ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เผยคนกรุงเทพฯ 47.45% ค่อนข้างพอใจกับการทำงานในรอบ 1 ปี ของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพราะเป็นคนขยันตั้งใจทำงาน ปัญหาในพื้นที่ได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว และ กทม.มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น รองลงมา 27.75% พอใจมาก เพราะลงพื้นที่รับฟังเสียงของประชาชนอย่างสม่ำเสมอ ปัญหาที่ร้องเรียนได้รับการแก้ไข ขณะที่บางส่วนระบุว่าทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้กับประชาชน ขณะที่ 14.80% ไม่ค่อยพอใจ เพราะทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้ได้น้อย และปัญหาใน กทม. ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง เช่น ปัญหาการจราจร และอีก 10.00% ไม่พอใจเลย เพราะผลงานไม่ชัดเจน และยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างไปจากเดิม
โดยสามารถจำแนกความพึงพอใจต่อการทำงานในประเด็นต่างๆ ดังนี้
– การเพิ่มพื้นที่สีเขียว สวนสาธารณะ กลุ่มตัวอย่าง 42.20% ระบุว่าค่อนข้างดี รองลงมา 27.55% ระบุว่าดีมาก ตามด้วย 14.75% ระบุว่าไม่ค่อยดี, 10.95% ระบุว่าไม่ดีเลย และ 4.55% ระบุว่าไม่มีข้อมูล
– การแก้ไขปัญหาความสะอาด ขยะ ฝุ่นละออง น้ำเสีย กลุ่มตัวอย่าง 44.35% ระบุว่าค่อนข้างดี รองลงมา 23.45% ระบุว่าดีมาก ตามด้วย 18.45% ระบุว่าไม่ค่อยดี, 12.35% ระบุว่าไม่ดีเลย และ 1.40% ระบุว่าไม่มีข้อมูล
– การส่งเสริมการท่องเที่ยวใน กทม. กลุ่มตัวอย่าง 43.85% ระบุว่าค่อนข้างดี รองลงมา 22.40% ระบุว่าดีมาก ตามด้วย 15.40% ระบุว่าไม่ค่อยดี, 9.70% ระบุว่าไม่มีข้อมูล และ 8.65% ระบุว่าไม่ดีเลย
– การปรับปรุงการให้บริการในหน่วยงานของ กทม. กลุ่มตัวอย่าง 41.85% ระบุว่าค่อนข้างดี รองลงมา 21.00% ระบุว่าดีมาก ตามด้วย 18.00% ระบุว่าไม่ค่อยดี, 10.20% ระบุว่าไม่ดีเลย และ 8.95% ระบุว่าไม่มีข้อมูล
– การปรับปรุงและจัดระเบียบทางเท้า เช่น หาบเร่แผงลอย การจอดยานพาหนะหรือตั้งร้านบนทางเท้า กลุ่มตัวอย่าง 44.05% ระบุว่าค่อนข้างดี รองลงมา 20.75% ระบุว่าดีมาก, 18.40% ระบุว่าไม่ค่อยดี, 14.30% ระบุว่าไม่ดีเลย และ 2.50% ระบุว่าไม่มีข้อมูล
– การป้องกันอาชญากรรมและสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เช่น การติดไฟส่องสว่าง กล้องวงจรปิด ระบบรักษาความปลอดภัย กลุ่มตัวอย่าง 43.10 ระบุว่าค่อนข้างดี รองลงมา 19.95% ระบุว่าดีมาก ตามด้วย 20.00% ระบุว่าไม่ค่อยดี, 11.95% ระบุว่าไม่ดีเลย และ 5.00% ระบุว่าไม่มีข้อมูล
– การสนับสนุนการกีฬา กลุ่มตัวอย่าง 42.40% ระบุว่าค่อนข้างดี รองลงมา 19.85% ระบุว่าดีมาก ตามด้วย 17.35% ระบุว่าไม่ค่อยดี, 12.25% ระบุว่าไม่มีข้อมูล และ 8.15% ระบุว่าไม่ดีเลย
