นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 28 พ.ย. 2565 ที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขโรคโควิด-19 ให้ความเห็นชอบแนวทางการรักษาโรคโควิด-19 ฉบับที่ 26 พร้อมจัดประชุมแพทย์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลทำความเข้าใจ
แนวทางการรักษาโรคโควิด-19 ฉบับที่ 26 จะมีการปรับเพิ่มการใช้ Long Acting Antibody (LAAB) หรือภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป ในการรักษาผู้ป่วยโรคกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง แม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีอาการจะรักษาแบบผู้ป่วยนอก
ยาที่ใช้รักษาโควิด-19 ได้แก่
สาระสำคัญที่มีการปรับปรุง แบ่งเป็น 4 กรณี
1. ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือสบายดี ให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก ให้ปฏิบัติตนป้องกันอย่างเคร่งครัดอย่างน้อย 5 วัน
2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง/โรคร่วมสำคัญ ให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก ให้ปฏิบัติตนป้องกันอย่างเคร่งครัดอย่างน้อย 5 วัน ให้การดูแลรักษาตามอาการ ตามดุลยพินิจของแพทย์
3. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือมีโรคร่วมสำคัญ หรือผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง แต่มีปอดอักเสบเล็กน้อยถึงปานกลางยังไม่ต้องให้ออกซิเจน ให้ยาต้านไวรัส เป็นแพกซ์โลวิด หรือเรมเดซิเวียร์ หรือ LAAB หรือภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป หรือโมลนูพิราเวียร์
4. ผู้ป่วยยืนยันที่มีปอดอักเสบรุนแรง ไม่เกิน 10 วัน หลังจากมีอาการ และได้รับออกซิเจน แนะนำให้เรมเดซิเวียร์ โดยเร็วที่สุดเป็นเวลา 5-10 วันขึ้นกับอาการทางคลินิก ควรติดตามอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
สำหรับเตียงรองรับผู้ป่วยโควิด-19
ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่าจนถึงปีใหม่ เตียงระดับ 3 น่าจะไม่ถึงร้อยละ 50 เพราะความรุนแรงของโรคไม่เหมือนเดิม และคาดว่าคงไม่มีสถานการณ์ที่ทำให้เราต้องเปิดโรงพยาบาลสนาม หรือต้องยุบเตียงรักษาโรคอื่นๆ มาเพิ่มเตียงสำหรับผู้ป่วยโควิดเหมือนในอดีต
ขอให้ประชาชนระวังป้องกันตัวเอง แต่ก็ไม่ควรวิตกกังวล เพื่อให้ชีวิตได้เดินหน้าต่อไป