ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
สรพ.ชู รพ.หาดใหญ่ยอดคุณภาพ2PSafety Tech
13 มิ.ย. 2566

พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) หรือ สรพ. นำคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการสื่อสารสาธารณะและคณะสื่อมวลชน เดินทางลงพื้นที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ จ.สงขลา ระหว่างวันที่ 8-9 มิถุนายน 2566 เพื่อเยี่ยมชมความก้าวหน้าในการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาล และเยี่ยมผลงานการพัฒนานวัตกรรม 2P Safety Tech ที่ได้รับรางวัลประจำปี 2565 จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่ ผลงานนวัตกรรม “ICU without walls” และ “การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ภายในโรงพยาบาลหาดใหญ่ด้วย Digital Transformation”

พญ.ปิยวรรณ กล่าวว่าการลงพื้นที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ครั้งนี้ ได้นำคณะสื่อมวลชนร่วมศึกษา เรียนรู้เกี่ยวกับคุณภาพโรงพยาบาลมาตรฐาน HA และเยี่ยมชมโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ 2P Safety Tech ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง สรพ. และสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยจับคู่นวัตกร Start Up ของ สวทช. ร่วมกับโรงพยาบาลที่สมัครร่วมโครงการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมที่สามารถป้องกันอุบัติการณ์ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล พัฒนานวัตกรรมให้ตอบโจทย์ความ ต้องการหรือ pain point ของโรงพยาบาลที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละโรงพยาบาลและสามารถใช้ได้จริง เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้ โรงพยาบาล 2P Safety Hospital พัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุขใน 12 ด้านตามเป้าหมายความปลอดภัย Patient and Personnel Safety Goal (SIMPLE)2 ภายใต้แนวคิด Human Factor Engineering สำหรับป้องกันความเสี่ยงที่ป้องกันได้ ซึ่งโรงพยาบาลหาดใหญ่ ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนากลไกเพื่อคุณภาพและความปลอดภัยของระบบบริการสุขภาพอย่างมีส่วนร่วม (2P Safety Hospital) และได้รับรางวัลในระดับชนะเลิศ จากการประกวดผลงานการพัฒนาพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข (2P Safety Tech) ประจำปี 2565 จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่ ผลงานนวัตกรรม “ICU without walls” ที่พัฒนาระบบบริหารจัดการเตียงในห้อง ICU อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถจองคิวสะดวกรวดเร็วช่วยผู้ป่วยหนักได้ประโยชน์จากเตียง ICU อย่างเต็มที่ และ “การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ภายในโรงพยาบาลหาดใหญ่ด้วย Digital Transformation” ที่ให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมาช่วยในเรื่องการบริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายกับคนไข้ ถือเป็นตัวอย่างที่โดดเด่นในการใช้เทคโนโลยีเพื่อ Lean ระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพ แก้ปัญหาความล่าช้าของระบบขนส่งผู้ป่วยในโรงพยาบาล เพิ่มความปลอดภัยของผู้ป่วยด้วย.

ด้านนายแพทย์ไชยสิทธิ์ เทพชาตรี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหาดใหญ่ เปิดเผยว่า โรงพยาบาลหาดใหญ่ได้รับการรับรองกระบวนการคุณภาพมาตรฐาน HA ครั้งแรกในปี พ.ศ 2545 โดยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบันได้รับการรับรอง Re-accreditation ครั้งที่ 6 และยังได้การรับรองมาตรฐานเฉพาะโรค/เฉพาะระบบ ในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ การรับรองมาตรฐานเฉพาะโรค/เฉพาะระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในปี พ.ศ. 2562 ด้วย ซึ่งโรงพยาบาลหาดใหญ่ ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนากลไกเพื่อคุณภาพและความปลอดภัยของระบบบริการสุขภาพอย่างมีส่วนร่วม หรือ 2P Safety Hospital ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 และเข้าร่วมโครงการนวัตกรรมเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข (2P Safety Tech) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563

ด้าน พญ.ชุติมา จิระนคร นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลหาดใหญ่ ผู้รับผิดชอบโครงการ ICU without walls กล่าวว่า pain point ที่ว่าเตียงในห้อง ICU เต็มอยู่เสมอ และถ้าเมื่อไหร่ที่แพทย์อยากได้เตียง ใครขอก่อนคนนั้นได้ก่อน คนไข้ที่อาการรุนแรงอาจไม่ได้เตียงเพราะขอทีหลัง นอกจากนี้ การขอเตียงมีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อน อีกทั้งข้อมูลรายละเอียดการขอเตียงไม่เคยถูกแสดงให้เห็น ผู้บริหารจึงประเมินความต้องการใช้เตียงได้ยาก จึงมีการพัฒนาระบบที่ช่วยให้การขอเตียงไม่ซับซ้อน คำนึงถึงโอกาสการการรอดชีวิต และมีความสะดวกรวดเร็ว ติดตามผลได้ โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือ ซอฟต์แวร์จองเตียง ซึ่งเชื่อมต่อกับระบบ ThaiRefer และระบบ Rapid response alert ผู้ที่ต้องการจองเตียงสามารถกรอกข้อมูลแล้วส่งคำขอเข้ามาในระบบส่วนที่ 2 คือฐานข้อมูลผู้ป่วยที่อยู่ในห้อง ICU ทั้งหมด แสดงความหนักเบาของอาการป่วยในแต่ละเตียง และในกรณีที่จำเป็นต้องสลับเตียงเพื่อให้เตียงว่างรองรับผู้ป่วยรายใหม่ จะใช้หลักการเลือกคนที่มีโอกาสเสียชีวิตน้อยที่สุดออก และทีมงานทุกคน ตั้งแต่คนขอเตียง แอดมิน คนจ่ายเตียง และพยาบาล จะได้ข้อมูลไปพร้อมกันทั้งหมดเพื่อลดปัญหาการโต้แย้งกัน

ด้าน นพ.ณรงค์ศักดิ์ นาขวัญ หัวหน้าศูนย์ HYs-MEST โรงพยาบาลหาดใหญ่ กล่าวว่า pain points ของงานโลจิสติกส์ในโรงพยาบาลหาดใหญ่นั้น มีตั้งแต่เรื่องโปรแกรมต่างๆที่ใช้อยู่นั้นล้าสมัย ระบบโปรแกรมเคลื่อนย้ายทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งภายใน ขนส่งภายนอก ยังติดปัญหาค่อนข้างเยอะ ไม่มีระบบติดตามงาน ไม่มีระบบงานที่ชัดเจน ขาดทีมบริหาร ขาดการบริหารจัดการงานควบคุมครุภัณฑ์ และเหนือสิ่งอื่นใดคืองานคลินิกยังมีปัญหา ผู้ป่วยยังรอเตียงนาน รวมถึงเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ จึงเป็นที่มาของการทำ Digital Transformation เพื่อพัฒนาระบบงาน ซึ่งประกอบด้วย 1 Strategy กับ 4 Solution ในส่วนของ Strategy คือการมี SMART High Connect เพื่อตอบโจทย์ 4 Solution ประกอบด้วย 1. SMART HY-Log App 2. SMART HY-Display 3. SMART HY-EVALUATION และ 4. SMART HY-Stock ผลที่ได้คือ 2P safety ผู้ป่วยมีความปลอดภัยมากขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาจ่ายงาน ระยะเวลาร้องขอจากคนไข้ไปถึงเจ้าหน้าที่เปลรับงาน sequence งานมีความต่อเนื่อง ระยะเวลารอคอยการเคลื่อนย้ายลดลงเหลือ 3-5 นาที ตามระดับความฉุกเฉินด้วย.

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...