อ.พบพระ ทำพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้วยกรมการพัฒนาชุมชนกำหนดให้อำเภอค้ดเลือกตำบลนำร่องในการชับเคลื่อนตำบลเข้มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2566 ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอพบพระ จังหวัดตาก นายสัญญา เพชรเศษ นายอำเภอพบพระ เป็นประธานในการลงนาม"กิจกรรมร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)" ร่วมกับ นายพิพัฒน์ ปิ่นฑสิริ พัฒนาการอำเภอพบพระ พร้อมทั้งหัวหน้าส่วนราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ร่วมเป็นสักขีพยาน โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพบพระ ได้คัดเลือกตำบลช่องแคบ เป็นตำบลนำร่องในการขับเคลื่อนตำบล เข้มแข็ง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยมีความพร้อม ทั้งผู้นำชุมชน อาสาสมัคร กลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 7 ภาคีเครื่อข่ายในการขับเคลื่อน โดยมี 7 ภาคีเครือข่ายส่วนราชการ 7 หน่วยงานในพื้นที่อำเภอพบพระ ดังนี้ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ , สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ , โรงเรียนพบพระวิทยาคม , สำนักงานท้องถิ่นอำเภอ , สำนักงานเกษตรอำเภอ , สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ และศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ซึ่งจะได้บูรณาการความร่วมมือกันทุกภาคส่วน ในการขับเคลื่อนตำบลเข็มแข็ง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ตำบลมีความข้มแข็งอย่างยั่งยืน เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ประชาชนในตำบลน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติจนเป็นวิถี มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีการเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเอง จึงได้จัดกิจกรรมร่วมลงนาม
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ขึ้นในการนี้ ขอให้ผู้นำชุมชน อาสาสมัคร กลุ่ม/องค์กร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 7 ภาคีเครือข่ายได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) จำนวน 2 ฉบับ
สำหรับกิจกรรมร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้วยกรมการพัฒนาชุมชนกำหนดให้อำเภอค้ดเลือกตำบลนำร่องในการชับเคลื่อนตำบลเข้มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็นตำบลที่มีความเข้มแข็งใน 3 มิติ ดังนี้ มิติด้านความมั่นคง ได้แก่ด้านอาหาร เช่น การสร้างแหล่งอาหารที่มีความปลอดภัย มีการแบ่งปัน และมีการจัดทำ ความมั่งคงในชีวิต เช่น การสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ส่งเสริมการออม สนับสนุนการจัดตั้งกองทุนขุมชนความสามัคคีปรองดอง เช่น กิจกรรมสาธารณะ กิจกรรมจิตอาสาการยึคหลักประชาธิปไตยการปลอดอบายมุง/ยาเสพติด เช่น มีการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ขับเคลื่อนโครงการกองทุนแม่ของแผ่นดินการบริหารจัดการชุมชน เช่น การจัดทำแผนชุมชน แผนพัฒนาหมู่บ้าน และร่วมกันขับเคลื่อนมิติด้านความมั่งคั่ง ได้แก่ด้านการสร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เช่น กิจกรรมแก้จน มิติ หรือการจัดสวัสดิการเพิ่มเติมด้านแหล่งเงินทุนและหนี้สิน เช่น ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งทุนของชุมชน โดยเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลด้านเศรษฐกิจชุมชนเข้มเข็ง เช่น ส่งเสริมการผลิต การแปรรูป การตลาด การท่องเที่ยวโดยชุมชนมิติด้านความยั่งยืน ได้แก่ การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติจนเป็นวิถีด้านการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ถังขยะเป็ยกลดโลกร้อน ด้านการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเอง เช่น สนับสนุนการขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้ชุมชนศูนย์ผู้นำจิตอาสาฯ ด้านการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคีพัฒน เช่น เชื่อมโยงและจัดกิจกรรมเครือข่าย ซึ่งสำนักงานได้พัฒนาชุมชนอำเภอได้คัดเลือกตำบลช่องแคบ เป็นตำบลนำร่องในการขับเคลื่อนตำบลเข้มแข็ง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เกษมสันต์ ไชยเดช ทีมข่าว จ.ตาก