ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
คพ.ตรวจค่าความเค็มฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล จ.อุดรธานี
14 มี.ค. 2566

นางสาวปรีญาพร สุวรรณเกษ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2566 คพ.โดยสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 9 (สคพ.9) เข้าร่วมการตรวจสอบพื้นที่ฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล (กุ้งแวนนาไม) ต.บ้านดุง และ ต.โพนสูง อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี จำนวน 2 ฟาร์ม ร่วมกับคณะกรรมการตามคำสั่งจังหวัดอุดรธานี กรณีฟาร์มทั้ง 2 รายยื่นขออนุญาตประกอบกิจการฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล ในพื้นที่ อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี และเป็นไปที่ตามคำสั่งจังหวัดอุดรธานีที่ 968/2563 เรื่อง ระงับการใช้ความเค็มในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในเขตพื้นที่ จ.อุดรธานี ซึ่งออกตามมาตรา 9 วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ซึ่งจังหวัดอุดรธานีมีประกาศกำหนดให้เป็นข้อยกเว้นสามารถยื่นขออนุญาตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทะเลได้ โดยต้องเป็นพื้นที่ใน 2 ตำบลของ อ.บ้านดุงเท่านั้น ได้แก่ ต.โพนสูง และ ต. บ้านดุง  ต้องเป็นพื้นที่นาเกลือเก่าและอยู่ในพื้นที่ดินเค็มตามแผนที่สถานีพัฒนาที่ดินอุดรธานี นำโดยนายศรัณย์ศักดิ์ ศรีเครือเนตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ในฐานะประธานกรรมการ พร้อมด้วยคณะกรรมการจากหน่วยงานราชการอื่น เช่น อ.บ้านดุง สนง.ประมงจังหวัด สถานีพัฒนาที่ดิน สนง.เกษตรจังหวัด อบต.โพนสูง อบต.บ้านดุง และ ทสจ.อุดรธานี เป็นเลขานุการ

นางสาวปรีญาพร กล่าวว่า จากการเข้าร่วมตรวจสอบ คณะกรรมการเห็นชอบให้อนุญาตประกอบกิจการทั้ง 2 ราย เป็นเวลา 2 ปี โดยมีเงื่อนไขที่กำหนดตามบันทึกข้อตกลงที่มีการลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน เช่น ปฏิบัติตามเงื่อนไขโดยห้ามสูบน้ำเค็มใต้ดินมาเติม ห้ามเติมสารที่มีความเค็ม ทำฟาร์มระบบปิดไม่ระบายน้ำทิ้งออกภายนอกและไม่รั่วซึม เป็นต้น ทั้งนี้ กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมให้ฟาร์มเลี้ยงกุ้ง ต. โพนสูง ต้องรายงานผลการตรวจวัดค่าความเค็มในบ่อพักน้ำใช้และลำรางสาธารณะให้คณะกรรมการทราบทุกเดือน เนื่องจากมีความเสี่ยงเกิดผลกระทบการปนเปื้อนน้ำเค็ม สคพ.9 ได้ตรวจวัดค่าความเค็มในบ่อเลี้ยง บ่อพักน้ำใช้ และลำรางสาธารณะเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับกำหนดไว้ตามบันทึกข้อตกลงเพื่อใช้ประเมินผลกระทบในอนาคต โดยฟาร์ม ต.บ้านดุง บ่อเลี้ยงกุ้งมีความเค็ม 12 – 15 ppt (ส่วนในพันส่วน) ลำรางสาธารณะ 0.5 และ 5.0 ppt ส่วนฟาร์ม ต. โพนสูง บ่อเลี้ยงกุ้งมีความเค็ม 20 – 27 ppt ลำรางสาธารณะ 0.4 และ 2.7 ppt และ มอบหมาย สคพ. 9 ติดตามตรวจวัดค่าความเค็มเพื่อเปรียบเทียบยืนยันผล ในช่วงฤดูแล้ง ที่คาดว่าจะมีค่าความเค็มสูงในพื้นที่

ทั่วประเทศมีประกาศกำหนดให้สามารถเลี้ยงกุ้งทะเลได้ในพื้นที่ 36 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี ชัยภูมิและนครราชสีมา ที่มีพื้นที่นาเกลือเก่ามีสภาพดินเค็ม เป็นการเลี้ยงเพื่อส่งเสริมการส่งออก และการบริโภคกุ้งสดในพื้นที่ จังหวัดอุดรธานี อนุญาตให้ผู้ประกอบการ 2 ราย ชัยภูมิหลายราย และนครราชสีมา ยังไม่มีการอนุญาตประกอบกิจการฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเลในพื้นที่ ทั้งนี้ การเลี้ยงกุ้งทะเลในพื้นที่ดังกล่าวต้องมีคำสั่งจังหวัดเป็นข้อยกเว้นตามมาตรา 9 และคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 6/2553 และ 7/2559 และมีหลักเกณฑ์ที่เข้มงวดเพื่อป้องกันผลกระทบด้านความเค็มต่อสิ่งแวดล้อม นางสาวปรีญาพร กล่าว

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...