ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
สพฉ.แนะวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ถูกพิษแมงกะพรุนกล่อง
24 ก.ค. 2560

       สพฉ.แนะวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ถูกพิษแมงกะพรุนกล่อง พร้อมเตือนประชาชนเล่นน้ำทะเลในช่วงนี้อย่างระมัดระวัง หากพบเห็นสิ่งมีชีวิตคล้ายแมงกะพรุนห้ามสัมผัสและให้รีบขึ้นจากน้ำและแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที

      ภายหลังจากที่เครือข่ายป้องกันและเฝ้าระวังแมงกะพรุนพิษเกาะสมุยและเกาะพะงันได้ออกประกาศเตือนประชาชนว่าพบแมงกะพรุนกล่องชนิดหลายสายพันธ์ที่สามารถทำให้เสียชีวิตได้ภายใน 2-10 นาที บริเวณหาดละไม เกาะสมุย พร้อมทั้งประกาศเตรียมรับสถานการณ์นั้นล่าสุดเรืออากาศเอก นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้ออกมาแนะนำถึงวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากถูกพิษของแมงกะพรุนกล่อง

      โดยเรืออากาศเอก นพ.อัจฉริยะกล่าวว่า ในช่วงเดือนช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมของทุกปีเป็นฤดูกาลที่แมงกะพรุนกล่องจะลอยขึ้นมาที่บริเวณริมชายหาด ประชาชนและผู้ประกอบการของชายหาดทุกแห่งจึงต้องออกคำเตือนประชาชนให้ระมัดระวังและให้ความรู้ประชาชนถึงความรุนแรงของพิษแมงกะพรุนกล่องและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากพบประชาชนได้รับพิษจากแมงกะพรุนกล่องได้  ทั้งนี้แมงกะพรุนกล่อง (Box jellyfish) เป็นหนึ่งในสัตว์มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก เพราะมีเข็มพิษอยู่ในเซลล์จำนวนล้านๆ เซลล์ มีหนวดที่ยาวมาก และใสจนแทบมองไม่เห็น บางตัวอาจมีความยาวถึง 3 เมตร พิษของแมงกะพรุนกล่อง มีพิษต่อหลายระบบในร่างกายทั้งเลือด เนื้อหนัง หัวใจ ประสาท ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อหน้าท้องและหลังเกร็ง เวียนหัว คลื่นไส้ ปวดหัว กระสับกระส่าย แน่นหน้าอก ส่วนใหญ่ผู้ได้รับพิษมักมีอาการปวดบริเวณแผล หรืออาจปวดไปทั่วร่างกายในบางราย อาจตายหรือจมน้ำก่อนใครจะช่วยทัน พิษของแมงกะพรุนจะทำให้บริเวณที่สัมผัสเป็นเส้นสีแดง คล้ายถูกแส้หรือถูกฟาดอย่างแรง

      เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินกล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับวิธีในการช่วยเหลือและปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้ที่ได้รับพิษจากแมงกะพรุนกล่องมีดังนี้ 1. ผู้ช่วยเหลือต้องแน่ใจว่าตัวเองปลอดภัยจากแมงกะพรุน    2. นำผู้บาดเจ็บขึ้นจากน้ำ หรือ ไปยังบริเวณที่ปลอดภัย   3. ให้ผู้บาดเจ็บอยู่นิ่งๆ เพื่อลดการยิงพิษจากแมงกะพรุน   4. ห้ามขัดถูบริเวณที่ถูกแมงกะพรุน   5. เรียกให้คนช่วย และโทร 1669 เรียกรถพยาบาลฉุกเฉิน ควรสังเกตประเมินอาการตลอดเวลา  6. หากหมดสติ ไม่หายใจ หรือไม่มีชีพจร ให้ทำการ CPR ทันที 7. ล้างบริเวณที่ถูกพิษด้วยน้ำส้มสายชูบ้าน ความเข้มข้น 2-10 % นานอย่างน้อย 30 วินาที หากไม่มีให้ใช้น้ำทะเล 8. ใช้ถุงมือหนา หรือแหนบคีบหนวดที่ยังติดอยู่ ห้ามใช้มือหยิบ 9. ให้ใช้วัสดุขอบเรียบ เช่น เปลือกหอย บัตร สันมีด ขูดเอาเมือกที่เหลืออยู่ออก 10. ใช้น้ำแข็งประคบลดอาการปวด หลังจากที่ล้างด้วยน้ำส้มสายชูแล้ว หรือใช้ผักบุ้งทะเลตำพอกที่แผล  11. รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล

      “ข้อควรระวังที่สำคัญที่สุดคือห้ามใช้น้ำจืดล้าง เนื่องจากจะกระตุ้นเข็มพิษให้ทำงานมากยิ่งขึ้น และการใช้แอมโมเนียล้างแผลจะยิ่งทำให้อาการปวดแย่ลง  ห้ามถูหรือขยี้แผลเพราะจะยิ่งทำให้พิษของแมงกะพรุนกล่องกระจายออกไปไวยิ่งขึ้น  ทั้งนี้ประชาชนเองก่อนจะลงเล่นน้ำทะเลก็ควรสำรวจว่าพื้นที่ดังกล่าวปลอดภัยสำหรับการเล่นน้ำมากน้อยแค่ไหน และหากพบเห็นวัตถุหรือสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายปลาหมึกหรือแมงกะพรุนก็ไม่ควรไปหยิบหรือเข้าใกล้และให้รับขึ้นจากน้ำทันที”เรืออากาศเอก นพ.อัจฉริยะกล่าว

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...