ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
รองปลัดเกษตรฯ นำทีมประชุมคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืช ครั้งที่ 1/2566
16 ม.ค. 2566

นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้นายอภัย สุทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่ประธานการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืช ครั้งที่ 1/2566 และคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืชจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมพิจารณา(ร่าง)คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเตรียมการและยกร่างกฎหมายลำดับรองภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 , (ร่าง)คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกองทุนคุ้มครองพันธุ์พืช , (ร่าง)ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืช เรื่องแนวทางหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายเงินกองทุนคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ... , (ร่าง)ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืชว่าด้วยการแบ่งผลประโยชน์ ระหว่างผู้ซึ่งอนุรักษ์หรือพัฒนาพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น พ.ศ. ... และพิจารณาเพิกถอนหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ของผู้ไม่ประสงค์จะต่ออายุ จำนวน 27 ฉบับ

นายอภัย สุทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืช ครั้งที่ 1/2566 ในปีนี้เป็นการประชุมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ Application Zoom Meeting โดยมีนายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นคณะกรรมการและเลขานุการ ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 ที่กำหนดให้มีคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืช 23 คน ประกอบด้วย กรรมการโดยตำแหน่ง 11 คน ได้แก่ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานกรรมการ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค อธิบดีกรมการค้าภายใน อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา อธิบดีกรมประมง อธิบดีกรมป่าไม้ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย ผู้อำนวยการองค์การสวนพฤกษศาสตร์ เป็นกรรมการ โดยให้อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นกรรมการและเลขานุการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง 12 คน โดยได้แต่งตั้งผู้แทนเกษตรกร 6 คน นักวิชาการด้านปรับปรุงพันธุ์พืชจากสถาบันการศึกษา 1 คน นักวิชาการด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติจากสถาบันการศึกษา 1 คน ผู้แทนองค์การพัฒนาเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรที่มีกิจกรรมเกี่ยวกับการเกษตรและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 2 คน ผู้แทนสมาคมที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์พืชหรือเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์พืช 2 คน พร้อมด้วยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

สำหรับการประชุมในครั้งนี้มีเรื่องแจ้งให้คณะกรรมการทราบ คือ 1.สาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 2.ผลการปฏิบัติงานภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 3.สรุปผลการดำเนินงานของคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืชชุดที่ผ่านมา  4.การตรวจสอบรับรองงบการเงินกองทุนคุ้มครองพันธุ์พืช  ประจำปี  พ.ศ.2564  และ 5.ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดพืชเป็นพันธุ์พืชใหม่ที่จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 16)

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า กรมวิชาการเกษตรได้รายงานผลการปฏิบัติงานภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 คือ 1.ด้านการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ได้ประกาศกำหนดชนิดพืชที่สามารถยื่นขอจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ 103 รายการ 2.ด้านการคุ้มครองพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น มีชุมชนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนชุมชนและจดทะเบียนพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นแล้ว 2 ชุมชน คือ “ชุมชนคุ้งบางกะเจ้า” อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และ“ชุมชนมะปรางหวานทองประมูลนครนายก” อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก 3.ด้านการคุ้มครองพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปและพันธุ์พืชป่า ได้ออกหนังสืออนุญาตให้เก็บ จัดหา หรือรวบรวมพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปและพันธุ์พืชป่า เพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืช ศึกษา ทดลอง หรือวิจัย เพื่อประโยชน์ในทางการค้า และทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ตามมาตรา 52 จำนวน 128 ฉบับ และได้ออกหนังสือรับแจ้งการศึกษา ทดลอง หรือวิจัยพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปและพันธุ์พืชป่าที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ทางการค้าตามมาตรา 53 จำนวน 450 ราย 4.ด้านกองทุนคุ้มครองพันธุ์พืช ได้ดำเนินการตามบันทึกข้อตกลงการประเมินผลงานระหว่างกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 5.ด้านการออกกฎหมายลำดับรอง ตั้งแต่ พ.ศ.2542 จนถึงปัจจุบัน (กันยายน 2565) กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 และมีผลบังคับใช้แล้ว 129 ฉบับ

ทั้งนี้ พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์พืช ให้มีพันธุ์พืชใหม่เพิ่มเติมจากเดิมที่มีอยู่ อันเป็นการส่งเสริมการพัฒนาด้านเกษตรกรรม และเป็นการสร้างแรงจูงใจแก่ นักปรับปรุงพันธุ์ด้วยการให้สิทธิและความคุ้มครองตามกฎหมาย รวมถึงยังเป็นการอนุรักษ์และพัฒนาใช้ประโยชน์พันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป และพันธุ์พืชป่า เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแล บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์พันธุ์พืชอย่างยั่งยืน โดยกรมวิชาการเกษตรเป็นหน่วยงานควบคุม กำกับ ดูแล รับผิดชอบการดำเนินงานภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 ประกอบด้วย 8 หมวด 69 มาตรา และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2542 เป็นต้นมา

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...