ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
กาญจนบุรี สี่หน่วยงาน ส่ง จนท. รางวัดปักแนวเขตพื้นที่บ่อขยะ จำนวน 100 ไร่ ก่อนส่งให้ อบต.แก่งเสี้ยน บริหารจัดการขยะนับล้านตัน
30 มี.ค. 2566

ปัญหาบ่อขยะเชิงเขาทอง หมู่ที่ 5 ตำบลแก่งเสี้ยน หมดสัญญาเช่าจากกองทัพบก ไปเมื่อเดือดกันยายน 2565 ที่ผ่านมา และยังไม่มีการต่อสัญญา จึงเกิดปัญหาทั้ง 37 อปท.ไม่สามารถนำขยะเข้าไปทิ้งได้ ทาง อบต.แก่งเสี้ยน ซึ่งเป็นเจ้าภาพดูแลพื้นที่ดังกล่าว จึงได้ร้องขอให้ทหารคืนพื้นที่จำนวน 100 ไร่ แก่ราชพัสดุแล้ว และเวลานี้ 37 อปท.เดือดร้อนมาก ในการหาพื้นที่นำขยะไปทิ้ง ทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง ตามที่เป็นข่าวมาต่อเนื่อง ล่าสุดวันนี้ทางเจ้าหน้าที่สำนักงานราชพัสดุ กรมธนารักษ์ และเจ้าหน้าที่ทหารจาก มทบ. 17 ได้ร่วมลงพื้นที่รางวัดกำหนดแนวเขตจำนวน 100 ไร่ เพื่อคืนกลับไปให้ราชพัสดุ แล้ว หลังจากนี้ไปก็จะต้องรอการปฏิบัติตามขั้นตอนอีกระยะหนึ่ง

วันนี้ 29 มี.ค. 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณบ่อขยะเชิงเขาทอง หมู่ที่ 5 ตำบลแก่งเสี้ยน อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี สี่หน่วยงาน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ทหารจาก มทบ. 17 เจ้าหน้าที่ราชพัสดุ เจ้าหน้าที่ธนารักษ์ และเจ้าหน้าที่ อบต.แก่งเสี้ยน ร่วมลงพื้นที่เข้าตรวจวัดพื้นที่บ่อขยะ พร้อมปักแนวเขตพื้นที่จำนวน 100 ไร่ ตามที่ทาง อบต. แก่งเสี้ยน ร้องขอไป เพื่อจะได้เข้าไปบริหารจัดการบ่อขยะนับล้านตัน ที่กองอยู่ในขณะนี้ ซึ่งปัจจุบันบ่อขยะเชิงเขาทอง แห่งนี้ได้หมดสัญญากับทางกองทัพบก ดังนั้นทาง อบต.แก่งเสี้ยนจึงไม่สามารถเข้าไปดำเนินการใดๆ  และเป็นระยะเวลากว่า 6 เดือน ขยะทั้งหมดยังกองสูงเท่าภูเขาไม่สามารถเข้าไปบริหารจัดการดำเนินการใดๆ ได้เพราะเกรงจะผิดกฎหมาย ทำให้ทั้ง 37 อปท. ที่ได้ร่วมทำ MOU กับทางจังหวัดกาญจนบุรี ไว้ เดือดร้อนหนักไม่สามารถนำขยะเข้าไปทิ้งได้ ต้องไปหาที่ทิ้งขยะกระจายออกไปหลายแห่งในพื้นที่ และจังหวัดใกล้เคียง สร้างความเดือดร้อนหนักเวลานี้ เนื่องจากต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงเพื่อจะต้องนำขยะไปทิ้ง

นายจักกฤช  มหากิจวรกุล  นายกองค์การบริหารตำบลแก่งเสี้ยน กล่าวว่า วันนี้ทาง  4หน่วยงาน ประกอบด้วย ทหารจาก มทบ. 17 ธนารักษ ราชพัสดุ และ อบต. แก่งเสี้ยนได้ลงพื้นที่บ่อขยะเชิงเขาทอง เพื่อทำการรางวัดพร้อมปักหมุดกันพื้นที่ จำนวน 100 ไร่บริเวณบ่อขยะเชิงเขาทอง หลังจากทำการรางวัดเสร็จ ก็จะเสนกไปตามขั้นตอน ซึ่งขั้นตอนทั้งนี้ ทางผู้บัญชาการกองทัพบก ได้ออกคำสั่งลงมาเป็นสำเนาให้กับทาง มทบ. 17 แล้วจึงมาร่วมตรวจสอบรางวัดพื้นที่ในครั้งนี้  หนังสือทาง ทบ.ได้อนุมัติเรียบร้อย หลังจากรับหนังสือจาก ทบ.แล้ว ต้องแจ้งไปยังหน่วยงานเกี่ยวข้องตามขั้นตอน แล้วจะมีหนังสือ ทบ. 10 ไป ตามลำดับขั้นตอน เป็นการส่งมอบพื้นที่กับคืนไปยัง ราชพัสดุ ขั้นตอนนี้หนังสือต้องไปยังหน่วยงานต่างๆ ต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง กว่าจะกลับตามขั้นตอนที่ทาง อบต.แก่งเสี้ยน ขอใช้พื้นที่ คงต้องใช้เวลาพอสมควร

