ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
อ.พบพระ เกษตรกรปลูกลุ้ยเริ่มยิ้มได้ หลังลุ้ยราคาขยับขึ้น สูงถึง กก.ละ 7 บาท เร่งตัดส่งตลาด มีพ่อค้ามารับซื้อถึงไร่
19 พ.ค. 2566

ผู้สื่อข่าวรายงานจากพื้นที่อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ช่วงนี้เป็นช่วงเริ่มต้นฤดูฝน และ เป็นช่วงสถานศึกษาเปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2566 พร้อมกันทั่วประเทศไทย ซึ่งเป็น

ช่วงรอยต่อระหว่างฤดูแล้งเข้าสู่ฤดูฝน ทำให้พืชผักบางชนิด เป็นที่ต้องการในบริโภคของประชาชนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้พี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกผัก เริ่มมีราคาดีขึ้น ผักที่พี่น้องเกษตรกรตัดขาย และเริ่มเพาะปลูกช่วงฤดูแล้งใช้น้ำรดอย่างสม่ำเสมอ
มีพื้นที่ทำการเพาะปลูก มีอย่างจำกัด เนื่องจากแหล่งน้ำไม่เพียงพอ สำหรับทำการเกษตร

วันนี้เกษตรกรผู้ปลูกลุ้ย หรือ ชาวบ้านพื้นราบบางพื้นที่อาจจะเรียกว่าผักกาดขาวปี เกษตรกรสุดปัง ดีใจในรอบปี ที่ปลูกลุ้ยได้ราคา

คุณกัญญา แช่ว่าง อายุ 31 ปี เกษตรกรปลูกลุ้ยบ้านเจริญมิตร (บ้าน4) หมู่ที่8 ต.รวมไทยพัฒนา อ.พบพระ จ.ตาก
เป็น 1 ในผู้ปลูกลุ้ย บนเนื้อที่ 5 ไร่ 2 งาน โดยได้ปลูกในช่วง เทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา ดูแลให้น้ำด้วยหัวสปริงเกอร์ จากเครื่องยนต์ปั่นน้ำ จากแหล่งน้ำธรรมชาติ เดิมทีอยากปลูกหลายไร่ แต่แหล่งน้ำไม่เพียงพอ และค่าน้ำมันแพง ค่าปุ๋ยค่ายาราคาสูงแพงมากตนเองมีทุนน้อย แม้กำลังที่จะทำได้เพียงแค่ 5 ไร่ ใช้เวลาปลูกจนถึงตัด ประมาณ 40 กว่าวัน โดยรดน้ำสม่ำเสมอ ทุกวันใส่ปุ๋ย 3 ครั้ง รองพื้น 1 ครั้ง และบนดิน 2 ครั้ง ปุ๋ยก็ราคาแพง ย่าฆ่าแมลงก็แพง รดน้ำทุกวันสม่ำเสมอค่าน้ำมัน ที่ใช้ เครื่องรดน้ำเสียค่าน้ำมันวันละ 10 ลิตร ตัวเองดีใจปลูกลุ้ยได้ราคา 7 บาท ราคาในไร่ ตนเองเร่งตัดส่งพ่อค้า เพราะว่าเห็นราคาดี ที่ผ่านมาที่เคยปลูก และตัดขาย ได้ขายลุ้ยในราคากิโลกรัมละ 2 - 3 บาทเองยอมรับว่าดีใจมาก แต่ก็อยากฝากในงานที่เกี่ยวข้อง ให้ปุ๋ย และยา ราคาลดลงมากกว่านี้ปุ๋ยยาราคาแพง ถ้าผลผลิตทางการเกษตรของพี่น้อง ราคาถูก ชาวบ้านจะขาดทุนและฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อีกเรื่องหนึ่งคือ หาแหล่งน้ำพัฒนาแหล่งน้ำให้เพียงพอ คุณกัญญา กล่าว

ขณะที่พ่อค้าเข้ามารับซื้อลุ้ยถึงในแปลงผัก เฮียมิตร เป็นพ่อค้ารับซื้อผัก อยู่ในตำบลคีรีราษฎร์ อ.พบพระ จ.ตาก ได้กล่าวว่ากับผู้สื่อข่าวว่า ตนเองมาเป็นคนรับซื้อลุ้ยของ คุณกัญญา นำไปส่งขายต่อให้กับพ่อค้าต่างจังหวัดโดยวันนี้รับซื้อกิโลกรัมละ 7 บาท ราคาขึ้นอยู่กับแต่ละวัน มีราคาขึ้น - ลง ไม่แน่นอน

