เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
เศรษฐกิจ-สังคม
1. เรื่อง สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 17 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564-31 สิงหาคม 2565)
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอ สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 17 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564-31 สิงหาคม 2565) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. นโยบายหลัก 8 ด้าน ประกอบด้วย
นโยบายหลัก |
มาตรการ/ผลการดำเนินงานที่สำคัญ |
1) การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ |
1.1) โครงการ 45 ปี โครงการหมู่บ้านสหกรณ์สันกำแพง อำเภอแม่ออน ตามพระราชดำริ เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัชกาลที่ 9 และเผยแพร่ พระราชกรณียกิจด้านการสร้างงานและส่งเสริมอาชีพ สืบสานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามพระดำริ 1.2) โครงการ 99 ดวงตาเพื่อทหารกล้าถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2565 เพื่อให้บริการเปลี่ยนดวงตาเทียมให้แก่ทหารผ่านศึกที่สูญเสียดวงตาและมีบริการตรวจสุขภาพดวงตา โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น |
2) การสร้างความมั่นคงความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ |
จัดกิจกรรมการ Kick off รณรงค์สวมหมวกนิรภัย 100% โดยให้ทุกจังหวัดและส่วนราชการกำหนดมาตรการที่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยเฉพาะสถานศึกษาสถานพยาบาล หน่วยงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานประกอบการและนิคมอุตสาหกรรม ให้เป็นพื้นที่สวมหมวกนิรภัย 100% รวมทั้งนำระบบเทคโนโลยีมาสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับผู้ที่ไม่สวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ และรณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ผ่านสื่อทุกช่องทางในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง |
3) การทำนุบำรุงศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม |
3.1) จัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 “ภูษาศิลป์ จากท้องถิ่นสู่สากล” โดยมีการแสดงแบบผ้าไทย การออกร้านและจำหน่ายผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้าแบบครบวงจร การเปิดเจรจาธุรกิจ (Business Matching) ในอุตสาหกรรมผ้าทั้งในและต่างประเทศ มีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 9 ล้านคน มีการเจรจาการค้า 347 คู่ โดยเป็นยอดซื้อขายทันทีภายในงานกว่า 9 ล้านบาท และคาดว่ามีเงินสะพัดจากการซื้อขายภายใน 1 ปี กว่า 463 ล้านบาท 3.2) จัดงานประชุมวิชาการทางวัฒนธรรมแห่งชาติ “วิจัยวัฒนธรรม ครั้งที่ 12” “พลังวัฒนธรรมในยุคสังคมดิจิทัล” โดยเสนองานวิจัยใน 4 หัวเรื่อง ได้แก่ (1) พลังโภชนศิลป์ (2) พลังหัตถศิลป์ (3) พลังสังคีตศิลป์ และ (4) พลังนาฏศิลป์ |
4) การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย |
4.1) เศษฐกิจมหภาค การเงินและการคลัง เช่น โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การติดตามผู้มีเงินได้ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ภ.ง.ด. 94 ปีภาษี 2565 เพื่อพัฒนานวัตกรรมการบริการด้านการแจ้งเตือนการยื่นภาษีเงินได้ภายในกำหนดเวลา และอำนวยความสะดวกให้กับผู้มีเงินได้/ผู้ประกอบการโดยการให้คำแนะนำในการชำระภาษีอากรอย่างถูกต้องและเป็นปัจจุบันรวมถึงลดภาระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางภาษีและสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ที่อยู่ในระบบภาษีอากร 4.2) พัฒนาภาคเกษตร เช่น โครงการ “คุ้มครองอุบัติเหตุ เซฟเกษตรอาสา” โดยการมอบกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุรายย่อย 20,000 กรมธรรม์ ในวงเงินเอาประกันสูงสุด 100,000 บาท รวมถึงค่าชดเชยจากการขาดรายได้ระหว่างเข้ารับการรักษาตัวในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ โดยมีอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านเป็นกลุ่มเป้าหมายนำร่อง และโครงการส่งเสริมไหมอุตสาหกรรมรังเหลืองตามนโยบายตลาดนำการผลิต “น่านโมเดล” โดยในปี 2564 มีเกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอุตสาหกรรมรังเหลือง จำนวน 305 ราย มีผลผลิตรังไหม รวม 58.3 ตัน สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเป็นเงิน 9.07 ล้านบาท 4.3) พัฒนาภาคการท่องเที่ยว เช่น การประชุมคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 60 และการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11 ระหว่างวันที่15-19 สิงหาคม 2565 โดยผลักดันแนวคิด “Regenerative Tourism : การท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน” สู่การพลิกฟื้นการท่องเที่ยวเพื่อความอยู่ดี กินดี ของประชาชน ในช่วงหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) 4.4) พัฒนาการค้าการลงทุนเพื่อมุ่งสู่การเป็นชาติการค้าการบริการและการลงทุนในภูมิภาค ได้แก่ (1) “พาณิชย์” บุกตลาดซาอุดีอาระเบียเร่งเจรจาสร้างความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อผลักดันการขายสินค้าไทย ส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2565 การค้าระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบียมีมูลค่า 194,522.17 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.24 โดยไทยส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 26 และ (2) พาณิชย์เดินหน้า “อมก๋อยโมเดล” หรือ “เกษตรพันธสัญญา” ซึ่งให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูก “ลองกอง” ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง โดยการส่งเสริมให้ห้างสรรพสินค้าและผู้ประกอบการลงนามความร่วมมือซื้อขายผลผลิตล่วงหน้ากับเกษตรกร 1,200 ราย และมีปริมาณผลผลิตกว่า 7,500 ตัน 4.5) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนาและนวัตกรรม โดยลงนามความร่วมมือในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและดิจิทัล และความร่วมมือด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการเปลี่ยนแปลงระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารแห่งประเทศญี่ปุ่น 2 ฉบับ ซึ่งมีขอบเขตการดำเนินงาน เช่น ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และข้อมูลที่เกี่ยวข้องในด้านการตรวจสภาพอากาศและการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ รวมถึงความร่วมมือภายใต้ศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และระดมสมองขับเคลื่อนอาสาสมัครดิจิทัลสร้างเครือข่ายคนดิจิทัลระดับชุมชนเสริมความรู้เท่าทันเทคโนโลยี สร้างภูมิต้านทานให้ประชาชนป้องกันการถูกหลอกลวงจากภัยออนไลน์ โดยเน้นพัฒนาคนรุ่นใหม่ที่มีจิตอาสาให้มีความรู้ความเข้าใจ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสอดคล้องกับโลกดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อจะช่วยให้คำแนะนำประชาชนในระดับพื้นที่/ชุมชนให้ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม |
5) การพัฒนาสร้างความเข้มแข็งของฐานราก |
ดำเนินโครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนและ ค่าลงทุนให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สถาบันการเงิน ประชาชน สถาบันการเงินชุมชน สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม และผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร โดยเปิดรับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ทั้งนี้ มีการอนุมัติสินเชื่อแล้ว 4,687 ราย วงเงิน 21,669 ล้านบาท |
6) การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย |
ดำเนินโครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (Science-Based Technology College: SBTC) เน้นการผลิตกำลังคนที่มีความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นเชิงเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางเทคโนโลยีให้กับ ภาคการผลิตและบริการ เพื่อนำไปสู่การยกระดับคุณภาพกำลังคนอาชีวศึกษาให้เป็นผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมและเป็นวิศวกรสังคม โดยเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2565 ได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสริมสร้างทักษะด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีจากการเรียนการสอนของวิทยาลัยต่าง ๆ และนานาประเทศ |
7) การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม |
จัดฝึกอบรมแพทย์ประจำตำบล “โครงการพัฒนาศักยภาพแพทย์ประจำตำบลการสาธารณสุขเพื่อแผ่นดิน รุ่นที่ 3” เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2565 เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพให้แก่แพทย์ประจำตำบลในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและนำความรู้ที่ได้รับไปขยายผลต่อยอดให้กับประชาชนในหมู่บ้านและตำบลตามหลักการพึ่งพาตนเองได้ มีกลุ่มเป้าหมายแพทย์ประจำตำบล 20 จังหวัด 322 คน |
8) การป้องกัน ปราบปราม ทุกจริตและประพฤติมิชอบ และกระบวนการยุติธรรม |
