แห่แชร์ tiktok ช้างป่าสลักพระบุกชุมชนวังด้ง ฝูงช้างป่าบุกพังกำแพงรั้วกินผลไม้วังด้ง # ฝูงช้างป่าสลักพระ 8 ตัวบุกชุมชนบ้านวังด้ง จนท.ชุดไล่ต้อนเร่งไล่ต้อนฝูงช้างป่าสลักพระ ที่บุกพังกำแพงรั้วเพื่อหากินผลไม้ในชุมชนวังด้ง กาญจน์
วันที่ 18 มิถุนายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายไพฑูรย์ อินทรบุตร หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี ได้รับแจ้งจาก ชางบ้านว่ามีฝูงช้างป่า 5 -8 ตัวได้ออกจากแนวเขตพื้นที่ป่าสลักพระและออกเดินทางเข้าไปในชุมชนบ้านเรือนประชาชน จึงสั่งการให้เจ้าหน้าที่ชุดลาดตระเวนไล่ต้อนช้างป่าและดูแลแนวรั้วกันช้าง - คันคู ชุดที่ 1 ลงพื้นที่ บ้านเขาพุล้อม หมู่ที่ 12 ตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อปฏิบัติการไล่ต้อนช้างป่ากลับเข้าพื้นที่ป่า
โดยคณะเจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจสอบพบที่เกอกเหตุช้างป่าบุกบ้านเรือนราษฎร โดยช้างป่าได้พังกำเเพงจนเเตกหักไปจำนวน 4 ช่อง และแตกร้าวอีก 4 ช่อง นอกจากนั้นช้างได้ทำลายกินล้มต้นกล้วย 4 กอ ต้นมะม่วง 1 ต้น เเละ ได้พังรั้วบัานข้างๆ ไป เพื่อเดินทางออกจากบ้านหลังดังกล่าวเสียหายอีก 1 ช่อง
นายไพฑูรย์ อินทรบุตร หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ เปิดเผยว่า สถานการณ์ช้างป่าสลักพระได้ออกมาหากินตามแนวป่ารอยต่อชุมชนรอบป่าสลักพระมากขึ้น ดังนั้นทางเขตสลักพระจึงเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการไล่ต้อนช้างป่ากลับคืนสู่ป่าให้ลงพื้นที่ลาดตะเวนเจ้มจ้นมากขึ้น โดยการลาดตะเวนได้ลงพื้นที่ร่วมกับชาวบ้าน รวมถึงได้พูดคุยกับผู้ใหญ่บ้านและเจ้าของบ้านผู้เสียหายให้รับทราบและร่วมหาวิธีป้องกันแนวทางป้องกันช้างไม่ให้เข้ามาทำลายทรัพย์สินและพืชไร่เสียอีก
นายไพฑูรย์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระได้มีชุดผลักดันช้างป่าที่ช่วยดำเนินการอยู่บริเวณตำบลวังด้งหนึ่งชุด แต่บริเวณรอยต่อป่ากับชุมชนยังไม่มีการดำเนินการทำรั้วกั้นที่แข็งแรงเพียงพอซึ่งในอดีตเคยทำรั้วไฟฟ้ามาเป็นเวลากว่า 10 ปีและได้พังเสียหายหมดแล้ว
“ถ้ามีการพิจารณางบประมาณมาเพื่อดำเนินการจัดทำรั้วกั้นช้างที่มีสภาพแข็งแรงก็จะสามารถช่วยลดปัญหาการออกของช้างได้ระดับหนึ่ง” “ทั้งนี้ช้างกลุ่มนี้มีจำนวน 8 ตัว บางครั้งก็ออกต่างที่กันสามตัวบ้างห้าตัวบ้าง ยากต่อการควบคุม” นายไพฑูรย์ หน.เขตฯสลักพระกล่าวท้ายสุด
ผู้สื่อข่างรายงานว่า ภาพของช้างป่าสลักพระที่ยกฝูงบุกชุมชนบ้านวังด้ง และ บ้านเขาพุล้อม ตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ในครั้งนี้สร้างความเสียหายแก่พืชสวนและทรัพย์สินของประชาชนจำนวนมาก แต่ประชาชนยังมีติดใจที่ดีงามไม่ทำร้ายช้างป่า บางคนได้นำคลิปภาพช้างป่าในอิริยาบถต่างๆ ทำคลิปลงTikTokได้รับความสนใจจากขาวโซเชียลเข้ามากดไลท์และแชร์จำนวนมาก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับปัญหาช้างป่าโขลงนี้ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566 ที่ผ่าน ณ ห้องประชุมเอราวัณชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี ทาง ร้อยโท ทศพล ไชยโกมินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี มอบหมายให้นายศักรินทร์ ทุมเสน รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาช้างป่า และช้างบ้านในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยในที่ประชุมได้ตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ครั้งที่ 1/2566 โดยมีนายวสันต์ สุนจิรัตน์ กำนัน ต.ช่องสะเดา อ.เมือง จ.กาญจนบุรี (ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาช้างป่าภาคตะวันตก)พร้อมคณะกรรมการดำเนินงานเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้
