ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
สส. ขับเคลื่อน Zero Waste มุ่งการจัดการขยะชุมชนและโรงเรียนปลอดขยะ
07 มิ.ย. 2566

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) มอบรางวัลให้แก่ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และโรงเรียน ที่ผ่านเข้ารอบที่ 1 ประกอบด้วย โครงการชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) จำนวน 130 รางวัล แบ่งเป็น ชุมชนปลอดขยะ จำนวน 71 รางวัล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 59 รางวัล และโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ปี 2566 รอบที่ 1 จำนวน 80 รางวัล รวมถึงมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างชุมชนปลอดขยะและโรงเรียนปลอดขยะ พัฒนาต่อยอดกิจกรรมการจัดการขยะที่ต้นทางให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ มุ่งสู่ Build forward Greener ปรับเปลี่ยนชีวิตวีถีใหม่ อย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

นายสมศักดิ์ สรรพโกศลกุล อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ยุทธศาสตร์ที่ 5 การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Sustainable Development and Growth) มุ่งเน้นส่งเสริมการเติบโต สมดุล ยั่งยืน ทั้งเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีพันธกิจหลักในการขับเคลื่อนและสนับสนุนนโยบายของประเทศ สู่การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อความสมดุลและยั่งยืน พัฒนาทุกภาคส่วนให้ขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ซึ่งกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้นำนโยบายมาสู่การปฏิบัติ ผ่านโครงการชุมชนปลอดขยะ และโครงการโรงเรียนปลอดขยะ โดยแนวคิด Zero waste หรือขยะเหลือศูนย์ เป็นแนวคิดที่ส่งเสริมการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดปริมาณขยะที่ส่งไปกำจัดให้มีปริมาณน้อยที่สุด โดยใช้หลัก 3Rs มาเผยแพร่ให้แก่ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานศึกษา ทั้งนี้เรื่องของการจัดการขยะที่ต้นทาง จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการปลูกฝังจิตสำนึก สร้างการรับรู้ และส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วม ผ่านกิจกรรมการจัดการขยะที่ได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง เพื่อก่อให้พฤติกรรมที่ดีด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการจะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทั้งหลายให้คุ้มค่า เราต้องคิดให้ได้ว่า เมื่อเราใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นแล้ว เราจะนำสิ่งเหล่านั้นกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างไร เพื่อให้เกิดประโยชน์ เพื่อมุ่งสู่ Build forward Greener ปรับเปลี่ยนชีวิตวีถีใหม่ อย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


จากการดำเนินงานโครงการชุมชนปลอดขยะและโรงเรียนปลอดขยะ ตั้งแต่ปี 2552 - 2566 ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี มีเครือข่ายชุมชน จำนวน 1,834 ชุมชน เครือข่ายโรงเรียน จำนวน 8,721 โรงเรียน มีการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ จำนวน 271,524 ตัน ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะ จำนวน 271,524,000 บาท มีรายได้นำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ จำนวน 1,629,144,000 บาท และที่สำคัญสามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะรวม 116,755.32 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และในปี 2566 นี้ มีเครือข่ายชุมชนปลอดขยะที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 109 ชุมชน และเครือข่ายโรงเรียนปลอดขยะ จำนวน 1,808 โรงเรียน ทั้ง 2 โครงการฯ สามารถนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ จำนวน 9,490.29 ตัน และลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะ 788,069 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kgCO2eq) จะเห็นได้ว่าการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะสามารถช่วยลดปัญหามลพิษและปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ครอบคลุมหลายด้าน ทั้งช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ลดผลกระทบการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ ลดปัญหาขยะพลาสติก และลดปัญหาขยะทะเล
โดยได้รับความสนใจจากชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และโรงเรียน มีการมอบรางวัลให้แก่โครงการชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) ปี 2566 รอบที่ 1 จำนวน 130 รางวัล แบ่งเป็น ชุมชนปลอดขยะ จำนวน 71 รางวัล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 59 รางวัล และโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ปี 2566 รอบที่ 1 จำนวน 80 รางวัล รวมถึงมีการเสวนา เรื่อง “ทำอย่างไร...ถึงจะเป็นชุมชนปลอดขยะและโรงเรียนปลอดขยะระดับประเทศ” โดยผู้แทนจากชุมชนปลอดขยะและโรงเรียนปลอดขยะชนะเลิศระดับประเทศ ประจำปี 2565 ได้แก่ ผู้แทนชุมชนบ้านหนองจับเป็ด จังหวัดจันทบุรี ชุมชนบ้านหนองไม้เฝ้า จังหวัดราชบุรี ชุมชนบ้านหัวพงษ์ จังหวัดกาญจนบุรี โรงเรียนอนุบาลจุมพลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย และโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ดำเนินกิจกรรมชุมชนปลอดขยะ และโรงเรียนปลอดขยะ พัฒนาต่อยอดกิจกรรมการจัดการขยะที่ต้นทางให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ จนประสบความสำเร็จได้รับรางวัลระดับประเทศ เครือข่ายชุมชนปลอดขยะและโรงเรียนปลอดขยะ คือส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมการจัดการขยะของประเทศให้มีทิศทางและแนวโน้มที่ดีขึ้น เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมให้กับสังคม เปรียบได้กับฟันเฟือนสำคัญในการขับเคลื่อนแนวคิด Zero Waste สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน และคาดหวังว่าจะมีการขยายผลชุมชนปลอดขยะ และโรงเรียนปลอดขยะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต นายสมศักดิ์ สรรพโกศลกุล กล่าวทิ้งท้าย 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...