ความเคลื่อนไหว เงินประกันรายได้เกษตรกรปี 65/66 ถก 3 กระทรวง พาณิชย์-เกษตร-พลังงาน และกระทรวงแรงงาน เจรจากลุ่มบริษัทผู้ประสานฯ เร่งจ่ายเงินประกันรายได้
ผลประชุม กนป. ย้ำมาตรการพร้อมประกันรายได้ต่อเนื่อง ปี 65-66 สร้างความเชื่อมั่นให้เกษตรกรอยู่ดีกินดี กรณีการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ครั้งที่ 3/2565 ร่วมกับผู้แทนจากกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อ 19 ต.ค. 65 ที่ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล โดยที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบในประเด็นต่างๆ ที่สำคัญ ดังนี้
ที่ประชุมเห็นชอบให้เปิดตลาดน้ำมันปาล์มและน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์ม พร้อมบริหารการนำเข้าคราวละ 3ปี (ปี 66-68) ตามข้อผูกพันของทุกกรอบการค้า และมีการบริหารการนำเข้าเช่นเดียวกับกรอบองค์การ การค้าโลก (WTO) โดยให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) เป็นผู้มีสิทธิ์นำเข้าและกระจายให้ผู้ผลิตภายในประเทศ ตามที่สมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์ม เป็นผู้จัดสรร เพื่อเป็นการรักษาสมดุลการนำเข้า และไม่ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตของเกษตรกร
และเห็นชอบโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 65-66 โดยเริ่มจ่ายเงินชดเชยประกันรายได้งวดแรกให้แก่เกษตรกร ตั้งแต่ ก.ย. 65 เพื่อให้มีความต่อเนื่อง จากโครงการ ปี 64-65 รวมทั้งเห็นชอบขยายเวลาโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์ม เพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี 65
เจรจากลุ่มบริษัทผู้ประสาน เร่งจ่ายเงินประกันรายได้
นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยเมื่อ 17 ต.ค. 65 ได้มอบหมายนายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นตัวแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเจรจา ร่วมกับกลุ่มตัวแทนบริษัทนายจ้างและผู้ประสานงานในประเทศไทย โดยมีนายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน ผู้แทนจากบริษัท เฟรนด์เบอร์รี่ จำกัด บริษัท Great Berry Co.,LTD และบริษัท ฟีนิกซ์ มิซ จำกัด เข้าร่วมเจรจา ณ ห้องประชุมประสงค์ รณะนันท์ ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน
กระทรวงแรงงาน และผู้แทนจากบริษัททั้ง 3 แห่ง ซึ่งต่างเป็นบริษัทที่ปฏิบัติตามมาตรการและจัดส่งแรงงานไทยไปเก็บผลไม้ป่าด้วยดี ไม่เคยพบกรณีร้องเรียนจากคนงานมาก่อน มีความห่วงใยภาพลักษณ์การจัดส่งคนหางานของประเทศไทยในสายตาต่างชาติ จึงมาร่วมเจรจาเพื่อหาวิธีป้องกันปัญหา และแลกเปลี่ยนแนวทางการทำงานที่จะทำให้เกิดความพอใจกันทุกฝ่าย ซึ่งจากการพูดคุยพบว่า คนงานที่มีรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายต่ำกว่าเกณฑ์ ส่วนใหญ่เป็นแรงงานหน้าใหม่ที่ไม่เคยไปทำงานเก็บผลไม้ป่ามาก่อน และปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการสื่อสารระหว่างบริษัทนายจ้าง /ผู้ประสาน และคนงาน และการบริหารจัดการซึ่งบริษัทที่เกิดปัญหาเป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น
นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ท่านสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใยแรงงานไทยทุกคนเหมือนคนในครอบครัว โดยกรมการจัดหางานได้ประสานธนาคาร ธกส. เพื่อนำเงินที่ทางบริษัทผู้ประสานงานวางเป็นหลักประกันไว้ มาช่วยเหลือคนงานเก็บเบอร์รี่ฟินแลนด์ที่รายได้ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ให้กับแรงงานแต่ละคน ตามข้อมูลหลักฐานข้อเท็จจริงโดยจะโอนเข้าบัญชี ให้แรงงาน ภายในสัปดาห์นี้ นอกจากนี้กรมการจัดหางานและกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จะร่วมกันตรวจสอบสัญญาจ้างในปีหน้าให้ครอบคลุมการดูแลคนงานที่เจ็บป่วย หรือมีค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาลให้เข้มงวดยิ่งขึ้น
นายสุรชัย กล่าวต่อว่า คนงานเก็บผลไม้ป่าประเทศฟินแลนด์ฤดูกาล ปี 2022 มีทั้งสิ้น 3,622 คน เป็นคนงานเก่า 2,301 คน มีรายได้ต่ำกว่า 30,240 บาท จำนวน 40 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 1.74 และเป็นคนงานใหม่ 1,361 คน มีรายได้ต่ำกว่า 30,240 บาท จำนวน 176 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 12.93 นอกจากนี้กรมการจัดหางานยังมีการสำรวจรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายพบว่า มีแรงงานที่รับรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย 100,000 บาทขึ้นไป ร้อยละ 10.38 รายได้หลังหักค่าใช้จ่าย 50,001 – 99,999 บาท ร้อยละ 40.56 รายได้หลังหักค่าใช้จ่าย 30,000 – 50,000 บาท ร้อยละ 45.81 และรับรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายต่ำกว่า 30,000 บาท ร้อยละ 3.25
ด้านคุณรัฐธรรมนูญ มีระหันนอก ผู้แทนบริษัท เฟรนด์เบอร์รี่ จำกัด กล่าวว่า ตนเป็นผู้หนึ่งที่เริ่มจากการเป็นคนเก็บผลไม้ป่ามาก่อน ก่อนที่จะผันตัวมาเป็นผู้ประกอบการ ต้องยอมรับว่าปัญหาส่วนใหญ่มักมาจากการสื่อสารที่ไม่เพียงพอระหว่างบริษัทนายจ้าง/ผู้ประสาน และคนงานเก็บผลไม้ป่า ในปีที่ผ่านมาบริษัทมีการส่ง staff จำนวน 85 คน และส่งคนหางาน จำนวน 1,800 คน ซึ่งไม่มีแรงงานติดปัญหา หรือมาร้องเรียนแต่อย่างใด จากประสบการณ์คนงานจะไปเก็บผลไม้ป่า กลุ่มละ 6-7 คนโดยมีคนเก่าที่รู้ป่า และมีความชำนาญเป็นหัวหน้ากลุ่ม ใน 1 กลุ่ม ควรจะมีคนเก่ารวมอยู่ 4 -5 คน เพื่อคอยแนะนำดูแลคนงานใหม่ นอกจากนี้สิ่งที่พบเสมอคือ แต่ละปีผลผลิตจะไม่เท่ากัน เนื่องจากการเก็บผลไม้ป่าสวีเดนและฟินแลนด์ เป็นการเก็บผลไม้ตามธรรมชาติ ในบางแคมป์ บางโซนก็อาจได้ผลผลิตต่างกันด้วย ซึ่งในวันนี้รู้สึกยินดีอย่างมากที่กระทรวงแรงงาน เชิญมาร่วมกันหาทางออก และแลกเปลี่ยนความรู้