วิทยาลัยเทคนิคกระบี่จับมือสถาบันพัฒนาทักษะวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 พัฒนานักศึกษาบุคคลในวัยทำงานสาขาวิชาต่างๆเพื่อรองรับธุรกิจการโรงแรมและการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่เข้าสู่สากล
เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2565 เวลา 13.30 นาฬิกา ที่ห้องประชุมวิทยาลัยเทคนิคกระบี่ ตำบลไสไทย อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ จัดให้มีการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพของบุคลากรในสาขาวิชาชีพต่างๆ เพื่อรองรับธุรกิจการโรงแรมและการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ ซึ่งข้อตกลงมีระยะเวลา 4 ปีเริ่มวันที่ 9 กันยาน 2565 ถึงวันที่ 9 กันยายน 2569 ระหว่างนายนายศิวกรณ์ เฉ่งอ้วน ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคกระบี่ กับผู้ช่วยศาสตราจารย์ด็อกเตอร์ ฐิติวัฒน์ นงนุช คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ในนามสถาบันพัฒนาทักษะวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 บริษัททะเวนตี้เซนจูรี่สกิลล์จำกัด โดยมีนายโมรา หม่าเซ็น กรรมการสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 ผู้ทรงคุณวุฒิ และนายวชิรวิทย์ โชคคณาพิทักษ์ อาจารย์ประจำสถาบันพัฒนาทักษะวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 เป็นพยาน ท่ามกลางคณะครู อาจารย์ และนักศึกษาเป็นสักขีพยานในครั้งนี้
บันทึกข้อตกลงครั้งนี้ทุกฝ่ายต้องพัฒนาเยาวชนและนักศึกษา บุคลากรในวัยทำงานอันเป็นรากเหง้าสำคัญในการพัฒนาของประเทศไปสู่ความยั่งยืน ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาบุคลากรในสาขาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ เพื่อสร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้เกิดทักษะ ความรู้และยกระดับความสามารถทาด้านคุณวุฒิการบริการด้านดังกล่าวให้เข้าสู่สากล ประสบความสำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้คือ ทุกฝ่ายร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการ ร่วมเป็นเครือข่ายจัดกิจกรรมต่างให้เกิดการพัฒนาบุคลากรในสาขาต่างๆ เพื่อรองรับธุรกิจการโรงแรมและการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยวิทยาลัยเทคนิคกระบี่ เป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนองค์ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้อง ด้านวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ด้านอาคาสถานที่หรือห้องปฏิบัติการเพื่อใช้ในกาจัดกิจกรรมต่างๆของโครงกาดังกล่าว สามารถมีผลประโยชน์และรายรับในฐานะผู้ส่งเสริมสนับสนุน สถาบันพัฒนาทักษะวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 เป็นผู้จัดทำหลักสูตรการอบรมทั้งหลักสูตรระยะสั้นและระยะยาว การจัดการอบรม และประสานกับเครือข่ายองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดระบบความเชื่อมโยงองค์ความรู้ไปสู่การจัดทำหลักสูตรเพื่อพัฒนาบุคลากร
ทั้งสองฝ่ายที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านจัดสร้างหลักสูตรการอบรมในรูปแบบต่างๆที่มีความหลากหลาย และตอบสนองกับความต้องการของภาคแรงงานในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่มีความผันผวนและมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก ให้มีมาตรฐานคุณวุฒิด้านวิชาชีพตามที่รัฐเป็นผู้กำหนด ในการสร้างสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพสูงสุดเพื่อตอบสนองความต้องการเข้าศึกษาของนักศึกษา สำหรับกาเข้าสู่วงการวิชาการตามศักยภาพแห่งตนและตามเกณฑ์มาตรฐานของการศึกษา สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพองค์กรมหาชน หรือ สคช. เพื่อพัฒนาและผลักดันระบบคุณวุฒิวิชาชีพของไทย ด้วยการจัดทำมาตรฐานอาชีพให้ได้มาตรฐานสากล กำหนดองค์กรเพื่อรับรองสมรรถนะบุคคล และเป็นศูนย์กลางข้อมูลเกี่ยวกับคุณวุฒิวิชาชีพและมาตรฐานอาชีพ โดยมีเป้าหมายในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็นเศรษฐกิจสังคมฐานความรู้ พัฒนากำลังคนของประเทศให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงาน เพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ และสร้างมูลค่ำเพิ่มทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงานและความมั่นคงของมนุษย์ ต้องพัฒนาฝีมือแรงงานในภาคธุรกิจประเภทต่ำงๆโดยเฉพาะด้านการค้ำและการบริการ การท่องเที่ยวและการโรงแรม ด้านวิทยาศาสตร์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อพัฒนากำลังนักศึกษาและประชาชนทั่วไปให้มีคุณภาพไปสู่มาตรฐานสากล
ทีมข่าวกระบี่