ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ธรรมาภิบาล ย้อนกลับ
ป.ศาลฎีกาเผยความผิดทางพินัยปรับบังคับใช้22มิ.ย.66
21 มิ.ย. 2566

นายโชติวัฒน์ เหลืองประเสริฐ ประธานศาลฎีกาได้ออกประกาศข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีความผิดทางพินัย พ.ศ.2566 ตามที่ได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ.2565 ซึ่งจะเริ่มใช้บังคับวันที่ 22 มิ.ย. นี้ มีผลทำให้ความผิดที่มีแต่เพียงโทษปรับสถานเดียวตามกฎหมายต่างๆ ตามบัญชีท้าย พ.ร.บ. ถูกเปลี่ยนเป็นความผิดทางพินัย โดยไม่ถือเป็นความผิดอาญาอีกต่อไป กฎหมายพืชกระท่อมประเดิมเป็นฉบับแรก ส่วนอีก 168 พ.ร.บ. จะเปลี่ยนเป็นพินัยในเดือนตุลาคมนี้ ผู้กระทำผิดคดีพินัยไม่ติดประวัติอาชญากรเพื่อลดผลกระทบทางสังคม และสามารถขอผ่อนชำระค่าปรับหรือทำงานแทนค่าปรับได้ตามฐานะเศรษฐกิจ  โดยกฎหมายกำหนดให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีประเภทนี้

ซึ่งเมื่อวันที่ 20 มิถุนายนที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีความผิดทางพินัย พ.ศ.2566 สำหรับใช้เป็นกฎเกณฑ์ในการดำเนินคดีความผิดทางพินัยในชั้นศาล  โดยมีหลักการที่น่าสนใจหลายเรื่อง เช่น  กำหนดให้ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักในการดำเนินคดีไม่ว่าการยื่นฟ้อง ส่งเอกสาร หรือการพิจารณาคดีให้ทำทางอิเล็กทรอนิกส์  แต่ถ้าใครยังไม่พร้อมใช้ก็ใช้วิธีการเดิมไปพลางก่อนได้  คดีพินัยสามารถพิจารณาลับหลังจำเลยได้ ซึ่งต่างจากคดีอาญาทั่วไปที่ต้องพิจารณาคดีต่อหน้าจำเลย  คดีพินัยถึงแม้จำเลยไม่มาสู้คดี ศาลก็พิจารณาคดีต่อได้ แต่ยังต้องพิจารณาจากหลักฐานว่าจำเลยทำผิดจริงหรือไม่ก่อนตัดสิน  รวมถึงวางหลักเกณฑ์ใหม่เป็นครั้งแรกเกี่ยวกับการพิพากษาคดี  ที่ศาลอำนวยความสะดวกเต็มที่ให้โจทก์จำเลยไม่ต้องมาฟังคำพิพากษาที่ศาลก็ได้  โดยสามารถขอให้ศาลส่งคำพิพากษาไปให้แทน

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...