พบซากฟอสซิลฟันกรามแรด สภาพสมบูรณ์ ที่ถ้ำยายรวก อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ คาดอยู่ในยุคน้ำแข็ง อายุ 80,000 ถึง 200,000 ปี เผยที่ผ่านมาพเคยบฟอสซิลฮายีน่าลายจุด มาแล้ว จนท.ส่งพิสูจน์ที่ห้องปฏิบัติการฯ
วันที่ 13 ธ.ค.65 จนท.กรมทรัพยากรมทรัพยากรธรณี พร้อมด้วย นักวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาชิกชมรมคนรักถ้ำ จ.กระบี่ และผู้นำชุมชน ช่วยกันนำซากฟอสซิลฟันแรดยุคดึกดำบรรพ์ พร้อมฟันกรามขนาดใหญ่ ออกจากถ้ำยายรวก บ้านถ้ำเพชร ตำบลอ่าวลึกเหนือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ หลังพบฝังอยู่ในแผ่นหิน ซึ่งร่วงหล่นลงมาตั้งอยู่บนพื้นภายในถ้ำ สร้างความตื่นเต้นแก่คณะที่เข้าสำรวจเป็นอย่างมาก จนท.จึงทำการสกัดเพื่อแบ่งหินส่วนที่คาดว่าไม่ใช่ฟอสซิลออก ก่อนที่จะนำชิ้นส่วนกรามแรดออกมา ซึ่งต้องทำอย่างระมัดระวัง เนื่องจากหินแข็งมากเกรงจะกระทบกระเทือนชิ้นส่วนฟอสซิกรามแรด จนท.จึงตัดสินใจยกออกมาทั้งแผ่น และช่วยกันหามออกมาอย่างยากลำลำบสก ก่อนที่จะนำไปตรวจพิสูจน์ที่ห้องปฏิบัติการ สภาบันภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อพิสูจน์ว่าเป็นกระดูกฟันกรามของแรดชนิดใด
นายนิวัฒน์ วัฒนยมนาพร หนึ่งในทีมงานชมรมคนรักถ้ำกระบี่ เปิดเผยว่า นับเป็นความโชคดี ของคณะทีมงานที่เข้าไปสำรวจ จากที่ได้แซะดูผิวพื้นแผ่นหินดินโบราณ เห็นร่องรอยกรามแรดค่อนข้างสมบูรณ์มาก และน่าจะมีกรามสองชิ้นที่ฝังอยู่ด้านใน แต่เนื่องจากจุดที่พบแผ่นหินที่มีฟันกรามของแรดดังกล่าว ตลอดระยะเวลา 3ปีที่ผ่านมามีการเข้าไปสำรวจวิจัยหลายครั้ง เดินย่ำไปย่ำมาแต่ก็ไม่มีใครสังเกตุ จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 10 ธ.ค.ที่ผ่านมา ทางคณะจากกรมทรัพยากรธรณีวิทยา นำโดยผศ.ดร.กันตภณ สุระประสิทธิ์ อาจารย์ประจำภาคธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาจัดสัมมนาพิเซษที่ อ.อ่าวลึก จึงได้มีการเข้าไปสำรวจอีกครั้ง นับเป็นการสำรวจพบฟอสซิล ยุคดึกดำบรรพ์ ที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่ง ทั้งนี้ภายในถ้ำยายรวกที่ผ่านมามีการสำรวจพบฟอสซิลฮายีน่าลายจุดมาแล้ว หลังจากนี้ก็จะต้องรอผลการพิสูจน์ว่าซากฟอสซิลฟันกรามที่พบจะเป็นฟอสซิลของแรดอินเดีย หรือแรดชวา
ดร.กันตภณ สุระประสิทธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา จากการตรวจสอบภายถ้ำยายรวก อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ พบซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ด้วยกัน ประกอบด้วย ไฮยีนาลายจุด แรดชวา กวางป่า และเม่นใหญ่แผงคอยาว จากการ คาดคะเนอายุเบื้องต้น น่าจะอยู่ในช่วงตั้งแต่ช่วงปลายของสมัยไพลสโตซีนตอนล่างไปจนถึงช่วงต้นของสมัยไพลสโตซีนตอนปลาย (Middle to Late Pleistocene) หรือประมาณ 200,000-80,000 ปี ที่ผ่านมา
กระบี่