กกต.กาญจน์ ประกาศรูปแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จาก 4 เหลือ 3 รูปแบบ ต่างด้าวหาย 77,480 คน เฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส.1 คน เหลือ 163,360 คน หายไป จำนวน 15,497 คน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายศรัณยู อาทิตยาศรัณยากร ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกาญจนบุรี ได้ลงนาม ประกาศผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกาญจนบุรี เรื่อง รูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของจังหวัดกาญจนบุรี โดยเนื้อหาระบุว่า ด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดจะพึงมี ประกาศ ณ วันที่ 3 มีนาคม 2566 อาศัยอำนาจตามความในข้อ 43 ของระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 จึงประกาศรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อรับฟังความคิดเห็นของพรรคการเมืองและประชาชนในจังหวัดกาญจนบุรี ดังต่อไปนี้
1.รูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 3 รูปแบบ ตามเอกสารและแผนที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้
2. พรรคการเมืองพรรคใดหรือประชาชนผู้ใด มีข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จังหวัดกาญจนบุรี ให้แสดงความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกาญจนบุรี ภายในระยะเวลา 10 วัน นับแต่วันปิดประกาศ (ภายในวันที่ 13 มีนาคม 2566) โดยจัดส่งความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเป็นหนังสือไปยังสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกาญจนบุรี เลขที่ 999 หมู่ที่ 12 ตำบลปากแพรก อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี หรือทางโทรสารหมายเลข 034-564131-3หรือทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) kanchana@ect.go.th
3.ในกรณีพรรคการเมือง หน่วยงานของรัฐ หรือบุคคลใด ต้องการรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งที่ปิดประกาศไว้ ให้ขอคัดสำเนาจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกาญจนบุรี โดยเสียค่าใช้จ่ายเองตามวิธีการที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกาญจนบุรี กำหนด หรือสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไชต์https://www.ect.go.th/kanchanaburi
4.รูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งตามข้อ 1 ปิดประกาศไว้ ณ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกาญจนบุรี ศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเทศบาล หรือที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดกาญจนบุรี และเผยแพร่ผ่านเว็บไชต์ https://www.ect.go.th/kanchanaburi จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกันประกาศ ณ วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2566
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากตารางรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้ง พบว่าจำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้งของจังหวัดกาญจนบุรี (ใช้เฉพาะราษฎรสัญชาติไทย) จำนวนราษฎร จำนวน 816,803 คน จำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส.1 คน ในจังหวัดกาญจนบุรี เท่ากับ 163,360 คน โดย กกต.กาญจนบุรี ได้เสนอรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งลดลงเหลือ 3 รูปแบบ จาก 4 รูปแบบ ดังนี้
รูปแบบที่ 1 เขตเลือกตั้งที่ 1 อ.เมืองกาญจนบุรี จำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง จำนวน 164,923 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส.1 คน 1,563 คน คิดเป็นร้อยละ 0.95
เขตเลือกตั้งที่ 2 อ.ท่าม่วง จำนวนราษฎร 107,144 คน อ.ด่านมะขามเตี้ย จำนวนราษฎร 33,616 คน อ.บ่อพลอย (เฉพาะตำบลหนองกุ่ม) จำนวนราษฎร 14,471 คน อ.พนมทวน (เฉพาะ ตำบลหนองโรง ตำบลทุ่งสมอ ตำบลดอนเจดีย์ ตำบลหนองสาหร่าย) จำนวนราษฎร 18,300 คน รวมจำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง 173,531 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส.1 คน 10,171 คน คิดเป็นร้อยละ 6.22
เขตเลือกตั้งที่ 3 อ.ท่ามะกา จำนวนราษฎร 130,634 คน อ.พนมทวน (ยกเว้น ตำบลหนองโรง ตำบลทุ่งสมอ ตำบลดอนเจดีย์ ตำบลหนองสาหร่าย) จำนวนราษฎร 34,192 คน รวมจำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง จำนวน 164,826 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส.1 คน 1,466 คน คิดเป็นร้อยละ 0.89
เขตเลือกตั้งที่ 4 อ.เลาขวัญ จำนวนราษฎร 58,241 คน อ.ห้วยกระเจา จำนวนราษฎร 33,785 คน อ.บ่อพลอย (ยกเว้น ตำบลหนองกุ่ม) จำนวนราษฎร 42,440 คน อ.หนองปรือ จำนวนราษฎร 31,359 คน รวมจำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง จำนวน 165,825 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส.1 คน 2,465 คน คิดเป็นร้อยละ 1.50
และเขตเลือกตั้งที่ 5 อ.ทองผาภูมิ จำนวนราษฎร 45,197 คน อ.สังขลละบุรี จำนวนราษฎร 28,290 คน อ.ไทรโยค จำนวนราษฎร 49,291 คน อ.ศรีสวัสดิ์ จำนวนราษฎร 24,920 คน รวมจำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง จำนวน 147,698 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส.1 คน -15,662 คน คิดเป็นร้อยละ -9.58