โดยสภาพลุยในแปลงนี้ ทีสภาพที่สวยงามหัวใหญ่ น้ำหนักต่อหัว หัวละประมาณ 1 กิโล ไม่มีหนอนสภาพลุยสวยงามมาก เจ้าของดูแลดีคาดว่า 1 ไร่ได้น้ำหนักลุ้ย อยู่ที่ประมาณ 7,000 - 8,000 กิโลกรัม หรือไร่ละ 7-8 ตัน

เฮียมิตร ยังให้ข้อมูลอีกว่าตนเองเป็นพ่อค้ารายย่อย พึ่งเริ่มต้น รับซื้อลุ้ยและส่งต่อให้พ่อค้าต่างจังหวัด วันหนึ่งต้องมีผักส่ง ให้พ่อค้าปลายทาง ประมาณกว่า 1,000 กิโลกรัม หรือกว่า 1 ตันตามที่พ่อค้า ตามที่มีออเดอร์ รับซื้อดังกล่าวจังหวัดที่ไปส่ง มีกรุงเทพมหานคร พิษณุโลก นครสวรรค์ และในภาคอีสาน แล้วแต่จะมีออเดอร์ที่ไหน เราก็ไปส่งที่นั่น นอกจากซื้อลุยแล้วเรายังซื้อกะหล่ำปลีอีกด้วย

ทางด้านการขนส่ง ต้องควบคุมในการตัดผัก และลำเลียงผัก ถ้าตัด และลำเลียงในรถไม่ดี ผักจะเสียหาย และจะถูกตัดราคา จากพ่อค้าปลายทาง พร้อมทั้งต้องรีบส่งตามเวลา พ่อค้ากำหนด ต้องพิถีพิถันในการตัดผักลุ้ย และขนส่งทันตามเวลาบางครั้งซื้อไปก็ขาดทุนบางครั้งก็กำไรอยู่ที่ตลาดปลายทางแต่ละวันเอาของไม่ดีส่งไปให้พ่อค้าปลายทางเขาก็ตัดราคา ถ้าเราได้ผักที่เราตัด มีคุณภาพดี ก็จะมีราคาเราจึงซื้อราคาแต่ละวันไม่เหมือนกัน ขึ้นลงตามราคาปลายทาง ถ้าราคาพอไปได้ เราก็ซื้อได้ แถวไร่อยู่ได้เราก็อยู่ได้ เพราะตนเองเป็นชาวไร่มาก่อนรู้ดีว่า ชีวิตชาวไร่เป็นอย่างไร เฮียมิตร กล่าว

สำหรับในช่วงต้นฤดูฝน ผักมีราคาขยับขึ้น เป็นเพราะมาจากปัจจัยหลายอย่าง เช่นช่วงระยะเวลาเกษตรกรเพราะปลูกเป็นช่วงฤดูแล้งแหล่งน้ำไม่เพียงพอ อากาศไม่เหมาะสม การทำก็ยุ่งยาก สภาพอากาศแปรปรวน ทำให้ผักขาดตลาดและเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง เป็นช่วงที่โรงเรียนเปิดเทอมความต้องการผักนำไปประกอบอาหารอาจจะสูงขึ้นเป็นจังหวะของเกษตรกร ต่างยอมรับว่าเป็นการเสี่ยงขาดทุนปลูกผักในช่วงฤดูฝนนี้ เนื่องจากปุ๋ยยาราคาแพง น้ำไม่เพียงพอยังมาเจอปัจจัยสภาพดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน ถ้าผลผลิตออกมาดี และราคาดีเกษตรกรก็ยิ้มได้ สิ่งสำคัญ เกษตรกรและหลายพื้นที่ฝากถึง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลดต้นทุนปุ๋ยยาที่ราคาสูงเกินไป และหาแหล่งน้ำให้เพียงพอ กับความต้องการของพี่น้องประชาชน

เกษมสันต์ ไชยเดช จ.ตาก

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...