ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
โพลม.รังสิตกลุ่มเจนZ ให้ชัชชาตินายกฯ อันดับ1
24 ก.ย. 2565

รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต เปิดเผยผลการวิจัยส่วนบุคคล หลังเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากคน Gen Z (ช่วงอายุถึง 25 ปี) ที่ศึกษาปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯและทุกภาคของประเทศ จำนวน 707 คน

ข้อคำถามว่า “ใครคือบุคคลที่ท่านปรารถนาให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปมากที่สุด”

​ผลการวิจัยพบว่า

1.นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้รับความนิยมเป็นอันดับที่ 1 ได้ 301 คะแนน (43.1%) อันดับที่ 2 นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ 154 คะแนน (22.1%) อันดับที่ 3 นายทักษิณ ชินวัตร ได้ 102 คะแนน (14.6%) อันดับที่ 4 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้ 89 คะแนน (12.8%) อันดับที่ 5 นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ได้ 33 คะแนน (4.7%) อันดับที่ 6 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ได้ 12 คะแนน (1.7%)

 

ภาพประกอบข่าว© Matichon

2.ความนิยมของคน Gen Z ต่อนายธนาธรและนายทักษิณ ซึ่งถูกตัดสิทธิทางการเมืองโดยกลไกตามรัฐธรรมนูญ ชี้ว่าไม่สามารถระงับยับยั้งความนิยมต่อผู้นำทางการเมืองทั้งสองของคน Gen Z ได้

3.ผู้นำทหาร คสช. ที่ครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีมานาน 8 ปีแล้ว ไม่อยู่ในความคิดจิตใจของคน Gen Z ที่เติบโตมาพร้อมกับรัฐบาล คสช.นี้เลย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ 2 คะแนน (0.3%) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้ 1 คะแนน (0.1%) สอดคล้องกับการศึกษาความนิยมและยอมรับของประชาชนต่อการรัฐประหาร คสช. และต่อรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ ว่ามีระดับน้อยลงไปสู่ระดับน้อยมาก

4.นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ส.ส.พังงา หลายสมัย และเข้าร่วมรัฐบาลในตำแหน่งรองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์ ไม่ได้รับคะแนนนิยมจากคน Gen Z จากภาคใต้แม้แต่คะแนนเดียว

5.นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกฯในรัฐบาล คสช.มานานหลายปี ผู้นำพรรคสร้างอนาคตไทย ไม่ได้รับคะแนนนิยมจากคน Gen Z แม้แต่คะแนนเดียว

​6.นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย รองนายกฯและ รมว.สาธารณสุข ได้คะแนนนิยม 2 คะแนน (0.3%) เท่ากับนายกรณ์ จาติกวณิช อดีตผู้นำพรรคกล้า

รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ ยังชี้ว่า คำถามสำคัญคือ เมื่อนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ไม่ได้ลงสนามเพื่อชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หากแต่ยังคงมุ่งมั่นทำงานในตำแหน่งผู้ว่ากรุงเทพฯ ดังนั้น แนวโน้มของคะแนนนิยมของนายชัชชาติจากคน Gen Z จะย้ายไปให้พรรคการเมืองใด ระหว่างพรรคก้าวไกลของนายพิธา/ธนาธร กับพรรคเพื่อไทยของนางสาวแพทองธาร/ทักษิณ หรือพรรคไทยสร้างไทยของคุณหญิงสุดารัตน์

ทั้งนี้ ​งานวิจัยทัศนคติของคน Gen Z ต่อ 5 ประเด็นคำถามนี้ เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 7-16 กันยายน 2565 โดยเก็บจากมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ ภาคกลางที่ปทุมธานี นครปฐม ชลบุรี อยุธยา ภาคเหนือที่พิษณุโลก เชียงใหม่ พะเยา เชียงราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สกลนคร ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ภาคใต้ที่นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี รวม 16 จังหวัด

เพศของผู้ตอบแบบสอบถาม : หญิง 422 คน (59.7%) ชาย 200 คน (28.3%) เพศหลากหลาย 85 คน (12.0%)

​โรงเรียนที่ท่านจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากเขตภูมิภาคใด : กรุงเทพฯ 173 คน (24.5%) ภาคกลาง 272 คน (38.5%) ภาคเหนือ 62 คน (8.7%) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 75 คน (10.6%) ภาคใต้ 125 คน (17.7%)

​มีผู้ไม่ตอบคำถามในข้อนี้รวม 9 คน ผู้ตอบคำถามข้อนี้ 698 คน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...