8.1) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ โดยกระทรวงกลาโหมร่วมกับสำนักงานศาลปกครอง เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในสังคม การพัฒนาบุคลากร และการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ 8.2) โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “เทคนิคการใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบในราชการทหาร” ในหัวข้อเรื่อง “กฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตในหน่วยงานภาครัฐ” และ “เทคนิคการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอาญาในระบบไต่สวน” เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และนำไปขยายผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ และป้องกันการกระทำผิดจากการทุจริตเพื่ออำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน มีผู้เข้าร่วมงาน 600 คน |
2. นโยบายเร่งด่วน 10 เรื่อง ประกอบด้วย
นโยบายเร่งด่วน |
มาตรการ/ผลการดำเนินงานที่สำคัญ |
1) การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน |
ช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ด้อยโอกาส เช่น ดำเนินโครงการช่วยเหลือด้านหนี้สินสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 973 แห่ง 353,267 ราย และดำเนินโครงการบริหารจัดการที่ดินทำกินแก่เกษตรกรรายย่อยและผู้ด้อยโอกาส 25,479 ราย ดำเนินการได้เกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 8.42 (เป้าหมาย 23,500 ราย) |
2) การปรับปรุงระบบสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน |
2.1) โครงการสินเชื่อกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เพื่อช่วยเหลือข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยแก้ไขปัญหาหนี้สินผู้ถูกฟ้อง ร้องผู้มีหนี้สินวิกฤติ หรือมียอดเงินเดือนเหลือไม่ถึงร้อยละ 30 มีผู้ลงทะเบียนแล้ว 41,128 ราย รวมมูลค่าหนี้ 58 ล้านบาท 2.2) โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ โดยโอนเงินให้แก่ผู้มีสิทธิผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2564-31 สิงหาคม 2565 รวม 44,873.10 ล้านบาท 2.3) จ่ายเงินสวัสดิการสังคมและเงินอื่นผ่านระบบบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม (e-Social Welfare) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564-31 สิงหาคม 2565 รวม 131,354.82 ล้านบาท |
3) มาตรการเศรษฐกิจเพื่อรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก |
ดำเนินโครงการ SME ปรับตัวรับมือ VUCA World ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (Volatility Uncertainty Complexity Ambiguity: VUCA) โดยสำนักงานส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมดำเนินการลงพื้นที่ให้ปรึกษาเชิงลึก ณ สถานประกอบการ เพื่อให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) สามารถสร้างโมเดลธุรกิจบริการใหม่ หรือปรับเปลี่ยนธุรกิจให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น 76 กิจการ และเข้าสู่กระบวนการพัฒนาปรับปรุงเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการแล้ว 5 ราย มีผลการดำเนินงานในภาพรวมร้อยละ 77.50 |
4) การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม |
4.1) ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยนวัตกรรมผลิตอาหารสัตว์ต้นทุนต่ำสำหรับ โคเนื้อและกระบือ โดยสนับสนุนทุนวิจัยให้แก่คณะวิจัยจากมหาวิทยาลัย เพื่อนำไปถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอาหารสัตว์ต้นทุนต่ำสำหรับโคขุนและกระบือให้กับเกษตรกรทดแทนการซื้ออาหารสำเร็จรูป สามารถลดต้นทุนลง 2.60 บาท/กิโลกรัม หรือ 13,000 บาท/รอบการผลิต 4.2) ดำเนินโครงการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตร เพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) เช่น พัฒนาที่ดินเพื่อสนับสนุน การปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสมตาม Agi-Map จำนวน 67,290 ไร่ และส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการผลิตพืชที่เหมาะสมตามแผนที่ Agri-Map จำนวน 2,670 ไร่ 4.3) ดำเนินโครงการประกันภัยข้าวนาปี และโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปีการผลิต 2565 ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปีขั้นพื้นฐาน 1.912 ล้านราย และภาคสมัครใจ 7,162 ราย เบี้ยประกันภัยรวม 2,891.22 ล้านบาท และโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ขั้นพื้นฐาน 70,574 ราย และภาคสมัครใจ 7 ราย เบี้ยประกันภัยรวม 221.85 ล้านบาท |
5) การยกระดับศักยภาพของแรงงาน |
