ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
ประมง จ.ระยอง พร้อมรับมือสถานการณ์อุทกภัย ช่วงเดือน พ.ค.- ก.ค. ปี 60
09 มิ.ย. 2560

     นายสงกรานต์ แสงจันทร์ กล่าวว่า กรมอุตุนิยมวิทยาคาดหมายลักษณะอากาศของประเทศไทยราย 3 เดือน (พฤษภาคม – กรกฎาคม 2560) ประมาณกลางเดือนมิถุนายนถึงปลายเดือนมิถุนายน ปริมาณและการกระจายของฝนจะมีเพิ่มมากขึ้น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ในบางวัน โดยเฉพาะภาคกลางและภาคตะวันออก สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 2 – 3 เมตรในบางช่วง ทั้งนี้เนื่องจากลมใต้หรือลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม จะเปลี่ยนเป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย โดยจะมีกำลังแรงเป็นระยะ ๆ ประกอบกับมีลมมรสุมพาดผ่านประเทศไทยตอนบนในบางช่วง

     สำนักงานประมงจังหวัดระยองจึงเตรียมแผนรับมือสถานการณ์อุทกภัย (ช่วงเดือนพฤษภาคม – กันยายน) ปี 2560 ดังนี้

การเตรียมการรับสถานการณ์ (ก่อนเกิดภัย) เกษตรกรที่จะได้รับการช่วยเหลือต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนด้านการประมงกับหน่วยงานของกรมประมง ก่อนเกิดภัยพิบัติแล้วเท่านั้น

     1. ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนภัยกับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

กรมประมงจะดำเนินการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนภัยกับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ทราบถึงช่วงเวลา หรือภาวะภัยที่จะมาถึงเพื่อสามารถเตรียมตัวรับสถานการณ์ หาวิธีป้องกัน แก้ไขหลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นให้มากที่สุด โดยดำเนินการในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แจ้งผ่านทางผู้นำชุมชน ออกข่าวกระจายเสียงทางสถานีวิทยุ รวมถึงสื่อต่างๆ

ให้เกษตรกรติดตามข่าวสารพยากรณ์อากาศจากทางราชการอย่างใกล้ชิด

ให้เกษตรกรปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ และต้องมีความระมัดระวังในช่วงระยะเวลาดังกล่าวด้วย

     2. คำแนะนำทางด้านวิชาการ

ควบคุมการใช้น้ำ และรักษาปริมาณน้ำที่เลี้ยงสัตว์น้ำให้มีปริมาณพอเหมาะ หรือมีปริมาณ 2 ใน 3 ส่วนของน้ำที่มีอยู่ในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ

จัดทำร่องระบายน้ำ และขุดลอกตะกอนดินที่จะทำให้ร่องระบายน้ำตื้นเขินออกไป เพื่อให้น้ำไหลเข้าออกสะดวก

จัดเตรียมเครื่องเพิ่มออกซิเจนไว้ให้พร้อมเพื่อใช้ในการดำเนินการช่วยเหลือสัตว์น้ำในบ่อกรณีปริมาณน้ำจากภายนอกไหลเข้าบ่ออย่างกะทันหัน

เลี้ยงสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับฤดูกาล เพื่อจะได้จับขึ้นใช้ประโยชน์ก่อนเกิดอุทกภัย

ควรปล่อยสัตว์น้ำลงเลี้ยงในปริมาณความหนาแน่นน้อยกว่าปกติ และควรปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำที่มีขนาดใหญ่ เพื่อลดระยะเวลาการเลี้ยงให้น้อยลง

เตรียมทยอยจับสัตว์น้ำที่ได้ขนาดขึ้นมาจำหน่าย หรือบริโภคเพื่อลดปริมาณสัตว์น้ำในบ่อให้เหลือน้อยลง

ปรับปรุงคันบ่อและเสริมคันบ่อให้สูงพอกับปริมาณน้ำที่เคยท่วมในปีที่ผ่าน ๆ มา

จัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น อวน เครื่องสูบน้ำ เครื่องเพิ่มออกซิเจน ยาปฏิชีวนะ สารเคมีที่จำเป็นไว้ให้พร้อม

จัดเตรียมปูนขาวไว้สำหรับพื้นที่ดินกรด ดินเปรี้ยว เพื่อปรับสภาพน้ำในบ่อหลังน้ำท่วมประมาณ 50 - 60 กิโลกรัม/ไร่

วางแผนการเลี้ยงสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และฤดูกาล เพื่อให้สามารถจับได้ก่อนฤดูน้ำหลาก

     ทั้งนี้ หากพบปัญหาเพิ่มเติมหรือมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ กลุ่มพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการประมง สำนักงานประมงจังหวัดระยอง ศูนย์ราชการจังหวัดระยอง โทรศัพท์ 0-3869-4094 ในวันและเวลาราชการ

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...