ม.ราชภัฏศรีสะเกษ นำโครงการผลิตข้าวหอมมะลิระยะเม่า มาสร้างความเข้าใจกับเกษตรกรบ้านแสนแก้ว เป็นหมู่บ้านนำร่องหมู่บ้านแรก ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ทำข้าวเม่าเป็นข้าวสารเม่า สร้างรายได้ เพิ่มมูลค้าผลผลิตทางการเกษตร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 24 มิ.ย. 66 ที่ศาลาประชาคมบ้านแสนแก้ว ต.สวาย อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ นายวิทยา ไชยเดชกำจร นายอำเภอปรางค์กู่ เป็นประธานเปิดกิจกรรมสร้างเครือข่ายและถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการผลิตและควบคุมการเขตกรรมข้าวหอมมะลิระยะเม่าตามมาตฐานเกษตรอินทรีย์ให้ได้ข้าวเปลือกคุณภาพในสภาวะที่เหมาะสม ภายใต้โครงการสร้างรายได้และมูลค่าเพิ่มด้วยการผลิตข้าวหอมมะลิระยะข้าวเม่า โดยมี ผศ.ดร.วาสนา ภานุรักษ์ ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนา ม.ราชภัฏนครราชสีมา พร้อม นายสุพจน์ กุหลาบกุลี นายก อบต.สวาย ให้การต้อนรับ รศ.ดร.เอมอร แสนภูวา ผู้ช่วยอธิการบดี ม.ราชภัฏศรีสะเกษ กล่าวรายงาน
รศ.ดร.เอมอร แสนภูวา ผู้ช่วยอธิการบดี ม.ราชภัฏศรีสะเกษ เปิดเผยว่า ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เป็นมหาวิทยาสัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีพันธกิจหลัก 4 ประการ ได้แก่ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการแก่ชุมซน และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม การขับเคลื่อนโดยนำองค์ความรู้ทางวิชาการไปสู่การใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมทั้งร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการพัฒนากับประชาชนในทุกด้าน ในการจัดโครงการครั้งนี้ เป็นการขับเคลื่อนงานด้วยโครงการวิจัย การสร้างรายได้และมูลค่าเพิ่มด้วยการผลิตข้าวหอมมะลิระยะเม่าเครือข่ายเกษตรกรปลูกข้าวในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายใต้กรอบการดำเนินงานด้านการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ (RU: Research Utlization) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตรองค์การมหาชน โดยมีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยมี ผศ.ดร.วาสนา ภานุรักษ์ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย, มหาวิทยาลัยราชกัฏบุรีรัมย์ และ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ รศ.ดร เอมอร แสนภูวา เป็นผู้ร่ามวิจัย โครงการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายผลนวัตกรรมกระบวนการผลิตและการควบคุมเขตกรรมข้าวหอมมะลิระยะเม่า ให้กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกข้าวหอมมะลิในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ เพื่อส่งเสริมและสร้างโอกาสทางการตลาดสู่การสร้างรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกข้าวหอมมะลิในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ เพื่อยกระดับการเชื่อมโยงเครือข่ายข้าวหอมมะลิระยะเม่าตลอดห่วงโซ่การผลิตมีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเครือข่ายเข้าร่วมโครงการวิจัยในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 50 ราย ได้แก่ เครื่อข่ายบ้านแสนแก้ว อำเภอปรางค์ภู่ จำนวน 40 ราย และเครือข่ายบ้านยางน้อย อำเภอน้ำเกลี้ยง จำนวน 10 ราย
ด้าน ผศ.ดร.วาสนา ภานุรักษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เปิดเผยว่า ข้าวหอมมะลิระยะเม่า หรือ เรียกอีกแบบหนึ่งข้าวเม่า ที่ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาวิจัยมานั้น มีเป้าหมายว่าจะทำอย่างไรให้ข้าวเม่ากลายเป็นข้าวสารเม่าที่ทุกคนสามารถนำไปหุงกินกันได้เหมือนข้าวสารขาวปกติที่เรากินกัน เพราะตามปกติแล้วการผลิตข้าวเม่าที่เป็นสารนั้นไม่มีที่ไหนเขาทำกัน แต่ข้าวเม่าถือว่าเป็นข่าวที่มีสารอาหารเป็นประโยชน์มากมาย หากินได้ตามฤดูกาลเท่านั้น ทำให้คิดที่จะวิจัยเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกข้าว จากที่จะได้ขายข้าวในราคากิโลกรัมแค่หลักสิบบาท ถ้ามาทำข้าวเม่าข้าวสารจะสามารถขายข้าวได้กิโลกรัมละหลักร้อยบาท ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยราชภัฏจึงได้คิดและเริ่มทำวิจัยจนสำเร็จ สามารถทำข้าวเม่าเป็นข้าวสารเม่าจนได้ ก่อนนำออกขาย ซึ่งก็ได้ผลตอบรับที่ดี ดังนั้นจึงได้จับมือร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ลงพื้นที่สร้างเครือข่ายการผลิตข้าวหอมมะลิระยะเม่า โดยวันนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ลงพื้นที่ในจังหวัดศรีสะเกษ โดยได้ บ้านแสนแก้ว ตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นหมู่บ้านนำร่องเป็นหมู่บ้านแรกในการผลิตข้าวหอมมะลิระยะเม่า ซึ่งวันนี้เป็นเพียงการมาทำความเข้าใจ อธิบายถึงการผลิต คุณประโยชน์ ของข้าวหอมมะลิระยะเม่า กับชาวบ้าน เกษตรกร โดยชาวบ้าน เกษตรกรสนใจ ไม่ต้องห่วงถึงการตลาด การจำหน่าย เพราะทางมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีช่องทางจำหน่ายสินค้าอยู่แล้ว.
ณัฐธรชนม์ สิริโชติสกุล / ศรีสะเกษ