ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
ดีอีเอส ขอขยายเพดานความจุดาวเทียม
22 ก.ย. 2565

ปลัดฯดีอีเอส เล็งส่งหนังสือขอแบนด์วิธดาวเทียม2วงโคจรระบุหากกสทช.เปิดประมูลสิ้นปีนี้ จำเป็นต้องกั๊กความถี่เพื่องานของรัฐทั้งบรอดแคส-บรอดแบนด์หนุนภารกิจดิจิทัล กอฟเวอร์เมนต์ ส่วนกรณีเอ็นทีอ่อนใจยังอืดแม้ควบรวมเสร็จนานแล้วไม่ยอมเดินยุทธศาสตร์ 5จี

น.ส.อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ขณะนี้ได้นำเรื่องความต้องการใช้งานดาวเทียมของหน่วยงานภาครัฐ ตำรวจ ทหาร และหน่วยงานความมั่นคงเข้าหารือต่อคณะกรรมการกิจการอวกาศ เพื่อจะได้มีหนังสืออย่างเป็นทางการไปยัง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

หลังจากที่กสทช.ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (แพ็คเกจ) (ฉบับแก้ไขปรับปรุง) วันที่ 30 ส.ค. 2565 และปิดรับฟังความคิดเห็นไปแล้วตั้งแต่วันที่12 ก.ย. 2565 ที่ผ่านมา และกสทช.มีกำหนดการเปิดประมูลในปลายปีนี้

ดังนั้น คณะทำงาน และกระทรวงดีอีเอส ต้องส่งหนังสือแสดงความต้องการเพื่อร่วมประมูล วงโคจรดาวเทียม ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการประมูลเอง และการร่วมลงทุนกับเอกชนที่ชนะการประมูลให้ชัดเจน ทั้งนี้ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็นทีได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ให้เป็นผู้บริหารกิจการดาวเทียมของชาติ

ซึ่งขณะนี้วงโคจร 119.5 องศาตะวันออก หรือ ไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) ที่ได้รับทรัพย์สินหลังจากหมดสัญญาสัมปทานมาจากบมจ.ไทยคม อายุทางวิศวกรรมจะใช้ได้ถึงปี 2566 โดยอาจจะยืดอายุเวลาออกไปได้ 3 ปี ได้เพื่อรอการสร้างดาวเทียมดวงใหม่มาทดแทนดวงเดิม

ทั้งนี้ ในร่างประกาศประมูลดาวเทียมดังกล่าว ข้อ 30 ระบุว่าให้ผู้ชนะการประมูลแบ่ง 1 ช่องสัญญาณ (ทรานสปอนเดอร์) ให้ภาครัฐใช้เพื่อความมั่นคงและประโยชน์สาธารณะ และหากเป็นดาวเทียมบรอดแบนด์ต้องแบ่งความจุให้รัฐ 1% หากดาวเทียมมีขนาด 100 GB แบ่งมา 1% ให้รัฐใช้ 1 GB แต่ไทยคม 4 มี 45 GB หากแบ่ง 1% จะได้เพียง 0.45 GB ไม่เพียงพอ เพราะรัฐใช้งานอยู่ที่ 0.80 GB ดังนั้น การแบ่งทรานสปอนเดอร์นี้ ดีอีเอสพิจารณาแล้วไม่เพียงพอแน่นอน ดังนั้น จำเป็นต้องได้ความจุ 20% ขึ้นไป เพื่อทำให้รัฐบาลก้าวสู่ดิจิทัล กอฟเวอร์เมนต์ได้ทั้งระบบ

น.ส.อัจฉรินทร์ กล่าวถึงกรณีการควบรวมกิจการโทรคมนาคมที่เกิดขึ้นอยู่ขณะนี้ว่า ไม่ขอก้าวล่วงอำนาจในการพิจารณาการควบรวมระหว่างบมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น และ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) และรวมถึงบมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) และ บริษัท ทริปเปิลทรี บรอดแบนด์ จำกัด (3บีบี) เพราะเป็นอำนาจการพิจารณาของกสทช.

อย่างไรก็ดี สิ่งที่อยากจะสื่อสารคือ เทรนด์การควบรวมธุรกิจในหลายๆอุตสาหกรรมกำลังเกิดขึ้น ซึ่งในส่วนของไทยเองธุรกิจไอที เทคโนโลยีถูกดิสรัปชั่นมากจนทำให้เอกชนต้องหาแนวทางการอยู่รอดทางธุรกิจเพื่อให้บริษัทตัวเองสามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ อีกทั้ง

การควบรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคมนั้น ดีอีเอสก็เคยทำเรื่องเพื่อเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) ควบรวมบมจ.ทีโอที และบมจ.กสท โทรคมนาคมเข้าด้วยกันเพื่อสร้างความแข็งแกร่งด้านเครือข่ายไร้สาย และเครือข่ายบรอดแบนด์ เพราะในปี 2568 นี้ ทีโอทีและกสทฯจะไม่มีคลื่นความถี่ใดๆ เหลือ

แต่สิ่งที่น่าเสียดายคือการควบรวมทีโอทีและกสทฯมาเป็นบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (เอ็นที) ผ่านมาแล้ว 2 ปีกลับไม่สามารถดำเนินธุรกิจใดๆได้เลย โดยเฉพาะในธุรกิจ 5จี ซึ่งกสทฯในขณะนั้น ประมูลคลื่นความถี่ย่าน 700 ได้จ่ายเงินไป 3,670.742 ล้านบาทให้แก่กสทช. ส่วนทีโอทีประมูลได้คลื่นความถี่ย่าน 26 GHz จำนวน 4 ใบก็จ่ายค่าคลื่นไปแล้ว 1,795 ล้านบาท ก็ยังไม่สามารถหาผลประโยชน์หรือทำตลาดหาลูกค้าใดๆได้ ซึ่งตรงนี้ดีอีเอสก็ออกแรงเข็นเต็มที่จนไม่รู้ว่าจะช่วยอย่างไรแล้ว

“เรายืนยันเสมอว่าแนวทางการควบรวมธุรกิจโดยเฉพาะทีโอทีและกสทฯเป็นสิ่งที่ตัดสินใจถูกต้องแล้ว แต่ความผิดเรื่องนี้ต้องโทษว่าเป็นที่คนของสององค์กรเองที่ยังไม่ยอมผลักดันหรือเอาจริงใดๆ บอกได้ว่าเป็นเรื่องน่าเสียดาย”

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...