ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
การพัฒนา AI ด้านระบบความปลอดภัยสาธารณะ (Public Safety) ของ สทป.
09 ก.ย. 2565

           “อาชญากรรม (Crime) เป็นสิ่งที่มีและดำรงอยู่คู่กับสังคม ทุกสังคมล้วนประสบปัญหาอาชญากรรมทั้งสิ้น ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามบริบททางสังคมของแต่ละสังคม” อีมิล เดอร์ไคม์ นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส (Emile Durkheim, 1970, p.1 อ้างใน พัฒนากร สูงนารถ, 2551) ในปีที่ผ่านมา พ.ศ. 2564 สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีการสํารวจความหวาดกลัวภัยอาชญากรรม และความเชื่อมั่นของประชาชนต่อประสิทธิภาพการป้องกันอาชญากรรมของเจ้าหน้าที่ตํารวจ (PEOPLE POLL) เพื่อปรับรูปแบบการทำงานของตำรวจ โดยนำเทคโนโลยีมาช่วยสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในรูปแบบโพลผ่าน Google Forms ซึ่งให้สถานีตํารวจทั่วประเทศทั้ง 1,484 แห่ง สํารวจความคิดเห็นของประชาชนอย่างน้อยสถานีละ 100 คน มีผลการสำรวจตั้งแต่วันที่ 1 – 20 สิงหาคม 2564 มีประชาชนตอบแบบสอบถามจํานวน 197,860 คน เพศหญิง ร้อยละ 51.70 เพศชาย ร้อยละ 48.30 ช่วงอายุที่ตอบแบบสอบถามมากที่สุด คือ ช่วงอายุ ตั้งแต่ 20 – 29 ปี ร้อยละ 28.90 ช่วงอายุ 30 – 39 ปี ร้อยละ 25.20 และช่วงอายุ 40 – 49 ปี ร้อยละ 20.30 ถึงความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมจะต้องไม่เกินร้อยละ 40 ในภาพรวมทั้งประเทศ ผลพบว่าประชาชนมีความหวาดกลัวภัยอาชญากรรม ร้อยละ 32.75 ถือว่าผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กําหนด ซึ่งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2564 ประชาชนมีความหวาดกลัวภัยอาชญากรรม ร้อยละ 39 อย่างไรก็ตามในภาพรวมทั้งประเทศประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อประสิทธิภาพการป้องกันอาชญากรรมของเจ้าหน้าที่ตํารวจ ร้อยละ 77 (ไม่ผ่านเกณฑ์) แต่มีระดับความเชื่อมั่นมากกว่าผลการสํารวจ เมื่อเดือนมิถุนายน 2564 มีความเชื่อมั่นเพียงร้อยละ 67.50 และเดือนกรกฎาคม 2564 มีความเชื่อมั่นเพียง ร้อยละ 73 (ที่มา : https://www.nationtv.tv/news/378837414)

          สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) มีพันธกิจในการ ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เพื่อนำไปสู่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โดยประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ของ สทป.     คือ การพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมสู่ประชาสังคมที่มุ่งเน้นการบริการภาคประชาสังคมด้วยองค์ความรู้ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศ จึงเกิดการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ด้านระบบความปลอดภัยสาธารณะ (Public Safety) เพื่อให้บริการด้านระบบความปลอดภัยสาธารณะ สำหรับภารกิจการเฝ้าระวัง การป้องกัน การรับมือการก่ออาชญากรรมภัยคุกคามต่อความปลอดภัยสาธารณะของประชาชน และความมั่นคงของประเทศ โดยได้พัฒนา DTI Platform บนเทคโนโลยี Cloud Computing และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อการบูรณาการบริหารจัดการกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ระบบเซนเซอร์ตรวจจับต่าง ๆ เช่น ระบบตรวจจับและจดจำใบหน้า ระบบตรวจจับและจดจำป้ายทะเบียนรถ และระบบตรวจจับวัตถุต้องสงสัยหรือรุกล้ำพื้นที่ เป็นต้น ซึ่งบริหารจัดการผ่านศูนย์บริหารจัดการข้อมูลความมั่นคงแบบ Single Command Control โดยสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ภายใต้คอนเซ็ปต์ 3P : Predict Prepare Prevent และ 1M : Manage เพื่อให้ได้โซลูชันล้ำสมัยในการยับยั้งภัยคุกคามและลดปัญหาการเกิดอาชญากรรม

