนโนบายเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการขณะนี้ด้วยว่า มีเรื่องต้องดำเนินการอยู่เยอะมาก เพราะเป็นทั้งงานที่เกี่ยวข้องกับพี่น้องเกษตรกร รวมถึงพี่น้องประชาชนอื่นๆ ด้วย พูดแบบกว้างๆ คือ เป็นการแก้ไขปัญหาที่สะสมทำกันมานานแล้ว อาทิเช่น เรื่องแรกก็คือ เรื่องของการทำประมงที่ผิดกฎหมาย อันนี้ก็ได้มีการดำเนินการตามแผนการที่วางไว้แล้ว ต่อมาก็เป็นเรื่องของการจัดระบบของนมโรงเรียน ทำให้นมมีคุณภาพสูงขึ้น มีการจัดสรรที่เป็นธรรม ทำให้เด็กได้รับนมที่มีคุณภาพดี
นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีเรื่องของการทำอย่างไรให้สินค้าเกษตร มีคุณภาพ ปลอดภัย โดยเฉพาะในปี 2560 ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ประกาศให้เป็นปีแห่งการยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรไปสู่ความยั่งยืน ก็มีการออกไปตรวจ “เรามีสารวัตรข้าว สารวัตรเกษตร สารวัตรปศุสัตว์ สารวัตรประมง ไปดูในสิ่งที่มันไม่ถูกต้อง เช่น พืชพันธุ์เหมาะสมหรือไม่ ปุ๋ยดีหรือปุ๋ยปลอม ยาถูกต้องไหมหรือยาปลอม เนื้อสัตว์ใช้สารเร่งเนื้อแดงไหม เราจะมีกลุ่มเหล่านี้ออกไปตรวจ อันนี้ก็เป็นงานเร่งด่วนที่เราทำ เพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อผู้บริโภค”
นอกจากนั้นแล้ว ก็เป็นเรื่องการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ที่เราไปยึดพื้นที่ สปก.ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน เราก็ไปยึดคืนมาได้ร่วมแสนไร่ รวมไปถึงเรื่องการปรับเปลี่ยนการผลิต โดยเฉพาะเราใช้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจรเข้ามาทำ เพื่อที่จะสร้างสมดุลระหว่างการผลิตกับการจำหน่ายการบริโภค ตรงนี้เรามีแผน และยังมีอีกหลายๆ เรื่อง