รูปแบบที่ 2 เขตเลือกตั้งที่ 1 อ.เมืองกาญจนบุรี จำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง จำนวน 164,923 คน อ.บ่อพลอย (เฉพาะตำบลหนองกุ่ม)จำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง 14,471 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส.1 คน 16,034 คน คิดเป็นร้อยละ 9.81
เขตเลือกตั้งที่ 2 อ.ท่าม่วง จำนวนราษฎร 107,144 คน อ.ด่านมะขามเตี้ย จำนวนราษฎร 33,616 คน อ.พนมทวน (เฉพาะ ตำบลหนองโรง ตำบลทุ่งสมอ ตำบลดอนเจดีย์ ตำบลหนองสาหร่าย) จำนวนราษฎร 18,300 คน รวมจำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง 159,060 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส.1 คน -4,300 คน คิดเป็นร้อยละ -2.63
เขตเลือกตั้งที่ 3 อ.ท่ามะกา จำนวนราษฎร 130,634 คน อ.พนมทวน (ยกเว้น ตำบลหนองโรง ตำบลทุ่งสมอ ตำบลดอนเจดีย์ ตำบลหนองสาหร่าย) จำนวนราษฎร 34,192 คน รวมจำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง จำนวน 164,826 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส.1 คน 1,466 คน คิดเป็นร้อยละ 0.89
เขตเลือกตั้งที่ 4 อ.เลาขวัญ จำนวนราษฎร 58,241 คน อ.ห้วยกระเจา จำนวนราษฎร 33,785 คน อ.บ่อพลอย (ยกเว้น ตำบลหนองกุ่ม) จำนวนราษฎร 42,440 คน อ.หนองปรือ จำนวนราษฎร 31,359 คน รวมจำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง จำนวน 165,825 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส.1 คน 2,465 คน คิดเป็นร้อยละ 1.50
และเขตเลือกตั้งที่ 5 อ.ทองผาภูมิ จำนวนราษฎร 45,197 คน อ.สังขลละบุรี จำนวนราษฎร 28,290 คน อ.ไทรโยค จำนวนราษฎร 49,291 คน อ.ศรีสวัสดิ์ จำนวนราษฎร 24,920 คน รวมจำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง จำนวน 147,698 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส.1 คน -15,662 คน คิดเป็นร้อยละ -9.58
รูปแบบที่ 3 เขตเลือกตั้งที่ 1 อ.เมืองกาญจนบุรี จำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง จำนวน 164,923 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส.1 คน 1,563 คน คิดเป็นร้อยละ 0.95
เขตเลือกตั้งที่ 2 อ.ท่าม่วง จำนวนราษฎร 107,144 คน อ.ด่านมะขามเตี้ย จำนวนราษฎร 33,616 คน อ.บ่อพลอย (เฉพาะตำบลหนองกุ่ม)จำนวนราษฎร 14,471 คน อ.พนมทวน (เฉพาะ ตำบลดอนเจดีย์ ตำบลหนองโรง ตำบลทุ่งสมอ) จำนวนราษฎร 114,656 คน รวมจำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง 169,887 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส.1 คน 6,527 คน คิดเป็นร้อยละ 3.99
เขตเลือกตั้งที่ 3 อ.ท่ามะกา จำนวนราษฎร 130,634 คน อ.พนมทวน (ยกเว้น ตำบลหนองโรง ตำบลดอนเจดีย์ ) จำนวนราษฎร 37,836 คน รวมจำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง จำนวน 168,470 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส.1 คน 5,110 คน คิดเป็นร้อยละ 3.21
เขตเลือกตั้งที่ 4 อ.เลาขวัญ จำนวนราษฎร 58,241 คน อ.หนองปรือ จำนวนราษฎร 31,359 คน อ.บ่อพลอย (ยกเว้น ตำบลหนองกุ่ม) จำนวนราษฎร 42,440 คน อ.ห้วยกระเจา จำนวนราษฎร 33,785 คน รวมจำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง จำนวน 165,825 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส.1 คน 2,465 คน คิดเป็นร้อยละ 1.50
และเขตเลือกตั้งที่ 5 อ.ทองผาภูมิ จำนวนราษฎร 45,197 คน อ.สังขลละบุรี จำนวนราษฎร 28,290 คน อ.ไทรโยค จำนวนราษฎร 49,291 คน อ.ศรีสวัสดิ์ จำนวนราษฎร 24,920 คน รวมจำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง จำนวน 147,698 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส.1 คน -15,662 คน คิดเป็นร้อยละ -9.58
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 4-13 ก.พ.66 ที่ผ่านมา กกต.กาญจนบุรี ได้ประกาศรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้ง เพื่อให้ประชาชนรวมทั้งนักการเมือง ได้แสดงความคิดเห็น เป็น 4 รูปแบบ ขณะนั้น กกต.กาญจนบุรี นับจำนวนราษฎรสัญชาติไทยรวมกับต่างด้าวในเขตเลือกตั้ง จำนวน จำนวน 894,283 คน เฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส. 1 คน จำนวน 178,857 คน
แต่หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ออกมาว่า จำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้งให้นับเฉพาะราษฎรสัญชาติไทยเท่านั้น ทำให้ กกต.กาญจนบุรี ประกาศรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งขึ้นมาใหม่ เหลือเพียง 3 รูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้ง จาก 4 รูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้ง และทำให้จำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีเหลือ จำนวน 816,803 คน หายไป จำนวน 77,480 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส.1 คน จาก จำนวน 178,857 คน เหลือ จำนวน 163,360 คน หายไป จำนวน 15,497 คน
สำหรับรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งที่ กกต.กายจนบุรี ประกาศออกมาใน 3 รูปแบบ พบว่าพื้นที่การหาเสียงของ ส.ส.กระโดดข้ามไปมา ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการหาเสียงอยู่บ้างเล็กน้อย แต่ผลกระทบโดยตรงของผู้สมัคร ส.ส.คือฐานเสียงคะแนน ของผู้สมัครแต่ละคน และประชาชนที่เคยตั้งใจว่าจะเลือกผู้สมัครที่ต้องการ แต่ต้องไปเลือกผู้สมัครรายอื่นแทน ปัญหาดังกล่าวอาจจะก่อให้เกิดมีบัตรเสียเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา ไหลวารินทร์ - รายงาน