นายจักกฤช  มหากิจวรกุล นายก อบต.แก่งเสี้ยน กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า แล้ววันนี้ตามขั้นตอนคือเข้าไปวัดพื้นที่ เดิมทีทางธนารักษ์จังหวัดวัดปแล้วจำนวน 100 ไร่ แต่ต้องให้หน่วย มทบ. 17 ในพื้นที่มาตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะนำเสนอไปที่กรมธนารักษ์ เพื่อให้อธิบดีอนุมัติต่อไป และหลังเดิมคงจะต้องรอไปก่อน แต่มันเกิดเพลิงไหม้ก่อน จึงต้องมีมาตรการเร่งด่วน 3 ขั้นตอนคือเมื่อรางวัดพื้นที่เสร็จส่งไปยัง กรมธนารักษ์ ทางอธิบดีก็จะลงความเห็นลงมาก่อนให้เข้าไปใช้พื้นที่ชั่วคราวก่อน ทาง อบต.ก็จะสามารถนำเงินที่ค้างอยู่ที่ อบต.  ออกมาใช้บริหารจัดการได้ก่อน เงินทั้งหมดมาจากการจัดเก็บค่าขยะทั้ง 37 อปท. ก่อนหน้านี้ตันละ 300 บาท ตามมติของการจัดเก็บขยะจังหวัดกาญจนบุรี ทาง อบต. ก็จะนำเงินทั้งหมดไปปรับปรุงพื้นที่ต่างๆ ตามระยะเวลาที่วางไว้ 3 ขั้นตอน คือกำจัดขยะเก่า แยก จากขยะที่เข้ามาใหม่ แบ่งโซนออกไป หากงบประมาณไม่เพียงพอ ทาง อบต.ก็จะของบภัยพิบัติจากจังหวัด เป็นฉุกเฉินจากทางจังหวัดจะให้เท่าใดนั้นยังไม่ทราบ มี 3 รูปแบบเร่งด่วน คือ ปรับปรุงราง แบบผ้าพลาสติคลุม แบบจังหวัดนนทบุรี ป้องกันกลิ่น และรูปแบบเป็นบ่อบำบัดน้ำเสีย โครงการทั้งหมดนี้ทางจังหวัดสามารถให้งบภัยพิบัติได้ จะแก้ปัญหาต่างๆ ลงไปได้มาก เป็นการเร่งด่วน เนื่องจากที่เกิดไฟไหม้ขยะ ทำให้เกิดผลเสียกับมลพิษในสิ่งแวดล้อมหลายเรื่อง รวมถึงการกระทบทั้งค่า PM 2.5 ด้วย อบต.แก่งเสี้ยนกำเร่งดำเนินการอยู่  ส่วนระยะกลางคือการคัดแยกขยะเพื่อนำไป ขึ้นรีไซเคิ้ล ทาง อบต.แก่งเสี้ยน ได้เชิญทางมหาวิทยาลัยทักษิณ มาเป็นที่ปรักษา สำรวจตรวจสอบขยะทั้งหมดเพื่อคัดแยกได้ชัดเจนขึ้น โดยการเจาะว่าขยะทั้งหมดมีจำนวนเท่าใด แล้วทำการคัดแยกขยะเหล่านั้นตามขั้นตอน แล้วจะทราบว่าขยะทั้งหมดมีเท่าใดแน่ เพราะที่มีการพูดกันนั้นไม่ชัดเจน หากทราบได้ หากขยะชนิดใดบ้าง หากใช้การไม่ได้ก็จะทำการฝังกลบเลย หากนำมาผลิตทำปุ๋ยได้เราก็จะนำมาผลิตเพื่อแจกจ่ายเกษตรกร 

สำหรับระยะยาว คือ จัดตั้งโรงงานไฟฟ้า แผนทั้งหมดได้เสนอไปให้กับคณะกรรมมาธิการไปแล้ว และทาง อบต.ก็ได้ดำเนินการตามที่ กรรมมาธิการได้กำหนดทุกประการ หลังจากที่มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งเข้าไปร้องเรียน ระยะยาวที่ให้เอกชนเข้ามาร่วมคือโรงผลิตไฟฟ้า พื้นที่ต้องใช้มากถึง 200 ไร่ อาจจะไม่เสร็จตามที่ตนเองอยู่ในตำแหน่งนี้เป็นเรื่องของอนาคต แต่แผนมีไว้ทั้งหมดแล้ว



ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา   ไหลวารินทร์ - รายงาน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...