ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
ผู้ว่าฯ บึงกาฬ ลงพื้นที่พร้อมเกษตรจังหวัดบึงกาฬ ประเมินรางวัลเลิศรัฐประเภทร่วมใจแก้จน
19 พ.ค. 2566

           นายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ พร้อมด้วยนายกฤษฎา พลสิทธิ์ เกษตรจังหวัดบึงกาฬ นายสมหวัง อารีย์เอื้อ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดบึงกาฬ หัวหน้าส่วนราชการจังหวัด ลงพื้นที่เตรียมความพร้อมรับการตรวจประเมินรางวัลเลิศรัฐ สาขาบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทร่วมใจแก้จน ประจำปี 2566 ณ กลุ่มแปลงใหญ่วิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมทอง B.K.77 โดยมีการลงพื้นที่ชมแปลงกล้วยของนายคมสัน กลางโชคชัย บ.โพนแก้ว ต.หนองหัวช้าง อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ และนายคมสัน ถามูลเลศ บ.เหล่าใหญ่ ต.ศรีสำราญ อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ เตรียมความพร้อมรับการตรวจประเมินรางวัลเลิศรัฐประเภทร่วมใจแก้จน เรื่องกล้วยหอมทองแก้จน วิถีคนบึงกาฬ โดยมีหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเกษตรกรในพื้นที่เข้าร่วมในกิจกรรมฯ

            นายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ กล่าวว่า ตามที่ สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดให้มีการมอบรองวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2566 ซึ่งมีสาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทร่วมใจแก้จน ดำเนินการโดยสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่ และให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ เกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพภาครัฐ ได้มีมติเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2566 ผลงานเรื่องกล้วยหอมทองแก้จน วิถีคนบึงกาฬ ของจังหวัดบึงกาฬ ผ่านเกณฑ์การประเมินรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2566 ในขั้นตอนที่ 1 และมีกำหนดการตรวจประเมินขั้นตอนที่ 2 ในวันที่ 23 มิถุนายน 2566 ณ พื้นที่ปฏิบัติงานผ่านการลงพื้นที่ (Site Visit) เพื่อพิจารณาคัดเลือกผลงานในระดับดี หรือในระดับดีเด่น จังหวัดบึงกาฬ นำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องจึงลงพื้นที่มาเพื่อเตรียมความพร้อมรับการตรวจประเมินต่อไป

            ทั้งนี้ นายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อร่วมกันเสนอความคิดสร้างสรรค์ต่างๆเพื่อพัฒนาสินค้าในพื้นที่ โดยเฉพาะกล้วยหอมทอง และผลิตผล ผลิตภัณฑ์ต่างๆที่สามารถจะต่อยอดเพื่อเพิ่มพูนรายได้และสร้างงานสร้างอาชีพเพิ่มเติมให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ได้ ให้สามารถมีรายได้อย่างต่อเนื่อง และขจัดความยากจนอย่างยั่งยืน โดยชี้แนะการนำวัสดุจากต้นกล้วยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อยอด เช่น การทำกระดาษใยกล้วยจากเศษลำต้น การทำเชือกจากเศษกล้วย การทำจานกระดาษจากเส้นใยต้นกล้วย เป็นต้น รวมถึงการนำพืชครัวเรือนมาปลูกแซมสวนกล้วยเพื่อใช้รับประทานได้ อาทิ พริก มะเขือ เป็นต้น

            นอกจากนี้ สำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬ นำโดย นายกฤษฎา พลสิทธิ์ เกษตรจังหวัดบึงกาฬ และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬได้ให้คำแนะนำในการดูแลสวนกล้วยหอมทอง การบริหารจัดการน้ำ การกำจัดแมลงหรือศัตรูพืชด้วยวิธีธรรมชาติอย่างถูกวิธี เพื่อให้เกษตรกรสามารถสร้างรายได้จากสวนกล้วยหอมทองได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...