ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
ก.พลังงาน ยันช่วยค่าไฟกลุ่มเปราะบางครบกำหนด 30 เม.ย. 66
25 เม.ย. 2566

ก.พลังงาน ยันช่วยค่าไฟกลุ่มเปราะบางครบกำหนด 30 เม.ย. 66 ขณะที่ กฟผ.ยอมรับ แบกภาระค่า Ft ถึง1.5 แสนล้าน


นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า มาตรการช่วยเหลือประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางจะครบกำหนดวันที่ 30 เม.ย. 2566 นี้ โดยขณะนี้ รัฐบาลอยู่ระหว่างขยายต่อรอบเดือน พ.ค.-ส.ค. 2566 ยอมรับว่ามาตรการขณะนี้ ขึ้นอยู่กับทางรัฐบาลว่าจะเสนออย่างไร ซึ่งยิ่งเป็นรัฐบาลรักษาการก็ต้องขออนุมัติดำเนินการจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และจะเป็นเรื่องของ กกต.ในการช่วยเหลือ ซึ่งช่วงนี้ยอมรับว่า ยังทำอะไรไม่ได้ เพราะเป็นนโยบาย หากรัฐบาลจะทำก็ต้องขอ กกต.
สำหรับประเด็นอัตราการสำรองไฟฟ้า (Reserve Margin : RM) ที่หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าเป็นอีกสาเหตุทำให้ค่าไฟแพงนั้น ปัจจุบันสำรองไฟฟ้าของไทยอยู่ที่ 36% ไม่ได้สูงถึง 50 – 60% โดยตัวเลขดังกล่าวเป็นการนำค่ากำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญามาคำนวณ จึงไม่สะท้อนอัตราการสำรองไฟฟ้าแท้จริง อาทิ ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน อาทิ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวล กลุ่มนี้ไม่สามารถพึ่งพาได้ตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากปัจจัยช่วงเวลา ฤดูกาล ถูกคำนวณเป็นสำรองไฟฟ้าแต่ไม่ใช่สำรองไฟฟ้าที่แท้จริง
“การสำรองไฟฟ้าจริง ๆ แล้วมีประเด็นตลอด โดยแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP) ที่กำหนดการจัดหาพลังงานไฟฟ้า 20 ปี ซึ่งกระทรวงพลังงานก็ต้องเตรียมการไว้ เพื่อก้าวเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ดังนั้น การจะต้องมีการเปิดทำไฟสะอาดเป็นเรื่องที่จำเป็น การสำรองไฟ ไฟสะอาด หากไม่มีไฟตลอดเวลาจำเป็นต้องสำรองไว้ ตรงนี้ก็ต้องสำรองเพื่อความมั่นคงในอนาคต”
อย่างไรก็ตาม หากจะให้ค่าไฟฟ้ามีราคาต่ำกว่า 4 บาทต่อหน่วยนั้น หากดูแผน PDP ก่อนหน้านี้ การนำเข้าก๊าซ LNG ในช่วงนั้นถูกมาก โดยปี 2562-2563 อยู่ที่ระดับ 6-7 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียู กระโดดมาที่ 40-50 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียู จากปัจจัยเศรษฐกิจฟื้นตัวหลังโควิด-19 ระบาด รวมถึงสงครามรัสเซียและยูเครน ดังนั้น ต้นทุนฐานไม่ได้มีการกระทบ แต่ค่า Ft กระทบกับราคาค่าไฟที่แพงขึ้น เพราะมาจากต้นทุนเชื้อเพลิง LNG ในช่วงตอนปลายปี 2565 ที่มีราคาแพงมาก ซึ่งตอนนี้ พยายามคำนวณในราคาที่ลดลงมาที่ 19-20 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียู และสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้กำชับ บริษัท ปตม. จำกัด (มหาชน) จัดหาให้ได้ในราคา 13-15 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียูในรอบหน้า เพื่อทำให้ราคาลดลง
สำหรับการปรับลดค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) งวดที่ 2 เดือนพ.ค.-ส.ค. 2566 ตามมติ กกพ. เมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2566 ที่ลดค่าไฟฟ้าลงจาก 4.77 บาทต่อหน่วย เหลือ 4.70 บาทต่อหน่วย จากการยอมรับภาระค่า Ft ของ กฟผ.เพิ่มจาก 6 งวด เป็น 7 งวดไฟฟ้า โดยลดลงมาอีก 7 สตางค์ เพื่อให้อยู่ในกรอบในการรับภาระได้ภายใน 2 ปี และยืนยันว่าที่ผ่านมากระทรวงพลังงานไม่อยู่นิ่ง และทุกฝ่ายให้ความร่วมมือด้วยดีมาตลอด จากการประมาณการตัวเลขสถานะทางการเงินของ กฟผ. ขณะนี้ น่าจะแบกภาระได้เท่านี้ คืองวดสุดท้ายจะอยู่ที่งวดแรกของปี 2568 คืองวดเดือนม.ค.-เม.ย. 2566 เพราะหากรับภาระยาวกว่านี้ จะมีผลต่อการกู้เงินและเครดิต กฟผ.


ด้านนายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า สำหรับสภาพคล่องของ กฟผ. หาก เมื่อต้องแบกค่า Ft ประมาณ 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งสิ่งที่ทำได้คือการเจรจากับคู่สัญญา อย่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รวมถึง 2 การไฟฟ้าจัดจำหน่ายที่กฟผ. ต้องรับเงิน รวมถึงการกู้เงินทั้ง 2 ก้อนรวม 1.1 แสนล้านบาท ของ กฟผ. ถือเป็นการกู้เงินระยะสั้นและเบิกได้ตามวงเงิน เป็นการกู้โดยการใช้งานที่ต้องจ่ายเงินต้นและคืนภายในระยะเวลา 2 ปี ซึ่ง กฟผ. จึงต้องทำกระแสเงินสดที่บริหารอย่างเต็มที่
"การกู้เงินรวม 1.1 แสนล้านบาท เป็นการกู้ระยะสั้น หากไม่ได้เงินค่า Ft ที่ค้างรับ จะทำให้การจัดอันดับเครดิตที่เคยดีมาตลอดของเรามีปัญหา ซึ่งการแบกรับค่า Ft ให้ประชาชนตอนนี้ เหมือนอูฐแบกฟาง จนจะเป็นฟางเส้นสุดท้ายแล้วจึงไม่สามารถเพิ่มภาระได้อีกจากวงเงิน 1.5 แสนล้านบาทเดิม 6 งวด ต้องทะยอยคือนงวดละประมาณ 2 หมื่นล้าน ก็ขยายเป็น 7 งวด ซึ่งจะครบ 4 เดือนแรกของปี 2568 ซึ่งช่วงนั้นรัฐบาลต้องหาเงินมาอุ้ม"

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...