พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวถึงกรณีที่ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะมีการไต่สวนพยานจำเลยนัดสุดท้าย ในวันพรุ่งนี้ (21 ก.ค.2560) ซึ่งจะมีมวลชนมาให้กำลังใจเป็นจำนวนมาก และจะทำให้เกิดความวุ่นวายว่าไม่ได้สั่งการอะไรเป็นพิเศษซึ่งมวลชนสามารถมาให้กำลังใจได้ และคาดว่าจะมาเยอะกว่าเดิม ถึงประมาณ 300-500 คน แต่ก็เชื่อในมีวุฒิภาวะของแต่ละคน โดยในการดูแลความปลอดภัย และการจราจรนั้นจะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เป็นหน่วยงานหลักในการดูแลซึ่งไม่มีเรื่องใดที่น่าห่วงใย อีกทั้งยังมีกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ดูแลพื้นที่ด้านนอก
ขณะเดียวกัน ผู้บัญชาการทหารบก ยังไม่ขอตอบถึงกรณีที่หาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ขออนุญาตออกนอกประเทศหลังการไต่สวนนัดสุดท้าย และแนวในการป้องการหนีออกนอกประเทศ เพราะเป็นเรื่องของอนาคต ทุกอย่างเป็นเรื่องเป็นไปตามกฏหมาย ดังนั้นจึงขออย่าเพิ่งคิดไกลเกินไป เพราะยังมีเวลาเหลืออีก 2 เดือน ในการพิจารณาคดีดังกล่าว
พล.อ.เฉลิมชัย ระบุว่า ขณะนี้ อยู่ระหว่างการจัดทำบัญชีรายชื่อการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารประจำปี 2560 ซึ่งจะแล้วเสร็จในวันที่ 31 กรกฎาคม นี้ โดยในการพิจารณานั้น ได้หยุดตามช่วงเวลาความเหมาะสมผลงานความอาวุโสและสถานการณ์ในปัจจุบันเพื่อให้สอดคล้องกับการทำงาน นอกนี้จากนี้ ยอมรับว่า ได้มีการปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และอดีตผู้บัญชาการทหารบก ด้วย
ขณะไม่ขอตอบ เรื่องการปรับย้าย 5 เสือ ทหารบก เพราะเดี๋ยวก็รู้เอง และในการส่งรายชื่อเข้าไปเป็นปลัดกระทรวงกลาโหม ด้วย ที่อาจมีรายชื่อตามที่สื่อมวลชนคาดการณ์ไว้ในบางส่วน
ผู้บัญชาการทหารบก ยังกล่าวถึงการความพึงพอใจ ภายหลังจากมีการเปิดเวทีสารณะเพื่อชี้แจงร่างสัญญาประชาคม ว่า ส่วนตัวรู้สึกพอใจ โดยได้รับการตอบรับจากประชาชนเป็นอย่างดี ถึงแม้จะมีข้อติติง ก็จะนำไปการดำเนินการให้เป็นรูปธรรม ส่วนที่มีการว่าร่างสัญญาประชาคม จะทำเป็นรูปธรรมได้หรือไม่นั้น ต้องแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ร่างสัญญาประชาคม ที่มาจากความคิดเห็นที่สร้างสรรค์จากประชาชนและนักการเมือง ซึ่งถือว่านี่เป็นรูปธรรม และส่วนที่แยกออกเป็น 278 ประเด็น ซึ่งบทบาทของคณะกรรมการ เตรียมการเพื่อความสามัคคีปรองดอง เป็นเพียงเรื่องหนึ่งเท่านั้น หากจะให้เกิดความสามัคคีปรองดองจริงๆ ยังมีอีกหลายเรื่องและต้องร่วมมือกัน ที่ทุกคนต้องมีจิตสำนึก เพื่อช่วยกันเพื่อลดความขัดแย้ง อย่างไรก็ตาม ยังย้ำว่า ร่างสัญญาประชาคม ไม่ใช้กฎหมายไม่มีผลบังคับ เป็นเพียงการกระตุ้นจิตสำนึกคนให้เห็นร่วมกัน นำพาประเทศเดินไปข้างหน้า ซึ่งหากทำเป็นกฎหมายแล้วบังคับเชื่อว่าคนไม่รับ หากทำเป็นกลางๆ เป็นเรื่องดีทั้ง 10 ประเด็น เชื่อว่าคนจะยอมรับ