5.1) กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2565 ตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 1 กันยายน 2565 โดยให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มในอัตราวันละ 8-22 บาท เป็นอัตราวันละ 328-354 บาท โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป 5.2) ขยายตลาดแรงงานไทย เช่น ส่งเสริมให้แรงานไทยไปฝึกงาน ณ ประเทศญี่ปุ่น และส่งเสริมให้แรงงานไทยไปทำงาน ณ ประเทศซาอุดีอาระเบีย 5.3) ยกระดับทักษะแรงงานนอกระบบ โดยดำเนินการยกระดับทักษะฝีมือแรงานให้แก่แรงงานนอกระบบ เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวชายทะเลฝั่งอันดามันและกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ตำบลทับปุด จังหวัดพังงา |
6) การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต |
6.1) ส่งเสริมการลงทุน โดยมีการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2565 ในพื้นที่ “เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)” (Eastern Economic Corridor: EEC) (จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง) 315 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 170,383 ล้านบาท และในพื้นที่ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ)” (Special Economic Zone: SEZ) 3 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 2,277 ล้านบาท 6.2) โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก เช่น ปรับพื้นที่สำหรับก่อสร้างทางขับระยะที่ 1 และลานจอดของศูนย์ซ่อมบำรุง อากาศยาน มีความคืบหน้าร้อยละ 93.67 และโครงการงานระบบไฟฟ้าและน้ำเย็นมีความคืบหน้าร้อยละ 76.40 |
7) การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 |
7.1) จัดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2565 ในรูปแบบ Science Carnival และงาน “NST Fair Science Carnival Bangkok” ภายใต้แนวคิด “วิทย์ปลุกชีวิต” เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนไทยเกิดความตระหนักรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 7.2) สร้างความรู้ความเข้าใจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สื่อออนไลน์ และโครงข่ายสังคมออนไลน์ของคนไทย โดยเปิดตัวเว็บ www.คลิปหลุดทำไง.com รับแจ้งเหตุล่วงละเมิดทางเพศ สื่อลามกเด็กผ่านออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง |
8) การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ |
8.1) ปราบปรามยาเสพติด โดยมีการจับกุมคดียาเสพติด 23,564 คดี ผู้ต้องหา 23,330 คน และยึดของกลาง เช่น ยาบ้า 44.55 ล้านเม็ด ไอซ์ 930.73 กิโลกรัม และเฮโรอีน 52.93 กิโลกรัม 8.2) ดำเนินโครงการตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้และส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น ปรับปรุงพื้นที่ปลูกข้าวให้มีความเหมาะสม ในพื้นที่ 2,983 ไร่ และให้บริการด้านการผลิตพืชแก่เกษตรกร โดยจัดทำแปลงขยายผลการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชให้กับ เกษตรกรต้นแบบ 480 ราย |
9) การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน |
9.1) พัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์การบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศระยะที่ 4 แล้วเสร็จ ทำให้ผู้หางานสามารถยื่นคำขอส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศได้ 2 วิธี คือ (1) ผ่านระบu e-Service เและ (2) ยื่นคำขอ ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด ทั้งนี้ กรณีคนหางานแจ้งการเดินทางด้วยตนเองเริ่มเปิดให้ใช้บริการตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป 9.2) อำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจให้แก่บุคลากรทักษะสูง/ผู้เชี่ยวชาญ นักลงทุน ผู้บริหาร และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานหรือลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศผ่านวีช่าประเภทพิเศษ SMART Visa ตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2565 มีผู้ผ่านการรับรองคุณสมบัติทั้งสิ้น 268 คำขอ 9.3) จ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินในพื้นที่กรุงเทพมหานครระหว่างวันที่ 1-31 สิงหาคม 2565 จำนวน 179 ครัวเรือน 508 คน แบ่งเป็น อัคคีภัย 154 ครัวเรือน 458 คน 3.60 ล้านบาท และวาตภัย 25 ครัวเรือน 50 คน 203,560 บาท ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564-31 สิงหาคม 2565 ได้จ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติแล้ว 918 ครอบครัว 2,265 คน รวมทั้งสิ้น 15.39 ล้านบาท |
10) การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย |
10.1) จัดการน้ำท่วมอุทกภัย เช่น (1) โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จังหวัดสงขลา (งานปรับปรุงสะพานรถไฟ ความยาว 110 เมตร) มีผลการดำเนินงานร้อยละ 98.33 (2) โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ขุดคลองระบายน้ำหลากพร้อมอาคารประกอบ) มีผลการดำเนินงานร้อยละ 26.63 และ (3) โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ (ระยะที่ 1) (ก่อสร้างคลองผันน้ำลำปะทาว-สระเทวดาพร้อมอาคารประกอบ) มีผลการดำเนินงาน ร้อยละ 18.26 10.2) ช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ระหว่างวันที่ 9 พฤษภาคม-7 สิงหาคม 2565 ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรด้านพืช ใน 24 จังหวัด เกษตรกรได้รับผลกระทบ 40,803 ราย พื้นที่เสียหาย 255,505 ไร่ ดำเนินการช่วยเหลือแล้ว 181 ราย ในพื้นที่ 561 ไร่ วงเงิน 0.93 ล้านบาท และกลุ่มเกษตรกรด้านประมง ใน 15 จังหวัด เกษตรกรได้รับผลกระทบ 2,513 ราย พื้นที่เสียหาย 2,146 ไร่ ดำเนินการช่วยเหลือแล้ว 335 ราย ในพื้นที่ 283 ไร่ วงเงิน 1.42 ล้านบาท |
2. เรื่อง การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจของบริษัท อีแกท ไดมอนด์ เซอร์วิส จำกัด
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจของบริษัท อีแกท ไดมอนด์ เซอร์วิส จำกัด (บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ) จากภารกิจหลักที่ได้รับอนุมัติในคราวจัดตั้งบริษัทตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552 เพื่อให้บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ สามารถขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจ ภายใต้หลักเกณฑ์การจัดตั้ง/ร่วมทุนในบริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจ ดังนี้
1. Maintenance Service Center: การให้บริการบำรุงรักษาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง
2. Parts Manufacturing: การผลิตชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง
3. Operation Services: การให้บริการรับเดินเครื่องโรงไฟฟ้า ซึ่งบริษัท Mitsubishi Heavy Industries, Ltd. (บริษัท MHI) หรือบริษัท Mitsubishi Power, Ltd. (บริษัท MP) หรือบริษัท Mitsubishi Corporation1 (บริษัท MC) ได้รับสิทธิในงานดังกล่าว
สาระสำคัญของเรื่อง
พน. รายงานว่า
1. ภาพรวมของบริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ
บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2552 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552 โดยมีทุนจดทะเบียน ผู้ถือหุ้นและการให้บริการธุรกิจ สรุปได้ ดังนี้
รายการ |
สาระสำคัญ |
1.1 ทุนจดทะเบียน |
จำนวน 623 ล้านบาท แบ่งเป็นจำนวนหุ้น 6.23 ล้านหุ้น มีมูลค่าที่ตราไว้ที่หุ้นละ 100 บาท |
1.2 ผู้ถือหุ้น |
จำนวน 4 ราย ได้แก่ (1) กฟผ. ถือหุ้นร้อยละ 45 (2) บริษัท Mitsubishi Power Asia Pacific Pte. Ltd. (บริษัท MPAP) ถือหุ้นร้อยละ 30 (3) บริษัท MC ถือหุ้นร้อยละ 15 (4) บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นร้อยละ 10 |
1.3 การให้บริการธุรกิจ |
ประกอบธุรกิจตามสัญญาร่วมทุนระหว่างผู้ถือหุ้น (Joint Venture Agreement: JVA) ในการให้บริการซ่อมชิ้นส่วน Hot Gas Path ของเครื่องกังหันก๊าซที่ผลิตโดยบริษัท MHI/บริษัท MPAP และเครื่องกังหันก๊าซที่ผลิตโดยผู้ผลิตรายอื่นครอบคลุมพื้นที่ให้บริการทั้งในและต่างประเทศ โดยปัจจุบันสามารถดำเนินการซ่อมชิ้นส่วน Hot Gas Path Parts ยี่ห้อ Mitsubishi รุ่น M701D, M701F และ M251S ยี่ห้อ General Electric รุ่น 9E, 6B และ 9FA และยี่ห้อ Siemens รุ่น V94.3A |
2. เหตุผลความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจ
ประเด็น |
สาระสำคัญ |
2.1 ผลประกอบการของบริษัทมีแนวโน้มลดลง |
ปริมาณงานซ่อมชิ้นส่วนเครื่องกังหันก๊าซไม่เป็นไปตามประมาณการไว้ เนื่องจาก Disruptive Technology และการสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ในการผลิตไฟฟ้า ดังนั้น เพื่อให้บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ ยังคงมีผลประกอบการที่มั่นคงและเติบโตอย่างต่อเนื่องยั่งยืน จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจ เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้มากขึ้นในขอบเขตธุรกิจที่บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ มีความชำนาญ |
2.2 ผลกระทบจาก Disruptive Technology |
