ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
สถ.-สสส.-มูลนิธินวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม สานพลังภาคีจัดใหญ่ มหกรรม “FUTURE IS NOW ท้องถิ่นของคนรุ่นใหม่”
22 พ.ย. 2565

 สถ.-สสส.-มูลนิธินวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม สานพลังภาคีจัดใหญ่ มหกรรม “FUTURE IS NOW ท้องถิ่นของคนรุ่นใหม่” โชว์ผลงาน 30 อปท.ต้นแบบด้านการมีส่วนร่วมของสภาเด็กฯ พร้อมเดินหน้าพัฒนาแพลตฟอร์มเรียนรู้ออนไลน์ ขยายการดำเนินงานครอบคลุมครบกว่า 7,000 แห่งทั่วประเทศ 

เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 65 ที่อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ มูลนิธินวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดมหกรรม “FUTURE IS NOW ท้องถิ่นของคนรุ่นใหม่” และพิธีมอบรางวัลรางวัลตำบลต้นแบบด้านการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชน เพื่อเป็นเวทีสะท้อนแนวคิด ความฝัน ความมุ่งมั่นของตัวแทนคนรุ่นใหม่ในฐานะสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบลทั่วประเทศ 

นายทวี เสริมภักดีกุล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กล่าวว่า การให้สิทธิเด็กมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น เป็น 1 ใน 4 ของสิทธิเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งรัฐบาลไทยให้ความสำคัญ ผ่านกลไกพัฒนาเครือข่ายเด็กและเยาวชนทุกระดับ โดยเฉพาะในรูปแบบสภาเด็กและเยาวชน เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนมีพื้นที่สร้างการสื่อสารเชิงบวก แลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดอย่างสร้างสรรค์ โดย สถ. สสส. และมูลนิธินวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม สานพลังขับเคลื่อนโครงการตำบลต้นแบบสร้างการเรียนรู้ด้านการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชน ส่งเสริม พัฒนาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมสภาเด็กและเยาวชน เกิดระบบสนับสนุนในท้องถิ่น ตลอดจนขยายผลพื้นที่ต้นแบบ เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับ อปท.อื่นที่สนใจ

นายโชติเวชญ์ อึ้งเกลี้ยง ประธานมูลนิธินวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม กล่าวว่า งานนี้ เป็นการบอกเล่าความสำเร็จจากการสานพลังระหว่าง สถ. สสส. และมูลนิธินวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม ในการดำเนินโครงการตำบลต้นแบบสร้างการเรียนรู้ด้านการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชน ตั้งแต่ปี 2564 สนับสนุนกิจกรรมของคนรุ่นใหม่ผ่านพื้นที่สร้างสรรค์ จนเกิดเป็นตำบลต้นแบบด้านสภาเด็กและเยาวชน  30 แห่งทั่วประเทศ จัดงานขึ้น 3 วัน 2 วันที่ผ่านมาเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง อปท.ต้นแบบและ อปท.ที่สนใจ ส่วนวันนี้มีพิธีมอบโล่รางวัลเชิดชูเกียรติตำบลต้นแบบ 30 แห่ง นิทรรศการ “Future is now” ที่ผู้ชมสามารถมีส่วนร่วมได้ 5 โซน อาทิ อนุสาวรีย์แห่งการมีส่วนร่วม How are You(th) บอกเล่าความฝันและความหวังของคนรุ่นใหม่ ไฮไลท์คือ MUSIC TALK นำเสนอประสบการณ์และแนวคิดการทำกิจกรรมแบบมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ผ่านบทเพลง มีผู้บริหาร สมาชิกสภาเด็กและเยาวชน ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ อปท. ภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนงานด้านเด็กและเยาวชน ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมกว่า 400 คน  

นางสาวณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็กเยาวชน และครอบครัว สสส. กล่าวว่า สภาเด็กและเยาวชนระดับท้องถิ่น นับเป็นพื้นที่เรียนรู้ที่สำคัญเพราะเปิดโอกาสให้เด็กทำกิจกรรมด้วยตัวเอง โดยเฉพาะสำหรับเด็กและเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในเขตเมืองใหญ่ซึ่งไม่ค่อยมีแหล่งเรียนรู้ในชุมชนมากนัก สภาเด็กฯ มีความสำคัญใน 4 มิติ 1.เป็นพื้นที่เรียนรู้ที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน 2.ให้โอกาสเด็กได้เรียนรู้ พัฒนาทักษะ ผ่านการทำกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ในชุมชน 3.ให้โอกาสมีส่วนร่วมออกแบบ หรือผลักดันนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชน 4.มีส่วนช่วยลดช่องว่างความเข้าใจระหว่างวัย ด้วยการมีพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ได้แสดงความคิดเห็น ซึ่งขณะนี้ สถ. สสส. และมูลนิธินวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม อยู่ระหว่างพัฒนาเว็บไซต์ coach for change เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ส่งเสริมความเข้าใจเรื่องการพัฒนาเยาวชนเชิงบวกและส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย เพื่อให้ อปท.กว่า 7.000 แห่งทั่วประเทศ ได้เรียนรู้ และนำไปปรับใช้ในการสนับสนุนสภาเด็กและเยาวชน ซึ่งมีเด็กและเยาวชนจำนวน 20 - 25 คนต่อ อปท. รวมเกือบ 200,000 คน ถือเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่เข้าถึงเด็กและเยาวชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

สถ.-สสส.-มูลนิธินวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม สานพลังภาคีจัดใหญ่ มหกรรม “FUTURE IS NOW : ท้องถิ่นของคนรุ่นใหม่” โชว์ผลงาน 30 อปท.ต้นแบบด้านการมีส่วนร่วมของสภาเด็กฯ พร้อมเดินหน้าพัฒนาแพลตฟอร์มเรียนรู้ออนไลน์ ขยายการดำเนินงานครอบคลุมครบกว่า 7,000 แห่งทั่วประเทศ 

เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2565 ที่อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ มูลนิธินวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดมหกรรม “FUTURE IS NOW : ท้องถิ่นของคนรุ่นใหม่” และพิธีมอบรางวัลรางวัลตำบลต้นแบบด้านการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชน เพื่อเป็นเวทีสะท้อนแนวคิด ความฝัน ความมุ่งมั่นของตัวแทนคนรุ่นใหม่ในฐานะสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบลทั่วประเทศ 

นายทวี เสริมภักดีกุล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กล่าวว่า การให้สิทธิเด็กมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น เป็น 1 ใน 4 ของสิทธิเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งรัฐบาลไทยให้ความสำคัญ ผ่านกลไกพัฒนาเครือข่ายเด็กและเยาวชนทุกระดับ โดยเฉพาะในรูปแบบสภาเด็กและเยาวชน เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนมีพื้นที่สร้างการสื่อสารเชิงบวก แลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดอย่างสร้างสรรค์ โดย สถ. สสส. และมูลนิธินวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม สานพลังขับเคลื่อนโครงการตำบลต้นแบบสร้างการเรียนรู้ด้านการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชน ส่งเสริม พัฒนาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมสภาเด็กและเยาวชน เกิดระบบสนับสนุนในท้องถิ่น ตลอดจนขยายผลพื้นที่ต้นแบบ เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับ อปท.อื่นที่สนใจ

นายโชติเวชญ์ อึ้งเกลี้ยง ประธานมูลนิธินวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม กล่าวว่า งานนี้ เป็นการบอกเล่าความสำเร็จจากการสานพลังระหว่าง สถ. สสส. และมูลนิธินวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม ในการดำเนินโครงการตำบลต้นแบบสร้างการเรียนรู้ด้านการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชน ตั้งแต่ปี 2564 สนับสนุนกิจกรรมของคนรุ่นใหม่ผ่านพื้นที่สร้างสรรค์ จนเกิดเป็นตำบลต้นแบบด้านสภาเด็กและเยาวชน  30 แห่งทั่วประเทศ จัดงานขึ้น 3 วัน 2 วันที่ผ่านมาเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง อปท.ต้นแบบและ อปท.ที่สนใจ ส่วนวันนี้มีพิธีมอบโล่รางวัลเชิดชูเกียรติตำบลต้นแบบ 30 แห่ง นิทรรศการ “Future is now” ที่ผู้ชมสามารถมีส่วนร่วมได้ 5 โซน อาทิ อนุสาวรีย์แห่งการมีส่วนร่วม How are You(th) บอกเล่าความฝันและความหวังของคนรุ่นใหม่ ไฮไลท์คือ MUSIC TALK นำเสนอประสบการณ์และแนวคิดการทำกิจกรรมแบบมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ผ่านบทเพลง มีผู้บริหาร สมาชิกสภาเด็กและเยาวชน ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ อปท. ภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนงานด้านเด็กและเยาวชน ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมกว่า 400 คน  

นางสาวณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็กเยาวชน และครอบครัว สสส. กล่าวว่า สภาเด็กและเยาวชนระดับท้องถิ่น นับเป็นพื้นที่เรียนรู้ที่สำคัญเพราะเปิดโอกาสให้เด็กทำกิจกรรมด้วยตัวเอง โดยเฉพาะสำหรับเด็กและเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในเขตเมืองใหญ่ซึ่งไม่ค่อยมีแหล่งเรียนรู้ในชุมชนมากนัก สภาเด็กฯ มีความสำคัญใน 4 มิติ 1.เป็นพื้นที่เรียนรู้ที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน 2.ให้โอกาสเด็กได้เรียนรู้ พัฒนาทักษะ ผ่านการทำกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ในชุมชน 3.ให้โอกาสมีส่วนร่วมออกแบบ หรือผลักดันนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชน 4.มีส่วนช่วยลดช่องว่างความเข้าใจระหว่างวัย ด้วยการมีพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ได้แสดงความคิดเห็น ซึ่งขณะนี้ สถ. สสส. และมูลนิธินวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม อยู่ระหว่างพัฒนาเว็บไซต์ coach for change เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ส่งเสริมความเข้าใจเรื่องการพัฒนาเยาวชนเชิงบวกและส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย เพื่อให้ อปท.กว่า 7.000 แห่งทั่วประเทศ ได้เรียนรู้ และนำไปปรับใช้ในการสนับสนุนสภาเด็กและเยาวชน ซึ่งมีเด็กและเยาวชนจำนวน 20 - 25 คนต่อ อปท. รวมเกือบ 200,000 คน ถือเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่เข้าถึงเด็กและเยาวชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นางสาวณัฐยา บุญภักดี ยังกล่าวอีกว่า สสส.เราให้ความสำคัญแก่เด็กและเยาวชน โดยมีการเริ่มต้นมา 10 กว่าปีแล้ว มีการวิจัย การที่เด็กและเยาวชนที่อยู่ในท้องถิ่น สามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อให้คุณภาพชีวิต ของเด็กจะได้รับการดูแล พอเขาโตเป็นวัยรุ่น จะได้มีการพัฒนาตนเองและมีส่วนร่วม เพราะจากการวิจัยแล้วพบว่า เด็กนั้นมีบทบาทและมีแนวคิด การพัฒนาในเชิงบวก ทำให้มีศักยภาพในแนวคิดได้ดี ซึ่งทาง สสส.นั้น ได้มีการฝึกอบรม บุคลากร ให้ความรู้ ความเข้าใจ สามารถไปทำกิจกรรมให้เด็กและเยาวชน มีการพัฒนาให้ดีขึ้นและเป็นต้นแบบ ดังนั้นจึงได้มีการดำเนินการเพื่อให้ได้ศักยภาพ โดยเปิดให้มีแหล่งเรียนรู้ ฝึกการเรียนรู้ให้กับท้องถิ่นร่วมกับ สสส. ซึ่งจริงๆเด็กทุกคนสามารถเข้ามาเป็นสมาชิกของสภาเด็กและเยาวชนได้เลย โดยไม่จำกัดแต่ขอให้เป็นเด็กในท้องถิ่นนั้น สำหรับด้านความสำเร็จนั้นเราต้องยอมรับว่าเราเพิ่งเป็นการเริ่มต้น ซึ่งเป็นภารกิจหนึ่งของกรม แต่เราก็ได้มีการดำเนินการและส่งมอบ การทำงานเพื่อต่อยอด ให้กลับตำบลต้นแบบ ให้มีศักยภาพ เพื่อให้ตำบลอื่นๆรอบๆ โดยตำบลต้นแบบ 30 แห่งนี้มีศักยภาพจะไปถ่ายทอดความรู้ ให้กับตำบลอื่นๆ รอบๆหรือว่าเป็น เหมือนใจกลาง ดังนั้นจึงถือว่าเป็นศักยภาพของท้องถิ่น

สมเกียรติ ทรัพย์เฉลิม / หน.ข่าวภูมิภาค

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...