          จากการศึกษาทบทวนแนวคิด ทฤษฎี ตลอดจนมุมมองที่เกี่ยวข้องกับการนิยามความปลอดภัยสาธารณะและอาชญากรรม อันเป็นสิ่งที่สัมพันธ์ต่อกันและกันทั้งในเชิงอัตวิสัยและวัตถุวิสัย พบว่าปัญหาที่พบในเรื่องการแก้ไขปัญหาความปลอดภัยของประชาชน คือ ความรู้สึกหวาดกลัวภัยอาชญากรรมในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งความรู้สึกปลอดภัยเมื่อต้องอยู่คนเดียว หรือเดินทางคนเดียวตามลำพัง (ยุวดี วงศ์วีระประเสริฐ) ดังนั้นการที่ สทป. ได้ดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ด้านระบบความปลอดภัยสาธารณะ จึงเป็นการตอบสนองต่อความต้องการด้านความปลอดภัยสาธารณะของประชาชนตามกรอบ Sustainable Development Goals ขององค์การสหประชาชาติในเป้าหมายที่ 11 คือ การทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัยทั่วถึงอย่างยั่งยืนพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งปัจจุบันการก่ออาชญากรรมและการก่อการร้ายระหว่างประเทศแทบจะไม่ถูกขัดขวางโดยอุปสรรคทางภูมิศาสตร์ ภาษา หรือการเงิน ความปลอดภัยสาธารณะและความมั่นคงจึงกลายเป็นประเด็นทางการเมืองและเศรษฐกิจที่สำคัญ ทั้งในระดับประเทศและในระดับสากล การบูรณาการความร่วมมือทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจน ภาคประชาสังคม จึงเป็นสิ่งสำคัญในการประกันความมั่นคงของประเทศ และความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจตามแนวนโยบายรัฐบาล "มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน" เพื่อตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาล ผลผลิต (Output) ที่สำคัญนอกจากการพัฒนา DTI Platform ดังกล่าวข้างต้นแล้ว การดำเนินการยังจะต้องนำไปสู่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในรูปแบบการนำ DTI Platform ที่ สทป. ได้พัฒนาแล้วไปประยุกต์ใช้กับหน่วยผู้ใช้ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงการสร้างเวทีในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านระบบความปลอดภัยสาธารณะ  ให้บรรลุเป้าหมายการทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัยทั่วถึงพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง กรณีศึกษาเปิดนโยบาย “เมืองปลอดภัย” จาก 8 ผู้สมัครผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ในงาน Bangkok Active Forum ฟังเสียงกรุงเทพฯ ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “เมืองปลอดภัย” ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 21 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา โดยเครือข่ายปลุกกรุงเทพฯ เพื่อออกแบบข้อเสนอเชิงนโยบาย ส่งถึงมือผู้สมัครผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร บทสัมภาษณ์ผู้สมัครผู้ว่า "ความปลอดภัยสาธารณะ ต้องมาเป็นที่ 1" ถามใจ ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ จะรับมืออย่างไรกับ “กรุงเทพฯ” ที่เสี่ยงรอบด้าน (https://theactive.net/data/bkk-safety-policy/)

          สทป. จึงได้ขอนำเสนอการออกแบบ DTI Platform เพื่อตอบสนองการเป็นต้นแบบเมืองปลอดภัยของกรุงเทพฯ โดยการทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัยตามกรอบ Sustainable Development Goals ขององค์การสหประชาชาติ ตลอด 24 ชั่วโมง แม้ในยามค่ำคืนประชาชนจะสามารถใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ ได้อย่างปลอดภัย โดยอธิบายแนวคิดการออกแบบเพื่อสนับสนุนการเป็นเมืองปลอดภัยของกรุงเทพฯ     ได้ดังแผนภาพ

         DTI Platform เป็นระบบป้องกันเหตุเชิงรุก นอกจากการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์บูรณาการบริหารจัดการกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ระบบเซนเซอร์ตรวจจับต่าง ๆ เช่น ระบบตรวจจับและจดจำใบหน้า ระบบตรวจจับและจดจำป้ายทะเบียนรถ ระบบตรวจจับวัตถุต้องสงสัยหรือรุกล้ำพื้นที่ ระบบตรวจจับควันดำและฝุ่นละออง PM 2.5 และอื่น ๆ อีกทั้งยังสามารถทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหา   ด้านความปลอดภัยสาธารณะ อาทิเช่น การรายงานความสมบูรณ์ของไฟส่องสว่าง การแจ้งเหตุอาชญากรรม และการแก้ไขปัญหาการจราจรลดตัวเลขผู้เสียชีวิตบนท้องถนน เป็นต้น และ DTI Platform ยังจะเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อการทำให้แผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระดับเขตเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตอบสนองความปลอดภัยและความมั่นคงในระดับเมืองครอบคลุมทุกมิติ ทั้งการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและ        การสร้างคุณค่าสู่สังคมอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

“รู้ใจ ทำเองได้ ใช้ดี มีมาตรฐาน” “DTI คิดเพื่อชาติ ทำเพื่อคุณ”

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...