ปัจจุบัน มีการขยายตัวของการผลิตและการใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้โรงงานไฟฟ้าประเภทกังหันก๊าซต้องลดกำลังการผลิตในบางส่วน และส่งกระทบต่อแผนการซ่อมบำรุงของโรงไฟฟ้าที่ต้องยืดระยะเวลาออกไป ซึ่งส่งผลต่อรายได้จากงานซ่อมของบริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ ที่จะลดลงในอนาคต |
2.3 ความต้องการพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง |
ด้วยบริบทของอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไป การดำเนินธุรกิจซ่อมชิ้นส่วนเครื่องกังหันก๊าซอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ดังนั้น บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ จึงเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจด้วยการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจหลัก (Core Business) ขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจซ่อมชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องกังหันก๊าซ (Refurbishment) โดยเพิ่มธุรกิจบำรุงรักษา (Maintenance) เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน |
2.4 ความต้องการต่อยอดความเชี่ยวชาญของบุคลากร |
ด้วยบุคลากรของบริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ มีความเชี่ยวชาญในด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับงานซ่อมบำรุงเครื่องกังหันก๊าซอีกด้วย ซึ่งสามารถต่อยอดไปสู่การดำเนินธุรกิจ Maintenance รวมถึงการให้บริการด้านการบริหารจัดการอะไหล่แก่โรงไฟฟ้าและธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง โดยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในปัจจุบันของบริษัทให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด |
3. การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจ
3.1 บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ จะขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจจากการให้บริการซ่อมชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องกังหันก๊าซ โดยเพิ่มการให้บริการที่ครอบคลุมการบำรุงรักษาและการผลิตชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง โดยแบ่งเป็น 2 ธุรกิจหลัก ได้แก่ (1) ธุรกิจการให้บริการบำรุงรักษา (Maintenance Service Center) และ (2) ธุรกิจการผลิตชิ้นส่วน (Parts Manufacturing) สรุปได้ ดังนี้
วัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจของบริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552 |
การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจ ของบริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ |
(1) การซ่อมชิ้นส่วน Hot Gas Path (ชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องกังหันก๊าซ) สำหรับเครื่องกังหันก๊าซที่ผลิตโดยบริษัท MHI หรือที่ผลิตโดยผู้ผลิตรายอื่น ๆ (2) ให้บริการซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าสำหรับโรงไฟฟ้าที่ใช้เครื่อง Gas Turbine ของบริษัท MHI |
(1) Maintenance Service Center: การให้บริการบำรุงรักษาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง (งานตามภารกิจหลักในปัจจุบัน ในข้อ 1 และ 2 แต่มีบางส่วนของงานที่ขยายเพิ่มเติม) |
(2) Parts Manufacturing: การผลิตชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง (งานที่ขยายเพิ่มเติมจากภารกิจหลักในปัจจุบัน) |
|
(3) ให้บริการรับเดินเครื่องโรงไฟฟ้าซึ่งบริษัท MHI หรือ บริษัท MC ได้รับสิทธิในงานดังกล่าว |
(3) Operation Services: การให้บริการรับเดินเครื่องโรงไฟฟ้า ซึ่งบริษัท MHI หรือบริษัท MP หรือบริษัท MC ได้รับสิทธิในงานดังกล่าว (งานตามภารกิจเดิมตามข้อ 3) |
3.2 บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ ได้วิเคราะห์ความสอดคล้องของแผนธุรกิจใหม่กับหลักเกณฑ์การจัดตั้ง/ร่วมทุนและกำกับดูแลบริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจ พบว่า แผนธุรกิจใหม่ยังมีความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยการขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจดังกล่าวเป็นการต่อยอดจากธุรกิจดำเนินการอยู่ในปัจจุบันและยังคงเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง โดยไม่เป็นการดำเนินการที่เป็นภารกิจหลักของ กฟผ. แต่เป็นงานที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับภารกิจหลักของ กฟผ. ทั้งนี้ บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ ไม่ได้รับสิทธิพิเศษจาก กฟผ. แต่อย่างใด และไม่ได้ดำเนินธุรกิจที่มีการแข่งขันกับเอกชน2
3.3 ในการดำเนินแ