ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
กฟผ.พาสื่อเยี่ยมชมสถานีระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเอกชน
12 มิ.ย. 2566

เมื่อวันที่ 7-9 มิ.ย. 66 นายพงศ์อนันต์ นิติพงศ์ หัวหน้าหมวดที่ดินส่วนราชการและสถานีไฟฟ้าแรงสูง หน่วยประสานงานก่อสร้าง โครงการก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเอกชน นำพาสื่อมวลชนจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของภาคกลาง ไปเยี่ยมชมสถานีไฟฟ้าแรงสูง บางสะพาน2 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสถานีไฟฟ้แรงสูงสุราษฎร์ธานี 2 จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อดูความคืบหน้าในการสร้างโครงการพัฒนาระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลไปยังบริเวณอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า พร้อมทั้งพาคณะสื่อมวลชนชมความสวยงามของเขื่อนรัชชประภา และอุทธยานแห่งชาติเขาสก โดยมีนายสัจจะ เห็นใจชน ผู้ช่วยผู้อำนวยการโครงการก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเอกชน (ช.อค-สช.(สส)) นายชาคริต พานิชชอบ หัวหน้าหน่วยก่อสร้างสายส่งเพื่อรับไฟฟ้าจากต่างประเทศ โครงการก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเอกชน และนายเชาวลิต วิชิระประเสริฐ ผู้อำนวยการเขื่อนรัชชประภา พร้อมคณะให้การต้อนรับ

นายชาคริต พานิชชอบ หัวหน้าหน่วยก่อสร้างสายส่งเพื่อรับไฟฟ้าจากต่างประเทศ โครงการก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเอกชน กล่าวเปิดเผยว่า เนื่องจากภาคใต้ของประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าคิดเป็นประมาณ 9 เปอร์เซ็นต์ จากความต้องการใช้ทั้งหมดของประเทศไทย (ณ ปี 2557) โดยมีลักษณะพื้นที่เป็นแหลมยื่นออกจากภาคตะวันตกของไทยลงสู่ทิศใต้ ขนาบด้วยอ่าวไทยทางฝั่งตะวันออกและทะเลอันดามันทางฝั่งตะวันตก มีความยาวจากปลายสุดของภาคตะวันตกจดใต้สุดประมาณ 750 กิโลเมตร ลักษณะการเชื่อมต่อระบบส่งไฟฟ้าของภาคใต้กับภาคอื่นๆของไทย จะเชื่อมต่อกับระบบส่งไฟฟ้าผ่านทางภาคตะวันตกเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันภาคใต้มีเพียงระบบสายส่ง 230 kV และ 115 kV เชื่อมโยงภายในภาคเท่านั้น ดังนั้น เพื่อเสริมความมั่นคงพื้นที่ฝั่งตะวันตกของภาคใต้ ให้มีความเชื่อถือได้เพิ่มขึ้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงได้จัดทำโครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้า บริเวณภาคตะวันตกและภาคใต้ เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า

ทางด้าน นายสัจจะ เห็นใจชน ผู้ช่วยผู้อำนวยการโครงการก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเอกชน (ช.อค-สช.(สส)) กล่าวเพิ่มเติมว่า ตามที่รัฐบาลได้ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว ทำให้ภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มีการพัฒนาและมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่หมู่เกาะทะเลใต้ บริเวณอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และพื้นที่เกาะข้างเคียง (เกาะพะงัน และเกาะเต่า) ส่งผลให้มีความต้องการไฟฟ้าในพื้นที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับปี 2560 พื้นที่ดังกล่าว มีปริมาณความต้องการไฟฟ้าสูงสุดของรอบปี (Maximum Annual Peak Load) เท่ากับ 129.68 MW เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560 เวลาประมาณ 19.00 น. และสำหรับปี 2561 พื้นที่ดังกล่าว ได้มีปริมาณความต้องการไฟฟ้าสูงสุดของรอบปี เท่ากับ 126.1 MW เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2561 เวลาประมาณ 19.00 น. โดยคำพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าในปี 2579 ได้มีการคาดการณ์ว่า จะมีค่าสูงถึง 269.9 MW

ปัจจุบัน พื้นที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และพื้นที่เกาะข้างเคียง รับกำลังไฟฟ้าจากสายเคเบิ้ลใต้ทะเลของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ. ที่ระดับแรงดัน 115 kV และ 33 kV ผ่านสถานีไฟฟ้าแรงสูงขนอม ของ กฟผ. จำนวน 4 วงจร ซึ่งมีอายุการใช้งานนาน ทำให้ไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าเต็มความสามารถของสายเคเบิ้ลได้ อีกทั้งเกิดการชำรุดบ่อยครั้งและปัจจุบัน กฟภ. อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างสายเคเบิ้ลใต้ทะเล วงจรที่ 5 โดยมีกำหนดนำเข้างานประมาณปี 2563 - 2564 อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวสายเคเบิ้ลใต้ทะเล จะถูกปลดออกจากระบบตามสภาพการใช้งานทำให้ความสามารถของสายเคเบิ้ลใต้ทะเลของ กฟภ.ที่เหลืออยู่ไม่เพียงพอสำหรับการจ่ายไฟฟ้าในอนาคต

สมเกียรติ ทรัพย์เฉลิม / หน.ข่าวภูมิภาค

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...