ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ธรรมาภิบาล ย้อนกลับ
ศาลปกครองสูงสุดยกฟ้องBTSคดียกเลิกประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม
30 มี.ค. 2566

ศาลปกครองสูงสุด ยกฟ้องปมยกเลิกประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ครั้งที่ 1 ระบุดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมาย กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น

รายงานจากศาลปกครองสูงสุด โดยวันที่ 30 มี.ค.2566 เวลา 9.00น. ศาลปกครองสูงสุด นัดอ่านคำพิพากษาในคดีที่บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มครั้งที่ 1 กรณีมีมติในคราวการประชุมเมื่อวันที่ 3 ก.พ.2564 ที่เห็นชอบให้ยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนตามโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ลงวันที่ 3 ก.ค.2563 และยกเลิกการคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวนดังกล่าว

ศาลปกครองสูงสุด พิพากษายกฟ้องการยกเลิกประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ครั้งที่ 1 ตามที่ BTSC ยื่นฟ้องไว้ เนื่องจากศาลฯ วิเคราะห์ว่าผู้ถูกฟ้องคดี คือ คณะกรรมการ ม.36 และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย  (รฟม.) มีอำนาจในยกเลิกประมูลโดยชอบตามกฎหมาย

ตามข้อเท็จจริงของคดีนี้ ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว เนื่องจากจะมีผลกระทบต่อผลตอบแทนทางการเงินของฝั่งตะวันออก รวมถึงการให้บริการที่ล่าช้าของฝั่งตะวันออก โดยจะส่งผลต่อสิทธิและประโยชน์ของผู้ใช้บริการ 439,736 คน/เที่ยว/วัน การพิจารณายกเลิกการประมูลของผู้ถูกฟ้องทั้งสองจึงถูกต้องแล้ว

เนื่องจากคดีรถไฟฟ้าสายสีส้มมีการฟ้องคดีหลายสำนวนทำให้ไม่สามารถระบุได้ว่าคดีจะสิ้นสุดเมื่อไหร่ ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความล่าช้า คณะกรรมการ ม.36 สามารถพิจารณาเดินหน้าการประมูลได้โดยไม่ต้องรอศาลวินิจฉัยคดี เป็นที่ยอมรับได้

กรณีที่การยกเลิกการประมูล ขัดต่อความเสมอภาค คณะกรรมการคัดเลือก ไม่ได้พิจารณาข้อเสนอของรายใดก่อนในการพิจารคยกเลิกประมูล ดังนั้นจึงไม่ขัดต่อความเสมอภาค

โดยการประกาศยกเลิกการประมูลของรฟม. และคณะกรรมการคัดเลือก มิได้เป็นไปตามอำเภอใจ โดยรับอิทธิพลจากปัจจัยภายนอกและแยกแยะการปฏิบัติไม่ได้ แต่เป็นไปเพื่อบรรลุเป้าประสงค์ระหว่างรัฐและเอกชน ตาม ม.6 พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 จึงถือเป็นการกระทำโดยสุจริตและใช้ดุลพินิจโดยรอบ ถือเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย

ที่ศาลปกครองชั้นต้น พิพากษาเพิกถอนมติของคณะกรรมการฯ และยกเลิกการคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวนฯ รวมถึงเพิกถอนประกาศของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเรื่อง ยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มและยกเลิกการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนตามประกาศเชิญชวนดังกล่าวของวัน 3 ก.พ. 63 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะกรรมการคัดเลือกฯ มีมติ นั้น ศาลปกครองสูงสุดไม่เห็นพ้องด้วย จึงพิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง

นอกจากนี้ ยังมีคดีที่เกี่ยวข้องกับการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มในศาลปกครองกลางอีก 1 คดี คือ กรณีที่ BTSC ฟ้องการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน ครั้งที่ 2 ไม่ชอบ เพราะเอกสารการประมูล (RFP) กีดกัน BTSC 

ทั้งนี้ ศาลปกครองกลางมีคำสั่งยกคำร้องขอทุเลาการบังคับเนื่องจากเห็นว่า ประกาศเชิญชวนฯ และ RFP เป็นไปตามกฎหมายแล้ว RFP เปิดกว้างมากขึ้น ไม่มีลักษณะ เป็นการตัดสิทธิหรือกีดกัน BTSC นอกจากนั้นยังมีการขอทุเลา ครั้งที่ 2 แต่ศาลไม่รับคำร้องขอทุเลาของ BTSC

รวมทั้ง เมื่อวันที่ 29 ธ.ค.2565 นายสมคิด เชื้อคง ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย ในฐานะรองประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) 

เพื่อขอให้ ป.ป.ช.ไต่สวนกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ,นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง คมนาคม และพวก จงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายหรือไม่ โดยเฉพาะความผิดว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐกรณีการเปิดประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...