– การปรับปรุงทัศนียภาพ ถนน ตรอก ซอย กลุ่มตัวอย่าง 48.40% ระบุว่าค่อนข้างดี รองลงมา 19.70% ระบุว่าดีมาก ตามด้วย 17.25% ระบุว่าไม่ค่อยดี, 12.05% ระบุว่าไม่ดีเลย และ 2.60% ระบุว่าไม่มีข้อมูล
– การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม กลุ่มตัวอย่าง 36.15% ระบุว่าค่อนข้างดี รองลงมา 19.25% ระบุว่าดีมาก ตามด้วย 16.10% ระบุว่าไม่มีข้อมูล, 15.70% ระบุว่าไม่ค่อยดี และ 12.80% ระบุว่าไม่ดีเลย
– การแก้ไขปัญหาทุจริต คอร์รัปชัน ในหน่วยงานของ กทม. กลุ่มตัวอย่าง 29.35% ระบุว่าค่อนข้างดี รองลงมา 21.45% ระบุว่าไม่ค่อยดี ตามด้วย 18.25% ระบุว่าดีมาก, 17.05% ระบุว่าไม่มีข้อมูล และ 13.90% ระบุว่าไม่ดีเลย
– การจัดระเบียบการชุมนุม กลุ่มตัวอย่าง 40.55% ระบุว่าค่อนข้างดี รองลงมา 17.70% ระบุว่าดีมาก ตามด้วย 16.05% ระบุว่าไม่ค่อยดี, 14.65% ระบุว่าไม่มีข้อมูล และ 11.05% ระบุว่าไม่ดีเลย
– การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ เช่น รถไฟฟ้า เรือ กลุ่มตัวอย่าง 37.15% ระบุว่าค่อนข้างดี รองลงมา 19.95% ระบุว่าไม่ค่อยดี ตามด้วย 15.90% ระบุว่าดีมาก, 15.80% ระบุว่าไม่มีข้อมูล และ 11.20% ระบุว่าไม่ดีเลย
– การพัฒนาการศึกษา แก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน กลุ่มตัวอย่าง 36.75% ระบุว่าค่อนข้างดี รองลงมา 20.55% ระบุว่าไม่ค่อยดี ตามด้วย 16.70% ระบุว่าไม่มีข้อมูล, 15.05% ระบุว่าดีมาก และ 10.95% ระบุว่าไม่ดีเลย
– การแก้ไขปัญหาสุขภาพ/สาธารณสุข กลุ่มตัวอย่าง 45.05% ระบุว่าค่อนข้างดี รองลงมา 20.05% ระบุว่าไม่ค่อยดี ตามด้วย 14.45% ระบุว่าดีมาก, 10.60% ระบุว่าไม่ดีเลย และ 9.85% ระบุว่าไม่มีข้อมูล
– การจัดระเบียบ คนเร่ร่อน คนจรจัด ขอทาน กลุ่มตัวอย่าง 40.30% ระบุว่าค่อนข้างดี รองลงมา 27.10% ระบุว่าไม่ค่อยดี ตามด้วย13.85% ระบุว่าไม่ดีเลย, 10.40% ระบุว่าดีมาก และ 8.35% ระบุว่าไม่มีข้อมูล
– การแก้ไขปัญหาจราจรและรถติด กลุ่มตัวอย่าง 39.75% ระบุว่าค่อนข้างดี รองลงมา 26.85% ระบุว่าไม่ค่อยดี ตามด้วย 18.45% ระบุว่าไม่ดีเลย, 10.30% ระบุว่า ดีมาก และ 4.65% ระบุว่า ไม่มีข้อมูล
– การแก้ไขปัญหาค่าครองชีพ/ปากท้อง ตัวอย่าง ร้อยละ 35.00% ระบุว่าไม่ค่อยดี รองลงมา 27.15% ระบุว่าค่อนข้างดี ตามด้วย 19.55% ระบุว่าไม่ดีเลย, 12.85% ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และ 5.45% ระบุว่าดีมาก
ทั้งนี้ นิด้าโพลได้สำรวจความคิดเห็นดังกล่าวจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 50 เขต กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 24-30 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) จากการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น 97.0%