สถานที่ทางพระพุทธศาสนาวัดถ้ำเสือยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตของชาวไทยและชาวต่างชาติช่วงหยุดสามวันจากหลังปีใหม่มีเข้าชมวันละ 400 – 700 คนโดยเฉพาะวันหยุดเป็นคนไทย
วัดถ้ำเสือวิปัสสนา ตั้งอยู่ที่หมู 11 บ้านนานอก ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ซึ่งทางจังหวัดกระบี่ประกาศให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมเชิงอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อปี 2538 เพราะเป็นวัดทีมีพระภิกษุสงฆ์และแม่ชีมากเป็นอันดับหนึ่งของจังหวัด 200 กว่ารูป อยู่ในหุบเขาที่มีหินงอกหินย้อยและถ้ำที่สวยงาม มีผืนป่าไม้เบญจพรรณและสัตว์ป่าคุ้มครองอยู่ในหุบเขา เช่น ลิง ค้าง บาง กระจง พญากระรอก เป็นต้น ซึ่งเหมาะแก่การเดินศึกษาธรรมชาติของพรรณไม้นานาชนิด
อย่างช่วงวันหยุดยาวสามวัน เนื่องในเทศกาลวันมาฆบูชา ประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 24 – 26 มีนาคม 2566 นี้ บรรยากาศของการท่องเที่ยวโดยภาพรวมที่วัดถ้ำเสือวิปัสสนา ตลอดทั้งวันได้มีประชาชนชาวจังหวัดกระบี่ ตลอดจนนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ ต่างได้ทยอยกันเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวอย่างไม่ขาดสาย เพื่อมาทำบุญถวายสังฆทานแด่พระภิกษุสงฆ์ บูชากราบไหว้ขอพรจากสิ่งศักดิ์เช่น สมเด็จพระพุทธอาจารย์โต พรหมรังสี หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ รูปหล่อเหมือนพระอาจารย์จำเนียร สีลเสฐโฐ ผู้ก่อสร้างวัดถ้ำเสือวิปัสสนา พระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิม พระสังฆจาย พระศรีวรี พระธาตุเจดีย์หอระฆังใหญ่ เป็นต้น รวมถึงบูชาพระธาตุเจดีย์ และชมทัศนียภาพของตัวเมืองกระบี่ โดยเดินพิชิตยอดเข้าสูงวัดถ้ำเสือ ด้วยบันใด 1,237 ชั้น นอกจากนี้ยังสามารถเดินขึ้นบันใดลงไปสัมผัสกับบรรยากาศอันร่มเย็น ในหุบเขาท่ามกลางต้นไม้ใหญ่ๆมากกว่า 100 ต้น ของดินแดนอัศจรรย์ซึ่งประกอบไปด้วยถ้ำมือเสือ ถ้ำลูกธนู ถ้ำลอด และถ้ำปลาไหล
จากข้อมูลของวัดถ้ำเสือวิปัสสนา เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย บอกว่า ตั้งแต่ช่วงปีใหม่เป็นต้นมา มีนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะในวันจันทร์ถึงวันพฤหัสบดี นักท่องเที่ยวที่เข้ามาส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติ อยู่ที่ประมาณ 400 – 500 คน และนักท่องเที่ยวชาวไทย 150 – 200 คน ส่วนวันศุกร์ถึงวันอาทิตย์ จะเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยอยู่ที่ประมาณ 300 – 450 คน และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 200 – 300 คน นักท่องเที่ยวที่เข้ามาส่วนใหญ่จะเข้านมัสการและถวายสังฆทานแด่พระภิกษุสงฆ์ เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และทำบุญเสริมชะตาตัวเองเพื่อความเป็นศิริมงคลทั้งตนเองและครอบครัวไปด้วย และถ่ายรูปตามจุดต่างๆที่เป็นจุดเด่นและสัญญาลักษณ์ของวัดแห่งนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นศิลปะทางประเพณีและวัฒนธรรมไทย
กระบี่