เพื่อบูรณาการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาและป้องกันไม่ให้ช้างป่าออกมาทำลายทรัพย์สิน หรือพืชผลทางการเกษตรของราษฎร โดยการ ศึกษาหาแนวทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาและป้องกันไม่ให้ช้างป่าออกมาทำลายทรัพย์สินหรือพูดผลทางการเกษตรของประชาชน ตลอดจนจัดแหล่งงบประมาณเพื่อสนับสนุนในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว กำหนดแนวทางช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนกรณีทรัพย์สินหรือพืชผลทางการเกษตรที่ได้รับความเสียหายจากการทำลายของช้างป่า
เพื่อการดำเนินงานสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ และให้การปฎิบัติงานของคณะกรรมกาดังกล่าว มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานร่วมกัน จึงมีการแต่งตั้งคณะทำงานตามประเด็นปัญหาต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาช้างป่าและช้างบ้านในจังหวัดกาญจนบุรี ดังนี้
1.คณะทำงานด้านการศึกษาภาพรวมทบทวนข้อมูลพื้นฐานถิ่นที่อยู่อาศัยของช้าง สำรวจพื้นที่ป่าแหล่งน้ำแหล่งอาหารมีพอเพียงขาดแคลนหรือไม่ตามพิกัดกลุ่มช้างป่า/สำรวจจำนวนช้างป่าศึกษาพฤติกรรมช้าง สำรวจเส้นทางเดินของช้างของแต่ละกลุ่ม /สำรวจพื้นที่ถูกบุกรุกทำลายพื้นที่ป่า
2.คณะทำงานจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างคนกับช้าง จัดทำแผนระยะ สั้นระยะกลาง ระยะยาว ระดับพื้นที่อำเภอ / การบริหารจัดการคนกับช้างให้อยู่ร่วมกันได้/กำหนดพื้นที่อยู่อาศัยของช้างป่าปลูกป่าไม้กันชนกำหนดพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่พืชสวนและกำหนดพื้นที่อยู่อาศัยของประชาชน /กำหนดระวังเหตุเฝ้าระวังเตือนภัยจัดตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ชุดผลักดันช้างป่า
3.คณะทำงานคิดค้นพัฒนานวัตกรรม นวัตกรรมและวิจัยแก้ไขปัญหาช้างป่าโดยใช้เทคโนโลยีในการป้องกันเฝ้าระวัง (กล้อง ระบบเซ็นเซอร์ ป้ายเตือนภัย ปรับเปลี่ยนพืชอาหารช้าง)/จัดทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภายนอกเขตอนุรักษ์ อุปกรณ์เครื่องใช้เครื่องมือด้านเทคโนโลยีใช้พลังงานทางเลือก (พลังงานแสงอาทิตย์) มาแก้ไขปัญหา
4.คณะทำงานบริหารจัดการการจัดตั้งกองทุน มูลนิธิ แก้ไขปัญหาทาง กำหนดมาตรการช่วยเหลือ เยียวยาและแก้ไขปัญหาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากช้าง สนับสนุนด้านการเงินโดยการจัดตั้งกองทุน มูลนิธิ หรือรับการสนับสนุนจากกองทุนมูลนิธิอื่นๆ
ต่อมานายวสันต์ สุนจิรัตน์ กำนัน ตำบลช่องสะเดา อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ได้รับแจ้งจากชาวบ้านได้มีช้างป่าจำนวน 3 ตัว ลงมาในพื้นที่บริเวณใกล้บ้านเรือนชาวบ้านจึงร่วมกับทีมฝ่ายปกครอง ตำบลช่องสะเดา และเครือข่ายเฝ้าระวังช้างป่าและสัตว์ป่าออกนอกพื้นที่อนุรักษ์ (อส.อส.) บ้านแก่งปลากด ออกตรวจลาดตระเวนในพื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านแก่งปลากด ได้ เฝ้าระวัง และผลักดัน ช้างป่ากลับสู่ผืนป่า เพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับชาวบ้าน พร้อมทั้งแจ้งเตือนชาวบ้านในพื้นที่ กรณีพบเห็นช้างป่าให้แจ้งผู้นำชุมชน หรือเครือข่ายเฝ้าระวังช้างป่าและสัตว์ป่าออกนอกพื้นที่อนุรักษ์ (อส.อส.) ทันที เพื่อสร้างความปลอดภัยและลดการสูญเสียทั้งในชีวิตและทรัพย์สินของชาวบ้านในพื้นที่ และก็น่าจะเป็นช้างโขลงดังกล่าวได้เดินไปโผล่ ยังบริเวณบ้านเขาพุล้อม หมู่ที่ 12 ตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี พังรั้วบ้านเดินเข้าไปในบ้านซึ่งกล้องวงจรปิดบันทึกภาพไว้ได้ทั้งหมด ทิ้งร่องรอยความเสียหายไว้ให้ดูต่างหน้าเท่านั้น./
ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา ไหลวารินทร์ - รายงาน