ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ขอชี้แจงข้อเท็จจริงประเด็น การรับเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ต.ท่าชนะ จ.สุราษฏร์ธานี ดังนี้
01 ก.ค. 2560

จากกรณีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2560 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีการมอบเงินช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ณ อาคารเอนกประสงค์ เทศบาลตำบลท่าชนะ ขณะที่ผู้สื่อข่าวกำลังสัมภาษณ์ประชาชนที่ไม่มีรายชื่อผู้ได้รับความช่วยเหลือ หรือได้รับความช่วยเหลือในวงเงินที่ไม่เท่ากัน นายสนอง แดงบุญ นายกเทศบาลตำบลท่าชนะ ได้เข้ามาอธิบายขั้นตอนในการดำเนินการ ว่าทางเทศบาลเป็นเพียงผู้รับคำร้องส่งให้แก่อำเภอ ผ่านคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ (กชภ.อ.) และให้แก่จังหวัด ผ่านคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด (กชภ.จ.) ในการพิจารณาช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกระทรวงการคลัง โดยมีการจ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่ประชาชน ผ่านเทศบาลตำบลท่าชนะ จนเกิดเหตุการณ์ มีปากเสียงกันระหว่างผู้สื่อข่าว ประชาชนที่ให้สัมภาษณ์ และนายวิรัตน์ คงแก้ว สมาชิกสภาเทศบาลตำบล ท่าชนะ จนถึงขั้นมีการชกต่อยกันขึ้น นั้น

ล่าสุด ในวันนี้ (1 กรกฎาคม 2560) สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้มีหนังสือนำเรียนผู้ว่าราชการจังหวัดในกรณีดังกล่าวแล้ว (ในฐานะกำกับดูแลในภาพรวมของการบริหารงานเทศบาล ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 ม.71) โดยเทศบาลตำบลท่าชนะ ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยจะให้แล้วเสร็จภายในวันอังคารที่ 4 กรกฎาคม 2560 หากมีพฤติกรรมที่เสื่อมเสีย จะเสนอต่อสภาเทศบาล เพื่อพิจารณาตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 19(5) ให้พ้นจากสมาชิกสภาต่อไป

สำหรับกรณีผู้ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุอุทกภัย แต่ไม่มีรายชื่อในการรับเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย เกิดจากผู้ได้รับความเดือดร้อนไม่ได้แจ้งทางเทศบาลภายในวันที่กำหนด ซึ่งทางเทศบาลตำบลท่าชนะได้ประสานกับสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานีและคณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยระดับอำเภอ รวมถึงหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ในพื้นที่ เพื่อหาแนวทางในการเยียวยาให้แก่   ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน โดยมีกำหนดประชุมในวันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม 2560 ส่วนกรณีผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน ได้รับเงินช่วยเหลือที่แตกต่างกันนั้น มี 2 กรณี ได้แก่ 1. กรณีเครื่องมือประกอบอาชีพได้รับความเสียหาย ระเบียบฯ และหลักเกณฑ์ พิจารณาให้ความช่วยเหลือเป็น “ครอบครัว” ฉะนั้น มูลค่าความเสียหายของเครื่องมือประกอบอาชีพจึงไม่เท่ากัน ก็จะพิจารณาตามมูลค่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 11,000 บาท  2. กรณีเครื่องนุ่งห่มได้รับความเสียหาย ระเบียบฯ และหลักเกณฑ์ พิจารณาให้ความช่วยเหลือเป็น “รายบุคคล” รายละไม่เกิน 1,000 บาท ซึ่งแต่ละครอบครัวมีจำนวนผู้ประสบภัยที่ไม่เท่ากัน นั่นเอง

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...